เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้าและสารแขวนลอยในน้ำ, ปากกาวัดค่าการนำไฟฟ้า
และสารแขวนลอยในน้ำในเครื่องเดียวกัน Model COM-100
HM Digital portable meter tester.
(HM Digital TDS/EC/T Meter/Tester, Conductivity)
3,800 บาท ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
Ideal for all water quality testing, water purification applications, wastewater regulation, aquaculture, hydroponics, colloidal silver, labs & scientific testing, pools & spas, ecology testing, boilers & cooling towers, water treatment and more.
มิเตอร์ตรวจวัดค่า TDS และค่า EC รุ่นนี้ออกแบบมาให้ใช้ในหลากหลายงานด้วยกัน เช่น
งานทางด้านการบำบัดน้ำเสีย, งานสุขาภิบาลน้ำกินน้ำใช้, การปลูกผักไฮโดรโปนิค,
ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์, สระว่ายน้ำและสปา, หม้อน้ำ Boiler หรือ หน่วยหล่อเย็น
Cooling towers ฯลฯ
FEATURES(คุณสมบัติ)
- Measures electrical conductivity (EC), total dissolved solids (TDS) and temperature.
วัดได้ทั้งสองค่าในเครื่องเดียวกันคือค่าความนำไฟฟ้าของสารละลาย(ค่า EC)
และค่าความสะอาดของน้ำ(ค่า TDS)
- Automatic Temperature Compensation (ATC) using three temperature coefficients
สำหรับมิเตอร์วัดค่า EC meter รวมทั้ง TDS meter จุดนี้สำคัญมาก ๆ นะครับ คือว่า
โดยปกติธรรมชาติแล้ว ค่าความนำไฟฟ้า(ค่า EC) และค่าความสะอาดของน้ำ(ค่า TDS)
จะสัมพันธ์กันอยู่แล้ว อธิบายว่า ค่าความนำไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จะหมายถึงค่าความสะอาดจะเพิ่มด้วย
แต่ว่าค่าความนำไฟฟ้ากับค่าความสะอาดของน้ำนั้น สัมพันธ์กับอุณหภูมิของสารละลายด้วย
โดยจะสัมพันธ์ในลักษณะแปรผันกัน คือ เมื่อใดก็ตามแต่ีที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ค่า EC และค่า
TDS จะเพิ่มตามไปด้วย หรือเมื่อใดก็ตามแต่ที่อุณหภูมิของสารละลายที่ท่านวัดลดน้อยลงแล้ว
ท่านก็จะวัดค่า EC และค่า TDS ได้ลดลงด้วยเช่นกัน
ฉะนั้นที่ถูกต้องแล้วมิเตอร์ที่ท่านนำมาวัดควรที่จะมีระบบทดแทนหรือชดเชยค่า
เมื่อใดก็ตามที่อุณหภูมิของสารละลายเปลี่ยนแปลงไป เรียกระบบนี้ว่า ATC หรือ Automatic
temperature Compensation จึงจะทำให้การวัดมีความสมบูรณ์ถูกต้องที่สุด
แต่ถ้าหากเมื่อใดก็ตามที่มิเตอร์ของท่านไม่มีระบบนี้ ท่านควรจะวัดค่า EC และ TDS
ที่อุณหภูมิมาตรฐานสากลครับ คือวัดที่สารละลายมีอุณหภูมิ 25
องศาเซลเซียสหรือใกล้เคียงกับอุณหภูมินี้ที่สุด
- Waterproof housing (IP-67 rating)
ตัวเครื่องออกแบบให้กันน้ำด้วยครับ
- Measurement Range: 0-9990 µS; 0-8560 ppm (auto-ranging).
ช่วงของการวัดค่า EC อยู่ที่ 0 - 9,990 ไมโครซีเมนต์ ส่วนช่วงของการวัดค่า
TDS อยู่ที่ 0 - 8,560 ppm(หรือส่วนในล้านส่วน)
- Auto-off function, data-hold function and low-battery indicator.
