TRADITIONAL BRIX REFRACTOMETER 0-32% Fruit Juice Wine Honey
ราคา 1,800.-
We are dedicated to offer you a wide range of refractometers with the following 2
designed categories:
* Traditional version : Use screw driver for calibration
* Latest version : Twist directly on the built-in calibration knob for calibration
MODEL NUMBER : RHB-32ATC (This item belongs to Traditional Version)
BRIEF DESCRIPTION
This Traditional Brix refractometer is used for sugar related liquids such as fruit juice,
soft-drinks, wine, honey etc. It also helps to control the sugar concentrations in foods
and beverages. Furthermore, brix refractometer is able to check the ripeness of fruit in
the field, verifying quality of product after harvesting or controlling concentrations
during processing and packaging.
RHB-32ATC is commonly used for controlling the concentration of various industrial
fluids (cutting lubricants and flux rinsing compound).
FEATURES
* Sturdy and light weighted Aluminum body
* High quality and accurate testing result
* ATC Compensation Range (i.e. Built-in Automatic Temperature Compensation System) from 10°C to 30°C
* Easy and very convenient to use
SPECIFICATION
- Test Range : Brix 0 - 32%
- Min. Div. : Brix 0.2%
- Accuracy : Brix ± 0.20%
- Automatic Temperature Compensation System (ATC)
- Traditional version : Using screw driver for calibration
- Sturdy and light weighted Aluminum body
- Item length : approx. 168 mm
- Item Weight : approx. 130g
- Rigid Imitation Leather Box with sponge padded for maximize protection
- 1pc pipette
ONE SET INCLUDED
1pc x Traditional Brix Refractometer
1pc pipette
1pc x instruction manual
1pc x mini screw driver
Protective fabrics pouch with white box
รีแฟคโตมิเตอร์คืออุปกรณ์ชนิดหนึ่งไว้สำหรับวัดความเข้มข้นของสารละลาย ซึ่งแล้วแต่
ว่าท่านจะเลือกว่าจะวัดความเข้มข้นของสารละลายสิ่งใด เช่น ความเค็ม, ความหวาน,
ความเข้มข้นของน้ำยาแบตเตอรรี่ ,วัดปัสสาวะ เป็นต้น
ในส่วนของรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นที่ผมกำลังนำเสนอนี้เป็นรีแฟคโตมิเตอร์ที่ออกแบบมาให้
วัดความหวานของสารละลายครับ โดยสิ่งที่จะนำมาตรวจวัดต้องอยู่ในรูปของเหลว(ควรจะ
ค่อนข้างใส) สามารถนำสารละลายมาตรวจวัดได้โดยนำสารละลายมาหยดสัก สองถึงสาม
หยด ลงบนหน้าจอปริซึมแล้วส่องกับแสงสว่างมาก ๆ
สำหรับตัวเลขข้างหน้าATC หมายถึงเปอร์เซ็นต์ที่เครื่องสามารถวัดได้สูงสุดครับเช่น
32ATC หมายถึงความสามารถของเครื่องนี้วัดได้สูงสุด 32%Brixแต่ในกรณีที่เราพอทราบ
ความเข้มข้นของสารละลายความหวานที่เราต้องการวัดว่า
ควรอยู่ในช่วงใด อาจจะสามารถเลือกรุ่นที่เหมาะสมก็ได้ครับ เช่น สารละลายน้ำอ้อย
พลาสเจอร์ไรซ์บรรจุถุงขาย มีเปอร์เซ็นต์Brix ที่ 11-14% ก็สามารถเลือกรีแฟคโตมิเตอร์
