เครื่องวัดค่าความแข็งShore A สำหรับยาง พลาสติก หนัง
Digital Shore A Hardness Durometer (0~100HA)
(Model: TB-300A)
4,500 บาท ผมอนันต์ครับ Tel. 0868910596
Function 0:
A-type apply to normal rubber, soft rubber, polyester, leather, wax and so on.
Overview
Shore rubber durometer is a type of vulcanized rubber and plastic product. It has A, D and C types. A and D type apply to the test of low and medium hardness and high hardness material. C type is suitable for 50 % condensation, 0.049 MPa stress, use rubber and plastic together, rubber include the shoes cellular material which is made of foamer.
Usage
Put the sample on the stable plane, carry the durometer, the indentor keep 12 mm away from the edge, press the sample reposefully, make the indentor press it vertically, then read it until the durometer and the sample contact completely. Measure the hardness at least five times in different place away at least 6 mm from the sight.
Character :
One or Dual needle, after test the peak value, the driven needle will stop move, convenience the user to read (for TB301A).
Needle indicates, easy to read, high accuracy.
Handhold design, carry conveniently, handhold measure, also can be installed with match test stand.
Specification :
Dial Range : 0 ~ 100HA
Needle stroke : 2.5 mm.
Measure range : 10 ~ 90HA
Needle point size : 0.79 mm.
Weight : 300 grams.
ภาพด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลัง
วัดขนาดมิเตอร์รุ่นนี้ให้ดูครับ
เข็มวัด
สามารถปรับหน้าจอ หมุนหน้าจอ จุดประสงค์เพื่อ
คาลิเบรตค่าเริ่มต้นได้ ตามรูป
เมื่อเริ่มต้นการใช้งานทุกครั้งแล้ว เข็มวัดควรจะต้องอยู่ที่เลข 0
เนื่องจากด้านข้างเป็นเม็ดมะยม สามารถหมุนถอดออกมาได้ มีไว้
สำหรับการล็อกหน้าปัทม์เครื่องเพื่อไม่ให้เคลื่อนหรือหมุนไปได้
แต่ถ้าหากว่าหมุนเม็ดมะยมนี้เข้าไปให้สุดเกลียวแล้ว หน้าจอจะล็อค
ขยับไม่ได้
เป็นมิเตอร์วัดความทนทานของสิ่งของอีกรุ่นหนึ่งที่เป็นระบบ Analog (แบบ
เข็ม) ที่น่าใช้ครับ ตัวถังแข็งแรงทนทาน
เกร็ด
มีคำถามหนึ่งที่มักจะถูกถามซึ่งคำถามนั้นก็คือ ระหว่างมิเตอร์วัดความแข็งในสเกล Shore ต่าง ๆ นั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ หรือมีสูตรในการ Convert หรือไม่ ตรงนี้ตามตำราแล้วกล่าวว่า ไม่สัมพันธ์กันครับและไม่มีสูตรใด ๆ ในการ Convert ระหว่างมิเตอร์วัดความแข็งในสเกลต่าง ๆ ด้วย
เพียงแต่ว่าสามารถจะสรุปคร่าว ๆ ดังตารางด้านล่างนี้ให้ท่านดูเป็น Guide Line ครับ ยกตัวอย่างในตารางนี้ ท่านจะพบว่ามิเตอร์วัดความแข็งในหน่วยสเกล D จะเป็นมิเตอร์วัดความแข็งที่ออกแบบมาเพื่อวัดความแข็งได้มากที่สุด มีค่านิจของสปริงที่สูงที่สุด ความหมายคือ ถ้าหากท่านจะกดเข็มของมิเตอร์ในหน่วยสเกล D ให้ลงไปจนสุดเข็มแล้ว ท่านก็จะต้องออกแรงในการกดมากที่สุดไปด้วย