- Display: large and easy-to-read LCD screen includes simultaneous temperature reading.
- Factory Calibrated: The COM-100 meter is calibrated with a 1,413 µS solution. The meter can be recalibrated with digital calibration using the push buttons, rather than a screwdriver.
ตอนออกมาจากโรงงานมิเ่ตอร์นี้คาลิเบรตมาจากสารละลายความนำไฟฟ้า(EC) ที่
1,413 ไมโครซีเมนต์ครับ (สารละลายนี้หาซื้อได้ในเมืองไทยครับ ดูที่นี่ครับ)
- Includes a cap, batteries and lanyard.
SPECIFICATIONS
EC Range: 0 - 9990 µS
TDS Range: 0-8560 ppm (mg/L)
Temperature Range: 0-80 °C; 32-176 °F
Resolution: 0-99: 0.1 µS/ppm; 100-999: 1 µS/ppm; 1000-9990: 10
µS/ppm. Temp. resolution is 0.1 °C/F
Accuracy: +/- 2%
EC to TDS Conversion Factor: Non-linear conversions for KCl, 442TM or
NaCl solutions, set by the user.
Probe: Detachable platinum electrodes
Housing: IP-67 Waterproof (submersible; floats)
Power source: 3 x 1.5V button cell batteries (included)
Dimensions: 18.5 x 3.4 x 3.4 cm (7.3 x 1.3 x 1.3 inches)
Weight: 90.7g (3.2 oz)
โดยปกติแล้วความสะอาดของน้ำมักจะวัดโดยใช้ TDS meter ส่วนถ้าเป็นค่าความนำ
ไฟฟ้า ปกติวัดโดยใช้ Conductivity meter(EC meter) ถ้าท่านต้องการมิเตอร์ที่จะรวมค่า
การวัดทั้งสองไว้ในเครื่องเดียวกัน มิเตอร์รุ่นนี้เป็นคำตอบที่ดีที่สุดครับ เพราะว่าความสะอาดของ
น้ำและค่าค่าความนำไฟฟ้าของน้ำส่วนใหญ่จะถูกวัดด้วยกันและถามถึงพร้อมกันเสมอ
โดยปกติมีหลายท่านถามผมถึงหน่วยของค่า Conductivity ว่าคืออะไรกันแน่ เพราะ
เห็นว่ามีหลายหน่วยเหมือนกัน อันนี้ผมตอบว่าเท่าที่เห็นว่าใช้บ่อยที่สุดจะเป็นหน่วยของ ไมโครซี
เมน/ซีเอ็ม (µS/cm) แต่ถ้าท่านเห็นว่ามีหน่วยวัดอื่น ๆ เข้ามาท่านสามารถแปลงให้เป็นหน่วย
µS/cm ได้ครับ เช่นถ้าหากท่านเห็นว่าค่าที่เห็นอ่านได้เป็น dS/m(deci Siemens per
meter) อันนี้ให้เข้าใจว่า 1 dS/m จะเท่ากับ 1,000 µS/cm
หรือถ้าหากว่าท่านเห็นว่าหน่วยนั้นอ่านค่าได้เป็น mS/cm(milli Siemens per cm)
อันนี้แปลงเป็นหน่วย µS/cm ได้ว่า 1 mS/cm จะเท่ากับ 1,000 µS/cm ครับ
ส่วนความสะอาดของน้ำมักจะวัดเป็น ppm(Part Per million) หรือส่วนในล้านส่วน ถ้า
