มิเตอร์ตรวจวัดค่าความเค็มในอาหาร
(Digital Salt Meter Tester)
(Model: DMT-20)
ราคา 2,800 บาท ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
This tester is a dual purpose SALT with Temperature.
Mode
- Shows salt concentration in food as a percentage.
- It helps you monitor your daily salt intake.
APPLICATIONS
- Salt content of food and salt intake monitoring
- Standardization of taste in food manufacture
- Salt water swimming pool testing
- Hydroponic feed delivery testing
GENERAL FEATURES AND SPECIFICATIONS
- Auto Calibration & Auto Temp.(C / F ) Exchange
- Gold plated waterproof sensor probes
- Hold button to freeze the reading
- Batteries 2 x CR2032 supplied
- Battery life 6 months (used 10 times per day)
- Dimensions 30h x 30w x 195d mm
SPECIFICATIONS FOR SALT
- Conductivity measurement method
- Range 0.0 - 5.0
- Resolution 0.1
- Sample temperature range 0 - 70C
SPECIFICATIONS FOR THERMOMETER
- Range 0 - 100°C
- Accuracy 1C of reading (0 - 70°C)
- Supplied with case, sample spoon, sensor protection cap, operation manual, 2% standard solution,Hanger Strap
CE Certified.
เป็นมิเตอร์วัดความเค็มที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้วัดค่าความเค็มของอาหาร
วัดได้ทั้งค่าความเค็มที่เป็นเปอร์เซ็นต์สามารถอ่านค่าได้หลัง
จุดทศนิยมหนึ่งตำแหน่งครับ เช่น เริ่มจาก 0.0 - 5.0 เปอร์เซ็นต์ และ วัด
อุณหภูมิของอาหารได้ด้วยซึ่งสำหรับอุณหภูมิก็เช่นเดียวกันคือวัดได้ถึง
หลังจุดทศนิยม หนึ่งตำแหน่ง
ผมเองพยามยามนำคู่มือการใช้งานสินค้าฉบับจริงของสินค้าที่มา
จากต่างประเทศมาำนำเสนอครับเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะโดยส่วน
ใหญ่แล้วคู่มือสินค้าควรจะเป็นสิ่งแรกที่ท่านจะได้เห็น แต่ก็มักจะเป็นสิ่ง
สุดท้ายที่ท่านจะได้เ้ห็น(เพราะมันอยู่ในกล่อง)
การใช้งานมิเตอร์ีที่ถูกต้องที่สุดคือเมื่อใดก็ตามที่ท่านจะทำการวัดจะ
ต้องให้หัววัดจุ่มอยู่ในของเหลว น้ำแกงหรือสารละลายที่ท่านจะวัดเท่านั้น
นะครับ ห้ามให้หัววัดจุ่มโดยติดกับก้นถ้วยหรือผนังข้างภาชนะเด็ดขาด
เพราะว่าจะทำให้ค่าที่วัดได้เพี้ยนไปครับ
ทั้งนี้ทั้งนั้น สำหรับมิเตอร์รุ่นนี้ถ้าจะให้ดีและถูกต้องควรทำการตรวจ
วัดโดยตักน้ำแกงใส่ลงไปในถ้วยที่แถมมาให้
สำหรับมิเตอร์ที่วัดความเค็มของอาหารแล้ว เท่าีที่ผมพบเห็นจะวัดได้
ในช่วง 0 - 5 เปอร์เซ็นต์(หรือมากกว่านี้เล็กน้อย เช่น 5.5 เปอร์เซ็นต์)
เพราะอะไรท่านสงสัยบ้างหรือไม่ครับ สาเหตุเป็นเพราะอย่างนี้ครับ
ตารางที่ท่านเห็นข้างบนนี้เป็นค่าเกลือที่ร่างกายควรจะได้รับในแต่ละ
วัน ผมเน้นคำว่าควรจะนะครับ เพราะในภาษาอังกฤษใช้คำว่า
recommended salt intake(ปริมาณเกลือที่ร่างกายควรจะได้รับ)
ทั้งนี้ในเรื่องของพฤติกรรมการรับประทานอาหารส่วนบุคคลในความเป็นจ
ริงยังไม่มีข้อกฎหมายบังคับว่าต้องหรือไม่ต้องหรือถ้าต้องต้องทานอย่าง
ถูกต้องเป็นเท่าไร
