ชุดทดสอบค่า N P K และกรด-ด่างของดินชุดนี้ ผมว่าน่าจะเป็นประโยชน์และมี
ประโยชน์สำหรับเกษตรกรมาก ๆ เลยครับในเบื้องต้นที่คุณจะทำการเพาะปลูก
อะไร หรือแม้แต่เมื่อคุณเพาะปลูกไปแล้วต้องการทราบสภาพดิน เมื่อเห็นว่าพืชมี
สภาพที่เปลี่ยนไปจากที่ควรจะเป็นก็ตาม ถามว่าชุดวัดค่า N P K ทำงานอย่างไร
ชุดตรวจวัดดังกล่าวใช้งานง่ายครับ ใครก็ใช้ได้โดยนำตัวอย่างดินโดยคุณขุด
หน้าดินออกสักความลึก 2-3 นิ้ว แล้วขุดดินที่ต้องการตรวจสอบซึ่งอยู่ลึกลงไป
ออกมาสักกระถางต้นไม้เล็ก ๆ สักกระถาง บดให้ดินละเอียดที่สุด นำไปตากแดด
ให้แห้งสนิท(จนเป็นฝุ่น) นำดินที่ได้มาใส่กล่องทดสอบซึ่งทดสอบได้ 4 อย่าง
(กรด-เบส, N,P,K) ในชุดทดสอบจะมีแคปซูลให้อย่างละ 10 แคปซูล(เพราะ
ฉะนั้นทดสอบได้อย่างละ 10 ครั้ง) มีกล่องทดสอบให้ 4 กล่อง คุณต้องการจะ
ทดสอบอะไรให้นำตัวอย่างดินใส่ในกล่องแล้วเติมน้ำ(ตามสัดส่วนที่ระบุไว้) นำ
เม็ดแคปซูลมาเปิดฝาและเทลงไปเขย่าทิ้งไว้ตามระยะเวลาที่ระบุ ซึ่งสารละลาย
ในกล่องจะเกิดการเปลี่ยนสี เทียบสีได้กับตัวเลขที่อยู่หน้ากล่อง(วัดกรด-ด่าง)
หรือข้อความที่อยู่หน้ากล่องซึ่งจะบอกเป็นระดับ เช่น มีมากเกิน, มีพอสมควร
กำลังดี, มีน้อย, มีน้อยมาก, ขาด เป็นต้น(สำหรับการวัด N,P,K)
ถ้าจะลงทุนกับปุ๋ย แรงงาน เมล็ดพันธุ์ ในราคามหาศาลจะดีไหมถ้าจะตรวจ
วัดดินสักหน่อย เพื่อให้ทราบสภาพของพื้นดินของเราที่จะเพาะปลูก อาจจะนำดิน
ของเกษตรกรอื่นที่เพาะปลูกแล้วให้ผลผลิตที่ดีมาเทียบก็ได้ มันเป็นประโยชน์
มันบอกเราได้ ราคาสมเหตุสมผล
คู่มือการใช้งานชุดวัดค่า N, P, K ในดิน
Rapitest Soil Test Kit ชุดนี้ ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่าย และได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง หัวใจของระบบคือ 4
สิ่งสิ่งสำคัญที่ออกแบบอุปกรณ์การทดสอบเป็นพิเศษ เรียกว่า " กล่องเทียบค่าสี " แต่ละอันประกอบไปด้วยค่า
กรด - ด่าง, ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม กล่องเทียบค่าสีแต่ละตัวจะประกอบด้วยชาร์ตสีและรหัส
สีอยู่ด้านบน
การเตรียมตัวอย่างดิน
สำหรับสนามหญ้า พืชประจำฤดูกาล หรือต้นไม้ตามบ้าน ให้ใช้ตัวอย่างดินที่อยู่ลึกลงไปจากหน้าดิน
ประมาณ 2 - 3 นิ้ว สำหรับไม้ยืนต้นโดยเฉพาะไม้พุ่ม ผัก และไม้ผล ให้ใช้ตัวอย่างดินที่ลึกลงไปจากหน้าดิน