ท่านเห็นว่าหน่วยนั้นอ่านค่าได้เป็น ppt(Parts Per Thousand) อันนี้หมายความว่า 1 ppt
จะเท่ากับ 1,000 ppm
โดยเฉพาะเครื่องรุ่นนี้แล้ววัดได้ครบทุกค่าเลยครับ ทั้งค่าความสะอาดของน้ำที่มีหน่วยเป็น
ppm หรือ ppt และค่าความนำไฟฟ้าของน้ำทั้งหน่วยของ µS/cm, mS/cm รวมทั้งยัง
สามารถวัดอุณหภูมิได้เป็นหน่วยองศาเซลเซียสและฟาเรนไฮน์ด้วย
ท่านทราบหรือไม่ครับว่าอุณหภูมิกับค่า TDS และค่า EC นั้นมีความ
สัมพันธ์กันจนแยกไม่ออก เพราะอะไร โดยปกติแล้ว อุณหภูมิมา่ตรฐาน
ของการวัดค่า TDS และค่า EC จะต้องอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส หรือพูด
เป็นภาษาอังกฤษ เป็นค่า the international standard temperature
for EC and TDS readings. ฉะนั้นที่ถูกต้องแล้วเมื่อใดก็ตามที่่ท่านจะ
ตรวจวัดค่า TDS และค่า EC อุณหภูมิของสารละลายที่่ท่านนำมาวัดควรจะ
ปรับให้ได้ 25 องศาเซลเซียสก่อนเสมอจึงจะสามารถอ่านค่าและจดบันทึก
ค่าได้
การเปลี่ยนแปลงของค่า TDS และ EC นั้นเป็นไปในความสัมพันธ์ใน
ลักษณะแปรผันกันกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป พูดง่าย ๆ คือเมื่อใดก็ตามที่
อุณหภูมิของสารละลายที่วัดเพิ่มสูงขึ้น ค่า TDS รวมทั้งค่า EC ของสาร
ละลายนั้น ๆ ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย(ทั้งที่ยังเป็นสารละลายตัวเดิม) ในกรณีตรง
ข้ามหากว่าอุณหภูมิของสารละลายที่่ท่านนำมาวัดลดต่ำลง ค่า TDS และ
ค่า EC ที่วัดได้ก็จะลดลงด้วย(ทั้งที่ยังเป็นสารละลายตัวเดิม) ฉะนั้นมิเตอร์
วัดค่า TDS และ EC ที่ดีและเหมาะสมควรจะต้องมีระบบ ATC หรือ
Automatic Temperature compensation คือเป็นระบบที่เครื่องตรวจ
วัด ปรับค่าหรือแลกเปลี่ยนค่าที่อ่านได้อย่างอัตโนมัติให้สัมพันธ์กันกับ
อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปด้วย ซึ่งเครื่องรุ่นนี้(COM-100) มีคุณสมบัติในจุดนี้
ด้วย
สำหรับส่วนตัวผมเองแล้วบางครั้งผมชอบการดูในภาพรวมของสิ่งใด
สิ่งหนึ่งมากกว่ามานั่งอธิบายครับ เพราะอะไรถ้าผมมีสินค้า 10 ชิ้น แล้ว
ผมอธิบายสินค้าทุกชิ้นที่มี พอผมอธิบายถึงชิ้นที่ 10 บางครั้งผู้อ่านอาจจะ
ลืมรายละเอียดของสินค้าชิ้นแรกที่อ่านไปแล้วก็เป็นไปได้
และโดยเฉพาะถ้าเป็นมิเตอร์จำพวก EC meter และ TDS ของ
ยี่ห้อ HM แล้ว ผมชอบมาก ๆ เลยครับ เพราะนอกจากว่าจะเป็นยี่ห้อที่ขาย