ท่านจะเห็นว่ามีภาษาอังกฤษปรากฎขึ้นมาคำหนึ่งคือคำว่า UL คำนี้ย่อ
มาจากวลีว่า upper limit หมายถึง ขีดจำกัดบนของการได้รับ
ซึ่งมักจะไม่เกินไปกว่า 5.5 mg/day หรือ
5.5%และดูเหมือนว่าจะมีค่าที่ใกล้เคียงกันมากๆเลยในทุกประเทศที่พัฒน
าแล้วตามชาร์ต คือ อเมริิกา สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลียและ
นิวซีแลนด์ ผมว่าชาร์ตนี้มีความน่าสนใจเหมือนกัน
จึงอยากจะขอขยายอีกครั้งครับ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาค่า
ขีดจำกัดบนของการได้รับเกลือหรือค่า UL
สำหรับบุคคลปกติจะอยู่ที่ไม่ควรเกินกว่า 5.750 mg/day หรือ 5.750 %
ต่อหนึ่งวันสำหรับคนที่ปกติ แต่ถ้าหากว่าเป็นบุคคลในกลุ่มพิเศษ(special
group) หรือบุคคลที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคไต, โรคความดันโลหิตสูง
หรือ เบาหวาน ค่า UL จะอยู่ที่ 3.750 % หน่วยงานที่ issue คือ
Department of health and human services
ประเทศแคนาดา ค่า UL จะอยู่ที่ 5.5 - 5.75%
ส่วนค่าที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับ หรือ An adequate intake จะอยู่ที่
3.00 - 3.75 % หน่วยงานที่ issue ประเด็นนี้คือ health canada(2005)
ในส่วนของสหราชอาณาจักรแล้ว issue ประเด็นนี้โดย scientific
advisory committer on nutrition(2003) กำหนดค่า
เกลือที่ร่างกายของผู้ใหญ่ปกติที่ควรได้รับ(หรือค่า RNI) จะอยู่ที่ 4.0%
แต่มิได้กำหนดค่า UL ออกมาให้ชัดเจน(
ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร) ทั้งนี้ให้ดูที่หมายเหตุด้วยว่า
ถึงอย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยที่คนผู้ใหญ่ปกติรับประทานเข้าไปมักจะมากกว่า
ค่า RNI ประมาณ 2.5 เท่า(ก็คงราว ๆ สัก 10%)
ในส่วนของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แล้วกำหนดค่า An adequate
intake(ค่าที่ควรจะได้ในการบริโภคเกลือ) ไว้ค่อนข้างต่ำครับ คือ เพียง
1.15 - 2.3% แต่กำหนดค่า UL ให้อยู่ที่ 5.75%
ฉะนั้นถ้าหากว่าเราสามารถปฎิบัติได้ตามชาร์ตดังกล่าว ก็จะ
ทำให้เรามีสุขภาพที่ดีได้เหมือนกับคนในประเทศที่พัฒนาแล้วได้
เอ๊ะ แล้วท่านสงสัยไหมว่าถ้าหากว่าอาหารที่ท่านจะวัดมีค่าความเข้ม
ข้นของเกลือเกินกว่า 5 เปอร์เซ็นต์แล้ว เครื่องนี้จะวัดได้ไหม คำตอบคือ
ได้ครับ ทำอย่างไรหรือ ให้ทำตาม คำแนะนำที่อยู่ในคู่มือดังนี้ครับ
ทำดังนี้คือให้นำอาหารแข็งมาประมาณ 10 กรัม บดให้ละเอียดแล้ว
เติมน้ำลงไป 90 กรัม คนให้เข้ากันแล้วทำการวัดโดยใช้มิเตอร์วัด ค่าที่
อ่านได้ถ้าอ่านได้เท่าไรให้คูณด้วย 10 ก็จะเป็นค่าความเค็มของอาหารนั้น
หรือถ้าหากว่าจะแปลงค่าความเค็มเป็นกรัมของเกลือก็ให้คำนวนตาม
ตัวอย่างด้านบนนะครับ
สรุปใช้งานง่ายมาก ๆ ครับ จุ่มวัดแล้วอ่านค่า
แต่ว่ามีข้อพึงระวังสักหน่อยคือ ถ้าท่านนำไปวัดในอาหารที่ร้อนจัด ๆ
ถ้าจะให้ดีควรจะรอให้อาหารเย็นลงสักเล็กน้อยก่อน
หรือว่าให้เย็นจนถึงจุดที่ท่านคิดว่าเหมาะสมแล้วที่จะเสริฟรับประทาน
ถามว่าทำไม เหตุผลก็คือว่า ถ้าท่านไปวัดตอนที่อาหารร้อนมาก ๆ
ท่านต้องระวังจับมิเตอร์ให้มั่นคง
ไม่ให้มิเตอร์วัดตกลงไปในน้ำแกงเด็ดขาดครับ