รุ่น 18ATC เพื่อนำไปใช้วัดก็ได้ครับ
รีแฟคโตมิเตอร์ถ้าเราส่องกับแสงแล้วเห็นไม่ชัดเราสามารถปรับความคมชัด
โดยปรับที่ปุ่มปรับภาพละเอียดที่บริเวณตาที่เราส่อง(คล้ายกล้องส่องทางไกล)โดยจะ
สามารถหมุนได้ทั้งซ้ายขวาเพื่อปรับความคมชัดได้ การนำไปส่องกับแสงอาทิตย์ให้ความ
สว่างกับหน้าจอได้ค่อนข้างจะดีมากครับ
รีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ผมจำหน่ายได้ดีมาก ๆ ครับ โดยเฉพาะว่ามันเหมาะมาก ๆ
ทีเดียวหากจะนำไปใช้วัดกับผลไม้ดิบ ก็คือ น้ำที่ถูกคั้นออกมาจากผลไม้ดิบ
ภาษาอังกฤษเรียก Cutting Liquid
ความหวานของผลไม้ดิบนี้อาจจะเรียกได้ว่าอีกหนึ่งดัชนีอันเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงราคาของ
ผลไม้ ในล็อตนั้น ๆ ว่า มันควรจะถูกตั้งราคาที่เท่าไรด้วย
หากจะเลือกซื้อผลไม้แล้ว ส่วนใหญ่ ผู้ซื้อมักจะสนนสนใจผลไม้ที่มีรสชาดที่ดี
ก็คือควรจะหวาน
ซึ่งวิธีการวัดความหวานแล้วอาศัยการชิมเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เหมาะ
ยกตัวอย่างเช่น ผู้จำหน่ายบอกว่ารสชาดี หวานแล้ว แต่ผู้ซื้อไม่เห็นเป็นเช่นนั้น
ด้วยเหตุนี้แล้ว การใช้รีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้วัดน่าจะเป็นตัวชี้วัดที่ดีอีกตัวหนึ่งครับ
ผมมีลูกค้าท่านหนึ่งท่านจำหน่ายแคตตาลูปอยู่ที่ตลาดค้าส่งผลไม้แห่งหนึ่งย่านรังสิต
ท่านซื้อผลิตภัณฑ์ของผมไปใช้วัดความหวานของผลไม้ดิบของท่าน ผมอยู่วัดด้วยครับ
วิธีวัดก็ง่าย ๆ ครับปอกแคตตาลูปออก แล้วนำมาทาบนปริซึมของเครื่อง หรือ
จะใช้วิธีการบีบเอาน้ำออกมาก็ได้
เป็นแบบนี้ครับ แล้วปิดฝาครอบลง แล้วส่องกับแสงสว่างมาก ๆ
อันนี้ผมลองวัดแล้วถ่ายภาพหน้าจอของจริงออกมาเดี๋ยวนั้นเลยครับ
วัดเปอร์เซ็นต์ความหวานของแคนตาลูปลูกนี้ได้ 12 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าใช้ได้ครับ
เป็นแคนตาลูปที่มีคุณภาพดี ผมลองถามผู้จำหน่ายแล้วครับ
หากเป็นแคตตาลูปที่มีคุณภาพที่ดีกว่านี้เป็นไปได้ว่าจะวัดได้ถึง 14 - 15 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว
ผมเองอยากจะขออธิบายถึงวิธีการอ่านค่ารีแฟคโตมิเตอร์ให้ทราบและสาเหตุของการอ่าน
ค่าที่ผิดพลาดครับ ตัวอย่างหน้าจอด้านบนนี้คือรีแฟคโตมิเตอร์ที่วัดความหวานได้ 13
เปอร์เซ็นต์Brix เหตุที่อ่านค่าได้เช่นนี้ให้ดูตรงการแบ่งช่วงของสีครับ เมื่อใดก็ตามที่รีแฟค
โตมิเตอร์ยังไม่ได้ทำการวัดหน้าจอจะเป็นสีน้ำเงินล้วนถ้าท่านนำมาส่องกับแสงไฟ แต่ถ้า
หากเมื่อใดที่มีการวัดแล้วพบว่าสารละลายที่นำมาวัดมีความหวานจะเกิดการแบ่งสีขึ้นโดย
ให้ดูที่ช่วงการแบ่งสีว่าอยู่ที่ขีดใดก็ให้อ่านค่านั้นได้ โดยในที่นี้การแบ่งสีจะอยู่ที่ขีด 13
เปอร์เซ็นต์ โดยที่เหนือขีด 13 เปอร์เซ็นต์จะเป็นสีน้ำเงินส่วนล่างขีด 13 จะเป็นสีขาว(ไม่มี
ตัวเลขระบุให้ท่านนับขีดเอา)
การคาลิเบรตเครื่องเมื่อใดก็ตามยังไม่ได้มีการวัดใด ๆ ให้ท่านนำน้ำกลั่นมาหยดแล้ว
ส่องดูกับแสงไฟ ค่าที่อ่านได้ควรจะอยู่ที่เลข 0 ถ้าค่าอยู่ที่เลข 0 แล้วถือว่านำไปใช้งานได้