กันทั่วโลกมีชื่อแล้ว ยังทำเป็นชาร์ตเปรียบเทียบเพื่อให้ลูกค้าได้เลือกใช้
อย่างถูกต้องและให้เห็นถึงความแตกและความเหมือนของมิเตอร์แต่ละรุ่น
ด้วย ท่านลองชมดูนะครับ แล้วผมจะอธิบายถึงแต่ละค่าและวิธีอ่านค่า
ชาร์ตครับ
ให้ท่านคลิกเพื่อขยายภาพขึ้นนะครับ
ในชาร์ตนี้มีมิเตอร์วัดค่า TDS และมิเตอร์วัดค่า EC อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 9
รุ่นด้วยกันครับ ซึ่งผมเองมีจำหน่ายแทบจะทุกรุ่นละครับ คือบางรุ่นเท่านั้น
ผมนำมาลงในเวบไซด์ แต่ไม่เป็นไร เพียงแค่่ท่านอ่านชาร์ตนี้ได้ท่านก็รู้
รายละเอียดทั้งหมดและสามารถเลือกใช้ได้แล้วละครับ
ช่องซ้ายมือสุดช่องแรกบนบอกถึงลักษณะการใช้งานโดยทั่ว ๆ ไปครับ
ช่องซ้ายมือสุดช่องที่สองถัดลงมา บอกถึงลักษณะงานที่เหมาะสมที่จะให้
เครื่องรุ่นต่าง ๆ นำไปใช้
ช่องที่สามถัดลงมา บอกถึงมิเตอร์ที่สามารถวัดค่า TDS ได้ว่ามีรุ่นใด
บ้าง(ดูที่จุดเขียว)
ช่องที่สี่ัถัดลงมา บอกถึงมิเตอร์ที่สามารถวัดค่า EC ได้ว่ามีรุ่นใดบ้าง(ดูที่
จุดเขียว)
ช่องที่ห้าถัดลงมา บอกถึงมิเตอร์ที่สามารถจะวัดค่าอุณหภูมิของสาร
ละลายได้ว่ามีรุ่นใดบ้าง(ดูที่จุดเขียว)
ช่องที่หกถัดลงเป็นระดับค่าสูงสุดของค่า TDS และค่า EC ที่เครื่องจะสามา่
รถตรวจวัดได้
ช่องที่เจ็ดถัดลงมา เป็นความละเอียดของมิเตอร์ว่าวัดได้ถึงระดับใด เช่น
ละเอียดได้ถึง 1 ppm เป็นต้น
ช่องที่แปด เป็นค่าที่เซียนมาก ๆ ครับ มีแค่รุ่นเดียวเท่านั้นที่มีได้เรียกว่า
ค่า Conversion factors คือต้องเป็นรุ่น COM-100 เท่านั้น
ช่องที่เก้าบอกว่ามีมิเตอร์รุ่นใดที่กันน้ำได้บ้าง ก็นั่นละครับคือรุ่น
COM-100 เท่านั้นที่มีคุณสมบัตินี้
ช่องที่สิบลักษณะเดียวกับช่องที่เก้า แต่อาจจะหมายถึงพอทนต่อน้ำได้สัก
เล็กน้อย ก็มีหลายรุ่นให้เลือกนะครับ
ช่องที่สิบเอ็ดบอกถึงว่ามีเครื่องรุ่นใดบ้างที่มีระบบ ATC หรือ Automatic
temperature compensations
ช่องที่สิบสองบอกถึงหน้าจอ LCD ที่ใหญ่อ่านค่าได้ง่ายว่ามีรุ่นใดบ้าง
ช่องที่สิบสาม มีหลายรุ่นเหมือนกันครับ
ช่องที่สิบสี่ บอกถึงเครื่องที่เวลาท่านจะคาลิเบรตต้องคาลิเบรตด้วยมือ
อาจจะมีช่องสำหรับให้ไขควรเสียบเข้าไปหมุนได้
ช่องที่สิบห้า บอกถึงเครื่องรุ่นที่สามารถคาลิเบรตด้วยระบบดิจิตอลได้
หมายถึงเครื่องจะคาลิเบรตให้โดยเป็นแบบกดปุ่ม คือถ้าใส่น้ำยาที่ถูก
ต้องและทราบค่าที่แน่นอนลงไป ผู้ใช้สามารถแล้วปรับค่าขึ้นลงโดยกดปุ่ม