ประมาณ 4 นิ้ว โดยระวังอย่าให้มือไปสัมผัสกับดินตัวอย่าง การทดสอบดินในพื้นที่ที่ต่างกัน อาจได้ค่าที่แตก
ต่างกันขึ้นอยู่กับการเพาะปลูกที่ผ่านมา จะเป็นการดีกว่าถ้าจะแบ่งพื้นที่การทดสอบออกเป็นหลาย ๆ ตัวอย่าง
จากพื้นที่ต่าง ๆ กัน ตักตัวอย่างดินเก็บในภาชนะที่สะอาด แยกดินออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ด้วยเกรียงหรือช้อนแล้ว
ปล่อยไว้จนดินตัวอย่างแห้ง เอาเศษหิน วัสดุชีวภาพ เช่น เศษหญ้า เมล็ดพืช เศษรากไม้ หรือเศษปูนขาวออก
แล้วขยี้ตัวอย่างดินให้ละเอียดและคนให้ผสมกันจนทั่ว
การทดสอบค่า กรด - ด่าง (PH)
1. นำกล่องเทียบค่าสีฝาสีเขียว และแคปซูลออกจากเพจเกจ
2. ใส่ดินลงไปในช่องสำหรับใส่ดินทดสอบจนถึงขีดที่กำหนด
3. นำแคปซูลสีเขียวมาไว้ที่ช่องใส่ดินทดสอบ ค่อย ๆ เปิดแคปซูลออกแล้วเทสารทดสอบลงไปในช่อง
สำหรับใส่ดินทดสอบ
4. นำหลอดน้ำหยด(dropper) ที่อยู่ในแพ็คเกจ มาหยดลงในช่องใส่ดินทดสอบ(ควรใช้น้ำสะอาดในการ
ทดสอบ) จนถึงขีดที่กำหนด
5. ปิดฝากล่องเทียบค่าสีให้สนิท แล้วเขย่ากล่องเทียบค่าสีให้ทุกอย่างผสมกันให้ทั่ว
6. ปล่อยทิ้งไว้ให้ตัวอย่างดินนอนก้น และสีของน้ำที่เปลี่ยนแปลงประมาณ 1 นาที
7. เปรียบเทียบสีของน้ำกับชาร์ตสีแสดงค่ากรด - ด่าง ที่อยู่ด้านหน้ากล่อง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีควรสังเกตุค่าสี
ในที่ที่มีแสงสว่างพอสมควร แต่ไม่ควรส่องโดยตรงกับแสงอาทิตย์
การทดสอบหาค่า N, P และ K
1. ใส่ดินตัวอย่างที่เตรียมไว้ 1 ถ้วยและน้ำ 5 ถ้วยลงในภาชนะที่สะอาด เพื่อผลลัพธ์ที่ดีควรใช้น้ำสะอาดใน
การทดสอบ
2. เขย่าหรือคนตัวอย่างของดิน และน้ำให้เข้ากันอย่างน้อย 1 นาที แล้วปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งดินตกตะกอน
(30 นาทีขึ้นไป) ดินที่มีเนื้อละเอียดเหมือนโคลน จะใช้เวลาในการตกตะกอนนานกว่าดินทราย
3. นำกล่องเทียบค่าสีที่ต้องการทดสอบออกมา พร้อมแคปซูลที่มีสีตรงกับฝากล่อง เปิดฝากล่องออก
4. ใช้หลอดน้ำหยดที่อยู่ในแพ็คเกจดูดน้ำที่ใสแล้ว ลงไปในช่องสำหรับใส่ดินทดสอบจนถึงระดับที่กำหนด
ไว้ ระวังอย่าไปกวนตะกอนขึ้นมา
5. นำแคปซูลที่เตรียมไว้มาถือบนช่องใส่ดินทดสอบ แล้วเปิดแค็ปซูลออก เทสารทดสอบลงไปในช่องใส่
ดินทดสอบ
6. ปิดฝากล่องเทียบค่าสีให้แน่นสนิท เขย่าให้ส่วนผสมเข้ากันดี
7. ปล่อยไว้ให้สารเคมีทำปฎิกิริยาประมาณ 10 นาที
8. เปรียบเทียบสีของน้ำที่ได้กับสีชาร์ตหน้ากล่อง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีควรสังเกตุค่าสีในที่มีแสงสว่าง แต่ไม่