เลย แต่ถ้าไม่ได้ อาจจะน้อยลงกว่าเดิมหรือมากขึ้นกว่าเดิม สังเกตุจากการแบ่งสีให้ท่านนำ
ไขควรที่เตรียมมาในชุดไปคาลิเบรตกับปุ่มที่อยู่ด้านบนของเครื่อง(มีจุกยางสีดำปิดเอาไว้
ให้นำจุกยางออกแล้วนำไขควงเข้าไปไขครับโดยไขตามเข็มนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกา
สังเกตุว่ารอยแบ่งของสีจะเลื่อนขึ้นลงได้ครับ) โดยให้ปรับให้ได้ค่าที่เลข 0 ครับ หรือถ้าดี
กว่านั้นถ้าหากท่านมีสารละลายมาตรฐานความหวานที่ท่านทราบดีอยู่แล้วก็ให้ท่านปรับจน
ได้ค่าสารละลายมาตรฐานที่ท่านเชื่อถือ เช่นสารละลายมาตรฐานที่ท่านทราบค่าแน่นอน
แล้วอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่เครื่องอ่านค่าได้ไม่ถึงค่านี้หรือเลยไปเล็กน้อยก็ให้ใช้ไขควงนี้
ไขจนได้ค่าที่ถูกต้องคืออยู่ที่เลข 10
อะไรทำให้การวัดค่าเกิดความผิดพลาดได้
1. สารละลายที่นำมาวัดขุ่นหรือมีสารที่ตกตะกอนได้มากจนเกินเหตุ
โดยปกติแล้วถ้าท่านนำสารละลายความหวานที่ใสมาก ๆ มาวัด(เช่นน้ำหวาน หรือ
ท่านจะลองกับน้ำอัดลมก็ได้) จะพบว่าการแบ่งช่วงสีจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนมาก ๆ คือแบ่ง
เป็นช่วงสีน้ำเงินกับสีขาวโดยมีรอยต่อจุดที่แบ่งอย่างชัดเจน ผมมีลูกค้าโทรมาถามผม
มากๆ ว่าเพราะอะไรจุดที่แบ่งถึงเห็นไม่ชัดเจนคือไม่เห็นรอยต่อที่ชัดเจนบริเวณรอยต่อเป็น
ขุ่น ๆ มัว ๆ หรือแม้แต่เห็นรอยต่อเป็นหลาย ๆ ช่วง เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าสารละลายที่
ท่านนำมาวัดขุ่นเกินไปครับ หรือมีมลทินที่มากจนเกินเหตุ จึงทำให้มีเหตุการณ์เช่นนี้ ยก
ตัวอย่างเช่น กาแฟหรือเครื่องดื่มที่เป็นผงแล้วนำมาชงข้น ๆ และนำมาวัด กาแฟเป็นผงเมื่อ
นำมาละลายกับน้ำ ถึงแม้จะเป็นน้ำร้อนก็ตามที ละลายอย่างไรผงก็ไม่มีทางละลายได้
สมบูรณ์(ถ้าผสมข้นมาก ๆ) กรณีนี้เครื่องไม่ได้เสียอะไรให้ลองนำน้ำอัดลมมาวัดอีกครั้งจะ
ได้ค่าการแบ่งสีที่สมบูรณ์ท่านจะทราบได้ครับ
ถ้าท่านนำน้ำผลไม้มาวัดควรกรองด้วยผ้าขาวบางก่อนครับเพื่อกรองมลทินกากผลไม้
ออกไปให้หมดก่อนนำมาวัดครับ
2. ไม่เห็นการแบ่งสีใด ๆ เลยทั้งหน้าจอยังคงเป็นสีน้ำเงินเหมือนเดิม อันนี้เป็นเพราะสาร
ละลายที่ท่านนำมาวัดไม่มีความหวานครับ(ทดลองกับน้ำอัดลมได้เช่นเดียวกัน)
3. หน้าจอทั้งหน้าจอเป็นสีขาวโดยที่ไม่เห็นสีน้ำเงินเลย อันนี้เป็นเพราะความหวานที่ท่าน
นำมาวัดสูงเกินกว่าที่เครื่องจะวัดได้ครับ
Refractometer Model RHBN-32ATC
เป็น refractometer วัดความหวานรุ่นที่ใช้งานง่ายมาก ๆ ครับ ที่สำคัญเป็นรุ่นที่ปรับปรุง
ให้มีความทันสมัยขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของปุ่ม คาลิเบรท เพราะสามารถใช้มือหมุนคาลิ
เบรทได้เลยโดยหมุนทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกา(ในกรณีคาลิเบรทครั้งแรกด้วยสาร
ละลายน้ำกลั่น)
ไม่เหมือนรุ่นเดิมที่ต้องใช้ไขควรหมุน ในชุดประกอบด้วยกล่องใส่เครื่อง ตัวเครื่อง และปิเปต
รุ่นดังกล่าวเรียก Model RHBN-32ATC ส่วนรุ่นบนเป็น Model RHB-32ATC
ตัว N ย่อมาจากคำว่า new ครับ ราคาทั้งสองรุ่นเท่ากันครับ