ลูกศร ขึ้น - ลง ในกรณีที่ค่าที่เครื่องอ่านได้ไม่ตรงกับค่าน้ำยามาตรฐาน
ครับ
ช่องที่สิบหกหมายถึง เครื่องรุ่นที่มีปุ่ม Hold หมายถึงสามารถค้างค่าไว้
ได้ในกรณีที่ตรวจวัดในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เช่น ในที่มืด ในที่ที่ต้อง
ก้มลงไปมาก ๆ จนไม่สามารถจะอ่านค่าที่หน้าจอได้ ก็ให้ท่านกดปุ่มนี้ไว้
ก่อนแล้วค่อยยกมิเตอร์ขึ้นมาจากสารละลาย เพื่อนำมาอ่านค่าที่ที่สว่าง
หรือที่ที่อ่านค่าได้่สะดวก
ช่องที่สิบเจ็ดเปลี่ยนหัวได้ครับ
ช่องที่สิบแปดหมายถึงเครื่องรุ่นที่สามารถปิดเครื่องได้เองโดยอัตโนมัติ
ช่องที่สิบเก้าหมายถึงเครื่องรุ่นที่จะขึ้นเตือนหน้าจอในกรณีที่แบตเตอรี่
อ่อนค่า
โดยสรุปทั้งสิบเก้าช่องที่อธิบายมา COM-100 มีคุณสมบัติที่ครบ
ถ้วนแทบทุกช่องเลยครับ
สำหรับน้ำยาคาลิเบรตของเครื่อง COM-100 แล้วต้องใช้น้ำยารุ่นนี้นะครับ
เพราะอะไร
เพราะว่าเป็นน้ำยาคาลิเบรตที่ทางโรงงานผู้ผลิตคาลิเบรตมาแต่เริ่มต้น
คือ ใช้สารละลายความนำไฟฟ้าที่ 1,413 ไมโครซีเมนต์/ซีเอ็ม
ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส(หรืออุณหภูมิห้อง) มีค่า
Conversion factor ที่ 0.5 - 0.57
ทั้งนี้เป็นการคาลิเบรตด้วยโปรตัสเซียมคลอไรด์หรือ EC-KCl ครับ
ไม่เพียงเท่านั้น
น้ำยามาตรฐานนี้ยังบอกค่าของการนำไฟฟ้าที่จะแปรผันหรือแปรเปลี่ยน
ไปหากนำไปคาลิเบรตที่อุณหภูมิต่าง ๆ อีกด้วย
ให้ท่านดูที่อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป จะพบว่า
ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำยามาตรฐานนี้จะเปลี่ยนไปด้วย
ซึ่งจะเปลี่ยนไปเท่าไร ในฉลากบอกไว้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น
หากท่านนำสารละลายน้ำยามาตรฐานนี้เทใส่ภาชนะเจตนาเพื่อที่จะ
คาลิเบรตหรือตั้งค่ามาตรฐานของมิเตอร์นี้
หากว่าอุณหภูมิของสารละลายมาตรฐานในขณะนั้น
มิเตอร์อ่านค่าได้เท่ากับ 25 องศาเซลเซียสพอดี
ฉะนั้นแล้วท่านต้องคาลิเบรตมิเตอร์นี้ โดยกดปุ่ม(ขึ้นหรือลง)
แล้วคาลิเบรตให้ได้ค่า 1,413 ไมโครซีเมนต์ / ซีเอ็ม
แต่หากว่ามิเตอร์ของท่านอ่านอุณหภูมิในขณะนั้นเปลี่ยนไปคือไม่เท่ากับ
25 องศาเซลเซียสพอดีแล้ว
ท่านจำเป็นต้องคาลิเบรตหรือตั้งค่ามิเตอร์ของท่านให้ได้ค่าให้ตรงกับที่
ฉลากกำหนดไว้ จึงจะเรียกว่าเป็นการคาลิเบรตค่าที่ถูกต้องที่สุดนั่นเอง
