รีแฟคโตมิเตอร์วัดความหวาน 0 - 50 % ATC,
รีแฟคโตมิเตอร์วัดความหวาน 28 - 62 % ATC
ท่านครับการใช้ รีแฟคโตมิเตอร์ ที่เหมาะสมที่สุดคือ
ต้องเลือกช่วงการวัดของรีแฟคโตมิเตอร์อันนั้น
ให้เหมาะสมกับสารละลายที่ท่านจะวัด
หรือให้ใกล้เคียงกับสารละลายที่ท่านจะวัดให้มากที่สุดครับ
เพราะมิเช่นนั้นหากท่านนำรีแฟคโตมิเตอร์ที่มีค่าผิดไปจากสารละลายที่ท่านจะวั
ด มาวัดแล้ว การอ่านค่าที่ได้ก็อาจจะต้องนำมาทำการประยุกต์ เช่น
สารละลายความหวานที่ท่านทราบมีความหวานอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์
แต่ท่านไปนำรีแฟคโตมิเตอร์ที่วัดความหวานได้สูงสุดแค่ 32 เปอร์เซ็นต์มาวัด
ก็อาจจะต้องทำให้ท่านต้องประยุกต์การใช้งานของรีแฟคโตมิเตอร์ตัวนี้
เพื่อที่จะให้มันอ่านค่าให้ได้ คือถ้าเป็นอะไรอย่างนี้แล้ว
ท่านต้องนำสารละลายความหวานนี้มาเจือจางก่อนทำการวัด
เครื่องถึงจะอ่านค่าได้
แต่อย่างไรก็ตามท่านจำเป็นต้องคำนวนให้ถูกต้องและแม่นยำด้วยนะครับ
การอ่านค่าจึงจะสมบูรณ์
ซึ่งตรงจุดนี้ต้องอาศัยความรู้ทางเคมีเบื้องต้นมาประกอบด้วย
ซึ่งตรงจุดนี้สำหรับท่านที่ไม่มีประสบการณ์ทางด้านการเจือจางมาก่อน
หรือไม่มีความรู้ใด ๆ ทางด้านเคมีวิเคราะห์เลย
จะไม่สามารถทำหรือหาค่าออกมาได้ หรือทำได้ก็จะขาดความแม่นยำได้
หรือถ้าหากว่าท่านนำรีแฟคโตมิเตอร์ที่วัดความหวานได้ตั้งแต่ 50
เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปมาวัด ผลก็คือวัดอะไรไม่ได้เลย ไม่ขึ้นค่าใด ๆ เจือจางก็ไม่ได้
ผมมีรีแฟคโตมิเตอร์อีก 2 รุ่นที่อยากจะนำเสนอท่านครับ
วัดเปอร์เซ็นต์ความหวานได้ 0 - 50 เปอร์เซ็นต์
ถ่ายภาพจากหน้าจอของจริง
ส่วนอีกรุ่นวัดค่าเปอร์เซ็นต์ความหวานเริ่มต้นที่ 28 เปอร์เซ็นต์
ถึงความหวานสูงสุด 62 เปอร์เซ็นต์
บางท่านสงสัยกับเรื่องของราคาของรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้ว่า
ทำไมจึงมีราคาสูงกว่ารีแฟคโตมิเตอร์รุ่นธรรมดาทั่วไป คำตอบคือความแข็งแรง
วัสดุที่ใช้ทำ ถ้าท่านไม่ลองมาจับจะไม่ทราบได้นะครับ ว่ารุ่นธรรมดากับรุ่น
premium ผิดกันอย่างไร แค่ยกขึ้นมาก็ทราบได้แล้วครับ
เัีัีรียกว่าคุณภาพของรีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้เรียกว่า น้อง ๆ
รีแฟคโตมิเตอร์รุ่นดังของญี่ปุ่น(ในอดีต)ได้เลย
เพราะว่ารุ่นนี้มันหนักมือผิดจากรุ่นทั่วไปแน่นอน คือมันแข็งแรงปึี๊๊๊กกว่ากันครับ
ที่ผมวงเล็บว่าในอดีต ก็คือปัจจุบันนี้คุณภาพในเรื่องความหนัก
ซึ่งผมอนุมานไปถึงเรื่องของวัสดุที่ใช้ทำผิดกันไปจากรุ่นที่เคยผลิตในอดีตแล้วค
รับ มันเบามือน้ำหนักเท่า ๆ กับของผมได้เลย เพียงแต่ที่ยังคงเดิมคือ ราคาครับ