เครื่องจ่ายสารเคมีจากขวด, Dispensing
เมื่อท่านต้องการจะนำสารเคมีเหลว ออกมาจากขวดเก็บสารแล้ว
มีหลายวิธีที่หลากหลายครับ เช่น นำภาชนะลงไปตักขึ้นมา
ยกภาชนะใส่สารเคมีขึ้นแล้วเทสารละลายลงไปยังอีกภาชนะหนึ่ง
ใช้หลอดหรือไปเปตดูดขึ้นมา
แต่ถ้าจะถามว่ามีอะไรบ้างเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด
ที่จะไม่ต้องยกภาชนะใส่สารเคมีละลายขึ้นมาเพื่อเท หรือต้องนำภาชนะลงไปตักเอง
หรือไปใช้ปิเปตดูดขึ้นมา
ซึ่งมันอาจจะเป็นอันตรายในกรณีที่ภาชนะใส่สารละลายมีขนาดใหญ่และหนัก
หรือมันอาจจะไม่ได้ค่าที่แน่นอน เพราะว่าการเทเป็นการรินสารแบบประมาณเอา
ซึ่งก็คงจะต้องนำมาตวงในภายหลังให้ได้ค่าที่แน่นอนอีก
แล้วเทสารมีเหลือลงไปยังขวดดังเดิม
ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะทำให้สารละลายที่ยังไม่ได้ถูกเทออกมาปนเปื้อนได้
หรือในกรณีที่เป็นสารเคมีอันตราย เช่น กรดเข้มข้น เบสเข้มข้น
การเปิดขวดเพื่อดูดขึ้นมาโดยตรงก็อาจจะเป็นอันตรายกับผู้ทำได้
หรือถ้าเป็นสารละลายที่มีราคาสูง การดูดแบบสุ่มก็ทำให้สิ้นเปลืองได้
หรือถ้าผู้ทำไม่มีความชำนาญก็จะยิ่งสิ้นเปลืองและอาจจะปนเปื้อนมากขึ้นอีก
Dispensing คือคำตอบที่เหมาะสมครับ
สำหรับท่านหรือหน่วยงานของท่านพอจะจัดหาได้ เพราะมันใช้งานได้ง่าย และรวดเร็ว
ไม่ต้องกังวลว่าจะสิ้นเปลืองเรื่องสารเคมีที่ดูดขึ้นมาเกินความจำเป็น
เพราะมันสามารถปรับตัว Dispensing
ให้สามารถดูดสารเคมีให้ได้ในปริมาณที่ท่านต้องการ
ท่านไม่ต้องเสี่ยงที่จะเปิดขวดสารเคมีที่อันตรายเพื่อก้มลงไปดูและดูดสารเคมีโดยตรง
เพราะมันอาจจะทำอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ตา หู จมูกได้
หรือแม้แต่ท่านไม่ต้องเสี่ยงที่จะยกขวดสารเคมีในกรณีที่ขวดสารเคมีมีน้ำหนักมาก ๆ
ซึ่งอาจจะเกิดอุบัติเหตุ เช่น ตกแตก หรือตกใส่เท้าได้
หรือในกรณีที่ท่านมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีในขวดนี้บ่อย ๆ และต้องใช้ทุก ๆ
วันแล้ว ก็อาจจะยิ่งไม่สะดวกเข้าไปอีกถ้าหากจะต้องมาคอยยกเรื่อย ๆ
ผมจะขอนำ Dispensing รุ่นที่ใช้แล้วมาสาธิตให้ท่านดูเป็นตัวอย่างนะครับ
ลักษณะของ Dispensing ก็ืคือยึดติดกับขวด
มีสายเพื่อใช้ดูดสารละลายหย่อนลงไปในขวด
มีทางออกของสารละลายที่ดูดขึ้นมา
และมีที่สำหรับให้ตั้งค่าว่าจะดูดสารละลายเท่าไรดี
ตรงนี้เป็นทางออกของสารละลายที่ดูดขึ้นมาได้
ที่ท่านเห็นเป็นลูกศรชี้ขึ้น
ตรงจุดนี้คือจุดที่ใช้ตั้งค่าสารละลายว่าจะให้ดูดขึ้นมาสักเท่าไรดี
วิธีใช้คือจุดนี้จะหมุนได้เป็นวงกลมครับ
ให้ท่านหมุนไปยังตัวเลขที่ท่านต้องการจะให้ Dispensing ดูด
ท่านจะเห็นว่าถ้าผมตั้งให้ดูดได้สัก 8 ml แกนของ Dispensing
จะสามารถยกขึ้นมาได้สูงกว่าผมตั้งให้ดูดเพียง 4 ml พูดง่าย ๆ
คือถ้าตั้งค่ามากก็จะดูดสารละลายขึ้นมาได้มาก แกนก็จะขยับได้มากด้วย
และก็ด้วยวิธีนี้ท่านก็จะได้สารละลายจากขวดที่ออกมาสู่ภายนอกโดยที่ไม่มีการ
ปนเปื้อนใด ๆ จากการเปิดขวด และไม่อันตรายกับผู้ใช้
เพราะไม่ต้องมีการยกหรือเคลื่อนย้ายภาชนะที่เก็บสารละลายเลย
และที่สำคัญใช้งานได้ง่าย ๆ ใคร ๆ
ก็ใช้ได้แม้แต่ผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องการวัดตวงมาก่อนก็ใช้ได้เพราะ
มันสามารถตั้งค่าให้ดูดได้ตามที่ท่านต้องการ
ซึ่งถ้าไปเทียบกับการใช้ปิเปตดูดด้วยลูกยางแล้วผู้ใช้ต้องมีประสบการณ์เคยทำ
มาก่อนพอสมควร จึงจะทำได้
มิเช่นนั้นแล้วจะดูดมากหรือน้อยไปหรือมือไปสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง
จะไม่ถูกสุขลักษณะเท่าที่ควร
ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องขนาดปากขวดเพราะมี adaptor ให้สามหัวครับ
ใส่กับขวดเก็บสารเคมีได้ทุกขนาดในท้องตลาดยกเว้นขวด 4 ลิตรJP
ข้อพึงระวังสำหรับการใช้ Dispensing ดูดสารเคมี
ส่วนใหญ่ไม่มีอะไรมากครับ เพียงแต่ท่านต้องระวังว่าสารเคมีที่ท่านดูด
ถ้าหนืดมาก ๆ ต้องระวังเรื่องแกนของ Dispensing จะค้างได้ครับ
หรือถ้าใช้เสร็จแล้วควรจะทำความสะอาดแกนด้วยก็จะเหมาะสมครับ
แต่ส่วนใหญ่เท่าที่เห็น สารเคมีในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์จะค่อนข้างใส
Dispensing ที่ผมนำเสนอนี้เป็นของเยอรมันนีครับ HIRSCHMANN
รุ่นที่จะสามารถเลือกได้ให้ดูที่คอลัมน์สุดท้ายขวามือสุดครับ ที่เขียนว่า ceramus
classic ส่วนช่วงปริมาตร(น้อยสุด - มากสุด) ที่ท่านต้องการจะเลือกใช้
ให้ดูที่ช่อง Volume(ml) ครับ