ให้สังเกตุครับว่าหากอุณหภูมิของสารละลายมาตรฐานในขณะนั้นสูงขึ้น
ค่าการนำไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นไปด้วย
หรือหากอุณหภูมิของสารละลายมาตรฐานในขณะนั้นต่ำกว่า
25 องศาเซลเซียสแล้ว
ค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายมาตรฐานในขณะนั้นก็จะต่ำไปด้วย
เครื่อง COM-100 รุ่นนี้วัดได้ทุกค่าของค่า TDS และ ค่า EC
เลยก็ว่าได้ครับมาชมกันครับ
คุณสมบัติอันครบถ้วน
1. ในกรณีที่ท่านจะวัดค่าความนำไฟฟ้า(Conductivity)
แล้ววัดได้หน่วยของ มิลลิซีเมนต์ โดยที่ 1
มิลลิซีเมนต์จะมีค่าเท่ากับ 1,000 โมโครซีเมนต์
ฉะนั้นถ้าหากว่าเครื่องอ่านค่าได้เท่าไร
ถ้าท่านอยากจะทราบว่าเป็นกี่มิลลิซีเมนต์ก็ให้ท่านเลื่อนจุดทศนิยมนะครับ
เช่นว่า เครื่องนี้อ่านค่าสารละลายได้เท่ากับ 5,000 ไมโครซีเมนต์
ก็หมายถึงว่า สารละลายนี้มีค่าเท่ากับ 5 มิลลิซีเมนต์ครับ
ในอดีตเครื่องนี้ถูกออกแบบให้อ่านเป็นหน่วยมิลลิซีเมนต์ได้
แต่ด้วยความสับสนของผู้ใช้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้งานมือใหม่
ทำให้เกิดการเข้าใจผิดในเรื่องของหน่วยวัด
ทำให้เกิดการจดบันทึกค่าผิดพลาด อันก่อให้เกิดความสับสน
เพราะว่าโดยหลักสากลของการตรวจวัดค่า EC หรือ TDS
แล้วท่านจำเป็นอย่างยิ่งทีจะต้องไปเริ่มจากหน่วยที่เล็กที่สุดเสมอครับ
แต่สำหรับผู้ใช้งานมือใหม่ทั่วโลกที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์กับหน่วยวัด
แล้วเครื่องก็ออกแบบมาให้มีหลาย ๆ หน่วยวัด บางทีเลือกหน่วยวัดที่ผิด ๆ
แล้วผู้ใช้ก็นำไปวัดกับสารละลาย พอเครื่องบันทึกค่าสารละลายที่อ่านได้
ผู้ใช้ก็ไม่ทันจะดูหรือสังเกตุหน่วยวัด ว่าหน่วยเป็น
มิลลิซีเมนต์หรือไมโครซีเมนต์ ทำให้เกิดการจดบันทึกค่าที่ผิด
ๆซึ่งหน่วยมิลลิซีเมนต์ักับหน่วยไมโครซีเมนต์นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
อันนำไปสู่ความเสียหายของกระบวนการผลิตหรือการบันทึกอย่างไม่รู้ตัว
ได้ฉะนั้นในภายหลังจากมีเหตุการณ์นี้บ่อยครั้งทำให้เครื่องออกแบบมาใ
ห้มีหน่วยเดียวซึ่งเป็นหน่วยสากลที่ใช้กันทั่วโลกคือถ้าค่าการนำไฟฟ้าให้
อ่านค่าเป็นหน่วยเล็กสุดคือ
ไมโครซีเมนต์เสมอแต่ถ้าหากผู้ใช้ต้องการจะปรับหน่วยก็ให้เลื่อนจุดทศนิ
ยมเอา 3 ตำแหน่งเพื่อป้องกันความสับสนที่จะตามมาได้ครับ
ซึ่งถ้าหากว่าท่านจดบันทึกค่าของการนำไฟฟ้าแล้ว