เพราะนอกจากจะทำให้มิเตอร์เครื่องวัดเสียหายแล้ว
ยังจะทำให้อาหารของท่านปนเปื้อนได้อีกด้วย
อีกประการหนึ่งอาหารที่เหมาะสมที่สุดที่คนควรจะรับประทานเข้าไปทางป
ากที่ถูกต้องควรจะมีอุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ร้อนจัด หรือเย็นจัดเกินไป
เพราะฉะนั้นการวัดความเค็มของอาหารที่ถูกต้องก็ควรจะวัดตอนที่อุณหภู
มิของอาหารอยู่ในจุดที่เหมาะสมที่จะรับประทาน การวัดจึงจะสมบูรณ์
เฉกเช่นเดียวกับความหวานครับ ความเค็มนั้นสัมพันธ์กับอุณหภูมิด้วย ซึ่ง
มันอยู่ในเรื่องเดียวกันกับปริมาณสารสัมพันธ์ที่ว่า เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น
ความสามารถในการละลายจะเพิ่มขึ้น ความเค็มที่วัดได้ก็อาจจะเพิ่มขึ้น
ด้วย ฉะนั้นถ้าหากท่านจะจดบันทึกค่าความเค็มที่วัดได้ให้ถูกต้องที่สุด
ท่านต้องจดบันทึกอุณหภูมิและอ้างถึงค่านี้ไปพร้อม ๆ กันด้วยครับ
(ลองเช็คอุณหภูมิอาหารโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอาหารได้ครับ)
ข้อพึงสังเกตุบางประการสำหรับหัววัดของมิเตอร์
ภาพนี้เป็นหัววัดของมิเตอร์วัดความเค็มรุ่นนี้นะครับ
ภาพนี้เป็นภาพหัววัดของมิเตอร์วัดค่าความนำไฟฟ้าหรือ conductivity
meter
ให้ท่่านได้ลองสังเกตุหัววัดของมิเตอร์ทั้งสองให้ดีครับ ว่าต่างกัน
อย่างไร ท่านพอจะทราบไหม ถ้าท่านไม่ทราบผมเฉลย คือมิเตอร์ด้านล่าง
นั้น หัววัดได้รับการปกป้องคุ้มกันจากขอบพลาสติกด้านข้าง(ขอบนอกนั่น
ละครับ) เพราะฉะนั้นการใช้งานมิเตอร์ในลักษณะนี้แล้วค่อนข้างจะ
ปลอดภัยกว่าคือสามารถจุ่มลงไปวัดได้เลยโดยไม่ต้องระวังมาก เพราะว่า
ขอบด้านนอกของมิเตอร์จะปกป้องหัววัดให้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ให้หัววัด
ไปสัมผัสกับภาชนะหรือสิ่งที่ไม่ควรจะไปโดนเช่น ขอบข้างของภาชนะ
ขอบด้านล่างของภาชนะ เช่น ขอบบีกเกอร์หรือ ข้างบีกเกอร์ เป็นต้น ตรง
จุดนี้สำคัญมากนะครับ เพราะว่าการตรวจวัดสารละลายใด ๆ ก็ตามแต่และ
ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดค่าใด ๆ ก็ตามแต่ หัววัดของมิเตอร์ที่ท่านใช้วัดจะ
ต้องสัมผัสกับสารละลายนั้น ๆ เท่านั้นนะครับ จะให้ไปสัมผัสกับสิ่งอื่น ๆ ไม่
ได้เพราะว่าจะทำให้ค่าที่วัดได้ผิดไปจากความเป็นจริงได้ ซึ่งใน
เหตุการณ์จริง ๆ แล้วถ้าหากว่าท่านทราบว่า(หรือไม่ค่อยแน่ใจ)เวลาวัด
หัววัดของท่านไปสัมผัสกับขอบหรือข้างภาชนะหรือไม่ ที่ถูกต้องท่านต้อง
วัดใหม่นะครับ อย่าใช้ค่าที่ไม่แน่ใจจดบันทึกลงไป
ซึ่งถ้าหากเทียบกับภาพบนแล้วท่านจะพบว่า หัววัดของมิเตอร์นั้นเป็น
หัววัดที่ไม่มีขอบหรือสิ่งใด ๆ ป้องกัน เพราะฉะนั้นเวลาที่ท่่านวัดท่านต้อง
ประคองตัวเครื่องระวังไม่ให้หัววัดไปสัมผัสกับก้นภาชนะ หรือข้างภาชนะ
เพราะมิเช่นนั้นถ้านำไปสัมผัส ค่าที่วัดได้จะเพี้ยนไปครับ ให้ระวังจุดนี้ด้วย
ข้อดีของมิเตอร์ที่ไม่มีขอบป้องกันหัววัดก็มีเช่นกัน คือสามารถ หย่อน
หรือแหย่ปลายหัววัดลงไปในที่แคบ ๆ ได้เช่นปลายขวด แต่ถ้าหากเทียบ
กับมิเตอร์ที่มีขอบป้องกันแล้วจะพบว่าเทอะทะกว่า จะหย่อนลงไปในที่แคบ
ๆ ไม่ค่อยจะได้ เวลาวัดต้องมีพื้นที่ให้มิเตอร์ลงไปวัดได้ครับ