จากตารางแล้วในขณะเดียวกัน มิเตอร์วัดความแข็งในหน่วยสเกล OO แล้วจะเป็นมิเตอร์วัดความแข็งที่ออกแบบมาเพื่อวัดความแข็งได้น้อยที่สุด มีค่านิจของสปริงที่ต่ำที่สุด ความหมายคือ ถ้าหากท่านจะกดเข็มของมิเตอร์ในหน่วยสเกล OO ให้ลงไปจนสุดเข็มแล้ว ท่านก็จะต้องออกแรงในการกดน้อยที่สุดนั่นเอง
ส่วนมิเตอร์วัดความแข็งในหน่วยสเกลอื่น ๆ เช่นสเกล A, B, C, DO, O และ M แล้วจะมีค่านิจของสปริงอยู่ระหว่างสเกลของมิเตอร์สเกล D และมิเตอร์สเกล OO
ยกสักหนึ่งตัวอย่างก็คือ หากท่านนำมิเตอร์วัดความแข็งในหน่วยสเกล A มาทำการวัดวัสดุชิ้นหนึ่ง แล้วท่านอ่านค่าได้เท่ากับ 50 ถามว่าหากท่านทดลองนำมิเตอร์ัวัดความแข็งในหน่วยสเกลอื่น ๆ มาทำการวัดแล้ว ควรจะอ่านค่าได้เท่ากับเท่าไร ตรงนี้ก็ให้ท่านมองไปที่ตารางได้เลยครับ โดยมองไปที่เลข 50 ของสเกล A แล้วไล่ตรงลงไปเรื่อย ๆ ท่านก็จะพบว่าหากท่านลองนำมิเตอร์วัดความแข็งในสเกลอื่น ๆ มาวัดแล้ว
สเกล B ควรจะอ่านได้ อยู่ระหว่าง 30 - 40
สเกล C ควรจะอ่านได้ ประมาณ 20 ต้น ๆ
สเกล D ควรจะอ่านได้ ประมาณ 10 ต้น ๆ
สเกล DO ควรจะอ่านได้ ประมาณเกือบ ๆ 30
สเกล O ควรจะอ่านได้ ประมาณเกือบ ๆ 60
สเกล OO ควรจะอ่านได้ อยู่ระหว่าง 80 - 90
ตารางเทียบเพิ่มเติม
เพราะฉะนั้นแล้วไม่ว่าท่านจะวัดวัสดุที่จะทำการทดสอบความแข็งด้วยมิเตอร์วัดความแข็งในหน่วยสเกลใดก็ตามแต่ กติกาสากลข้อหนึ่งที่ต้องพิจารณาถึงก่อนคือ วัสดุที่จะวัดความแข็งนั้นต้องทนทานเพียงพอต่อ เดือย(Indentor)ของมิเตอร์ที่จิกลงไปในวัสดุที่จะวัด หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ เดือย(Indentor)ของมิเตอร์ตอนกดลงไปเพื่อวัดจะไปแทงทะลุวัตถุที่จะวัดไม่ได้เด็ดขาด เพราะหากเกิดการแทงทะลุหรือชนะความต้านทานของวัสดุที่วัดได้แล้ว มันจะเท่ากับการเสียกำลังของวัสดุที่จะวัดนั้น ซึ่งค่าของมิเตอร์ีที่จะอ่านได้ก็จะน้อยกว่าความเป็นจริงนั่นเองครับ
ยกตัวอย่างก็เช่น หากท่านนำมิเตอร์วัดความแข็งในหน่วยสเกล D ซึ่งมีเดือย(Indentor) ที่แหลมและแข็งมากไปวัดวัสดุที่นิ่ม ๆ เมื่อเดือยของมิเตอร์แทงทะลุวัสดุนั้นเข้าไป ค่าที่วัดได้ก็ไม่ตรงกับความเป็นจริง ฉะนั้นแล้ว การเลือกมิเตอร์วัดความแข็งให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่จะวัดจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง
สังเกตุในภาพด้านล่างแล้ว เดือย(Indentor)ของมิเตอร์วัดความแข็งถูกกดลงไปในเนื้อวัสดุที่ถูกนำมาวัด โดยที่เนื้อวัสดุนั้น ๆ ยังคงความต้านทานต่อการกดได้ มันเพียงแ่ต่ยุบลงไปเพราะถูกแรงกด แต่มิได้ถูกแทงทะลุเข้าไปเพราะความแข็งวัสดุนั้นยังคงต้านทานต่อแรงกดได้
ตารางด้านล่างนี้ เป็นวัสดุที่ควรจะนำมาวัดกับมิเตอร์วัดความแข็งในสเกลต่าง ๆ
อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจคือ หัววัดหรือเดือย(Indentor)ของมิเตอร์วัดความแข็งในแต่ละสเกล จะมีรูปร่างที่ไม่เหมือนกันครับ ตามภาพด้านล่าง ทั้งนี้แล้วค่านิจของสปริงของมิเตอร์วัดความแข็งในแต่ละสเกล ก็จะมีค่าที่ไม่เท่ากันไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น มิเตอร์วัดความแข็งในสเกล OOO ท่านออกแรงกดเพียงแค่ 113 กรัม ก็เพียงพอที่จะกดให้มิด Indentor ได้แล้ว ในขณะีที่ท่านจะต้องออกแรงในการกดมากถึง 4,536 กรัมในการกดมิเตอร์วัดความแข็งในสเกล D เพื่อที่จะกดให้มิด Indentor เป็นต้น