ท่านก็ควรจะสนใจกับหน่วยที่ปรากฎขึ้นมาที่หน้าจอเสมอว่าตอนนี้เครื่องอ่
านค่าได้อยู่ในหน่วยใด เป็นต้น
การมีหน่วยเดียวยังเป็นข้อดีในขั้นตอนการคาลิเบรตเครื่องอีกด้วยครับ
เพราะถ้าหากเครื่องมีหลายหน่วยแล้ว
เวลาคาลิเบรตเครื่องเลือกหน่วยผิดไป เวลาที่ท่านคาลิเบรตออกมา
ก็จะทำให้ค่าที่วัดได้ไม่ถูกต้องไปกันใหญ่
เป็นอันตรายมากสำหรับการนำไปใช้วัดในงานที่สำคัญ ๆ
2. ในกรณีที่ท่านจะวัดค่า TDS แล้วยิ่งน่าทึ่งเลยครับ
เพราะว่าสามารถจะวัดได้ทั้ง 3 ค่าของ Conversion factor เลย คือ
Conversion ของ KCl, 442, และ NaCl ครับ
ค่าคอนเวอร์ชั่นคือค่าที่ตัวเครื่องจะคาลิเบรตด้วยสารละลายอะไร
โดยปกติแล้วค่านี้ใน TDS หรือ EC มิเตอร์รุ่นอื่นจะเลือกกันไม่ได้นะครับ(กลับไปดูชาร์ตด้านบนอีกครั้ง ข้อ 8)
ค่าคอนเวอร์ชั่นแฟคเตอร์นี้ยังสามารถเลือกได้ในหน่วยขอ
ง ppm(ส่วนในล้านส่วน) แต่ถ้าหากว่าท่านจะแปลงเป็นหน่วย ppt(
ส่วนในพันส่วน) ก็ให้ท่านเลื่อนจุดเอา คือ 1 ppt จะมีค่าเท่ากับ 1000
ppm ครับ ตรงจุดนี้เพื่อป้องกันความสับสนของคนทั่วโลก
ปัจจุบันเครื่องก็ออกแบบมาให้อ่านในหน่วยย่อยที่สุด คือหน่วย ppm ครับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
เวลาที่ท่านจะใช้งานเครื่องรุ่นนี้ถ้าท่านไม่ได้มีการคาลิเบรตเพิ่มเติมด้วยส
ารละลาย NaCl หรือ สารละลาย 442 แล้วท่านต้องเลือกไปที่โหมด KCl
นะครับ เพราะมันเป็นค่าเริ่มต้น(Default) ที่โรงงานคาลิเบรตมาให้
สรุปสุดท้ายจุดแข็งที่สุดของมิเตอร์เครื่องนี้เมื่อเทียบกับมิเตอร์รุ่นอื่น
ที่วัดค่าได้เหมือนกัน
จุดแข็งที่สุดคือความสามารถที่จะวัดได้ละเอียด(Resolution)
ถึงหลังจุดทศนิยมหนึ่งตำแหน่งครับ เช่น 10.1, 10.2, 10.3........
ซึ่งสามารถวัดได้ทั้ง
ค่าความนำไฟฟ้าและค่าความสะอาด
ตรงจุดนี้มีประโยชน์มากครับสำหรับการวัดค่าความนำไฟฟ้าและค่า
ความสะอาดของน้ำที่ค่าต่ำมาก ๆ
ถ้าหากท่านสังเกตุมิเตอร์รุ่นอื่นที่วัดค่าความนำไฟฟ้าและค่าความส
ะอาดแล้วจะพบว่า ค่าความละเอียด(Resolution) จะได้แค่ 1
ไมโครซีเมนต์ หรือ 1 ppm เท่านั้นครับ จะไม่เป็นจุดทศนิยม
สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาคู่มือของมิเตอร์วัดค่าความนำไฟฟ้าและ
ความสะอาดของน้ำรุ่น Com-100 ในภาคภาษาอังกฤษ
ที่ติดมาเป็นคู่มือที่มาจากต่างประเทศที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์