ควรส่องโดยตรงกับแสงอาทิตย์ บันทึกค่าที่ได้เพื่อการอ้างอิงต่อไป
ปฎิบัติตามขั้นตอนง่าย ๆ ขั้นต่อขั้นดังที่กล่าวมาสำหรับการทดสอบค่า N, P และ K
การใส่ปุ๋ยสำหรับพืชผักในช่วงค่าต่าง ๆ ที่วัดได้
ผลการทดสอบธาตุอาหาร N P และ K ตามค่าสีต่าง ๆ ที่ได้
(0) Depleted = ขาดธาตุอาหารที่ทดสอบอย่างมาก
(1) Deficient = ขาดธาตุอาหารที่ทดสอบปานกลาง
(2) Adequate = มีธาตุอาหารที่ทดสอบพอใช้ได้
(3) Sufficient = มีธาตุอาหารที่ทดสอบพอเพียงแล้ว
(4) Surplus = มีธาตุอาหารที่ทดสอบมากเกินความต้องการ
ตามค่าการทดสอบที่ได้ ให้เติมปุ๋ยตามจำนวนที่แนะนำตามตารางด้านล่าง *
(0) (1) (2) (3 & 4)
ผลการทดสอบ Depleted Deficient Adequate Sufficient or Surplus
N P K N P K N P K N P K
สนามหญ้า 107 4.88 24.4 68.6 4.88 11 19.5 0 0
ไม้ผล 68.3 31.7 66 39 19.5 43.9 18.3 11 23.2
ไม้ดอก 68.3 31.7 66 39 19.5 43.9 18.3 11 23.2
ไม้พุ่มดอก 68.3 40.3 66 39 19.5 43.9 18.3 5 23.2
ไม้พุ่มใบ 107 51.3 43 68.3 25.6 23.2 18.3 11 11
ผักบริโภคหัว 68.3 58.6 42.7 39 29.3 23.2 18.3 14.7 11
ผักบริโภคใบ 139 50 42.7 68.3 25.6 23.2 37.8 11 11
ต้นไม้ 107 31.7 42.7 39 51.3 23.2 18.3 11 11
คำแนะนำการใส่ปุ๋ยแยกตามชนิดปุ๋ยดังนี้ ไนโตรเจน(16 % N), ทริปเปิ้ล ซุปเปอร์ฟอสเฟต(46 % P2O5) และมิวริเอตออฟโพแทส
(60 % K2O)
* กิโลกรัมต่อ 1 ไร่
คำเตือน
กำจัดน้ำจากการทดสอบลงในอ่างล้างจาน และทิ้งปลอกแคปซูลลงในถังขยะทันที แกะชาร์ตเทียบค่าสี
หน้ากล่องออก ล้างกล่อง และฝาด้วยน้ำอุ่น น้ำสบู่ทันทีหลังการใช้งาน ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วจึงนำชาร์ตสีติดกลับ
ที่หน้ากล่องเหมือนเดิม ซองใส่แคปซูลควรเก็บไว้ในกล่องเทียบค่าสี ปิดฝาให้สนิท และใส่กลับเข้าไปในแพ็ค
เกจ เก็บไว้ในที่ที่สะอาด ในร่มและแห้ง ที่สำคัญต้องเก็บไว้ให้พ้นมือเด็ก พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี
ในแค็ปซูล ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งภายหลังการทดสอบ ห้ามดื่มน้ำ ทานข้าง หรือสูบบุหรี่ขณะทำการทดสอบ
เก็บชุดทดสอบแยกจากอาหาร น้ำดื่ม ยา และอาหารสัตว์ ถ้ากินสารทดสอบเข้าไปให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ และ
ให้อาเจียนออกมา แล้วรีบนำส่งแพทย์