ผมขออธิบายถึงข้อดีข้อเสียของปุ่มคาลิเบรตให้ทราบคร่าว ๆ ครับ คือถ้าเป็นรุ่นเดิม ปุ่มคาลิ
เบรตยากมากที่จะขยับเพราะปุ่มอยู่ฝังลงไปในเครื่อง การคาลิเบรตยังต้องใช้ไขควงจิ้มลงไปหมุน
จึงยากมากที่การอ่านค่าจะผิดพลาดจากการขยับของปุ่มคาลิเบรต ส่วนรุ่นใหม่นั้นปุ่มคาลิเบรตใช้
งานได้ง่ายกว่าหมุนปรับได้ง่ายกว่า แต่ว่าปุ่มปรับอยู่ด้านนอกตัวเครื่องมือหมุนได้ง่าย ๆ จึงเป็นไป
ได้ที่จะปุ่มจะถูกขยับหรือหมุนไปได้ โดยไม่ตั้งใจ แต่อย่างไรก็ตามแต่การคาลิเบรตเครื่องท่านควร
จะทำทุกครั้งที่จะวัดครับ เพราะทำไม่ยากจนเกินไป
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับระบบ ATC (AUTOMATION TEMPERATURE COMPENSATION)
ของเครื่อง Refractometer
เครื่อง refractometer ใดที่ไม่มีระบบ ATC (ระบบชดเชยค่าที่เปลี่ยนเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน
ไป) ซึ่งโดยปกติแล้วค่าของ refractometer ของเครื่องที่ผลิตจากต่างประเทศที่ถูกต้องที่
สุดจะถูกคาลิเบรทเมื่อสารละลายที่จะวัดนั้นมีอุณหภูมิอยู่ที่ 20 องศาเซลเซียส แต่เมื่อใดก็
ตามที่อุณหภูมิของสารละลายที่ต้องการวัด(Saccharose Solution) มีค่ามากกว่าหรือ
น้อยกว่า 20 องศาเซลเซียสค่าที่อ่านได้จากเครื่องจำเป็นต้องบวกหรือลบด้วยแฟคเตอร์
หนึ่ง ซึ่งแฟคเตอร์นี้อยู่ในช่วง 0.08 - 0.81 (แต่ไม่ถึงหนึ่ง)ตารางนี้ควรมีบอกในคู่มือเครื่อง
ด้วยครับ
ยกตัวอย่างเช่น สารตัวอย่างหนึ่งที่ต้องการมาวัดความหวาน มีอุณหภูมิอยู่ที่ 15 องศา
เซลเซียส มีค่าความเข้มข้นที่อ่านได้ 20% ค่าที่ถูกต้องจะต้องนำแฟคเตอร์ 0.34 มาลบ
ออกจึงจะได้ค่าที่ใกล้เคียงขึ้น คือ 20-0.34 ซึ่งเท่ากับ 19.66%
ในขณะที่สารละลายเดียวกันนี้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส อ่านความเข้มข้นได้ 20%
ค่าที่ถูกต้องจะต้องนำแฟคเตอร์ 0.38 มาบวกเข้าด้วยจึงจะได้ค่าที่ถูกต้องคือ 20+0.38 ซึ่ง
เท่ากับ 20.38 เป็นต้น ค่าแฟคเตอร์ดังกล่าวจะอยู่ในคู่มือการใช้งานครับ เท่าที่สังเกตุดูที่
อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียสจะต้องนำแฟคเตอร์มาลบ ส่วนที่อุณหภูมิสูงกว่า 20
องศาเซลเซียสต้องนำแฟคเตอร์มาบวก
ซึ่งตรงนี้ถ้าอธิบายตามวิชาเคมีที่เรียน ๆ มา อนุมานได้ว่าที่อุณหภูมิที่สูงกว่า ความ
สามารถในการละลายของสารย่อมดีกว่าที่อุณหภูมิต่ำ ๆ ฉะนั้นผลึกหรือกรัมของตัวถูก
ละลายย่อมจะละลายได้มากกว่าที่อุณหภูมิสูงกว่า ฉะนั้นความหวานที่วัดได้ก็ควรจะ
มากกว่าด้วย
ซึ่ง Brix Refractometer นั้น เป็นการวัดสารละลาย เป็น percentage by weight (% w/w).
คือโดย กรัมของตัวถูกละลายใน 100 กรัมของสารละลาย
เครื่องที่ผมจำหน่ายมีระบบ ATC เพราะฉะนั้นไม่ต้องคำนึงเรื่องแฟคเตอร์ดังกล่าวครับ
(แต่ในคู่มือก็มีระบุแฟคเตอร์ดังกล่าวไว้เหมือนกันซึ่งควรต้องทราบครับ)
เปอร์เซ็นต์ของ Brix หรือความหวาน สามารถจะเปลี่ยนกลับไปเป็นค่าความถ่วงจำเพาะได้ว่า เปอร์เซ็นต์ของ Brix เท่านี้ความถ่วงจำเพาะของของเหลวนี้ควรจะเป็นเท่าใดได้ตามตารางด้านล่างนี้ครับ คลิกดูได้ครับ