พิโคโนมิเตอร์ที่ปรับค่าปริมาตรที่แน่นอนแล้วพร้อมด้วยเทอร์
โมมิเตอร์, pycnometer with thermometer, Specific
gravity bottles with ground joint thermometer
ท่านครับน้ำบริสุทธิ์นั้นสามารถจะมีสถานะได้ทั้งสามสถานะ
คือเป็นของแข็ง(เป็นน้ำแข็ง) เป็นของเหลว(เป็นน้ำธรรมดา) และเป็นก๊าซ
(อยู่ในรูปของไอน้ำ)
น้ำที่อยู่ในสถานะของของเหลวนั้นจะมีความหนาแน่นมากที่สุดครับ
แต่ถึงอย่างไรก็ตามแต่น้ำที่อยู่ในรูปของของเหลวนั้นความหนาแน่นใน
แต่ละอุณหภูมิก็ยังไม่เท่ากันคือความหนาแน่นของมันจะผันแปรไปตาม
อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป แต่ว่ามันจะเปลี่ยนไปไม่มากจนเกินไปนัก
(ตามตารางที่อยู่ข้างบน)
ถ้าจะถามว่าแล้วที่อุณหภูมิใดที่น้ำจะมีความหนาแน่นมากที่สุด
อันนี้ฝรั่งบอกมาว่าที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
น้ำที่อยู่ในรูปของเหลวจะมีความหนาแน่นมากที่สุด
คือจะมีความหนาแน่นอยู่ที่ 999.9720 kg/m3 แต่ว่าหน่วยทั่วไป ๆ
ที่เราใช้วัดความหนาแน่นของของเหลวมักจะวัดกันในหน่วย g/cm3
ด้วยความจริงที่ว่า 1 kg/m3 = 0.001 g/cm3
เพราะฉะนั้นแล้ว 999.9720 kg/m3 ก็จะเท่ากับ 0.9999720
g/cm3 หรือประมาณ 1.000 g/cm3 นั่นเองครับ
แต่ถึงอย่างไรก็ตามน้ำที่อยู่ในรูปของของเหลวที่มีอุณหภูมิผิดไปจากนี้
ก็ยังจะคงมีความหนาแน่นที่ใกล้เคียงกับ
1.000 g/cm3เพียงแต่ตัวเลขจะเริ่มคลาดเคลื่อนไปสักเล็กน้อยเช่นน้ำที่
อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสจะมีความหนาแน่นที่ 0.9956502
g/cm3 ส่วนน้ำที่มีความหนาแน่นที่ 10
องศาเซลเซียสก็จะมีความหนาแน่นที่ 0.9997026 g/cm3
เป็นต้น(ห่างกันก็เพียงหลังจุดทศนิยมตำแหน่งที่ 3-4)
ความหนาแน่นของน้ำที่ไม่เท่ากันนั้นหมายถึงอะไร
คำตอบคือน้ำนั้นจะเริ่มมีน้ำหนักที่ไม่เท่ากันเมื่ออุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนไป
กล่าวว่าน้ำที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสนั้น
น้ำหนักของน้ำจะเกือบเท่าหรือเรียกว่าเท่าก็ได้เมื่อเทียบกับปริมาตรต่อ
หน่วยที่นำมาวัด เช่นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
หากท่านตวงน้ำกลั่นบริสุทธิ์ปริมาตร
1 ml. มาชั่ง ท่านก็จะชั่งน้ำหนักของน้ำได้เท่ากับ 0.9999720 กรัม
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
ไม่ว่าท่านจะตวงน้ำมาปริมาตรเ่ท่าไร
น้ำหนักของน้ำที่ชั่งได้เป็นกรัมก็จะเท่ากับปริมาตรน้ำที่ท่านตวงมานั่นเอง
เช่นตวงน้ำมาปริมาตร 1 ml. ถ้านำไปชั่งก็จะชั่งน้ำหนักน้ำได้ 1 กรัม
หรือหากตวงน้ำมา 10 ml. ก็จะชั่งได้ 10 กรัม หรือหากตวงมา 100 ml.
ก็จะชั่งน้ำหนักน้ำนั้นได้ 100 กรัม เป็นต้น
แต่สิ่งที่น่าสังเกตุอีกอย่างคือที่อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว
น้ำจะเริ่มมีความหนาแน่นที่น้อยลง(ดูตารางครับ)
นั่นหมายถึงว่าน้ำจะเริ่มมีน้ำหนักน้อยลงเรื่อย ๆ เช่นน้ำที่มีความร้อน
100 องศาเซลเซียส(เกือบ ๆ จะกลายเป็นไอ) เมื่อตวงน้ำปริมาตร 1 ml.
มาชั่งน้ำหนัก จะหาน้ำหนักของน้ำได้เท่ากับ 0.9584000 กรัม
ในขณะเดียวกันจุดที่น่าสังเกตุอีกอย่างก็คือ
ที่อุณหภูมิติดลบน้ำจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง
ก็จะมีความหนาแน่นที่น้อยลงด้วยเช่นกันครับ(ตามกราฟด้านล่าง)
เพราะฉะนั้นแล้วน้ำแข็งไม่ว่าก้อนของมันจะเล็กขนาดอยู่ในแก้วน้ำ
หรือใหญ่จนเป็นภูเขาน้ำแข็ง น้ำแข็งก็ยังคงลอยน้ำได้เสมอ
ซึ่งในตอนที่เรียนระดับชั้นมัธยมหรือมหาวิทยาลัยแล้วเวลาคำนวนค่าใน
ข้อสอบก็มักจะอนุโลมให้ใช้
ตัวเลขความหนาแน่นของน้ำบริสุทธิ์ที่ 1.000
g/cm3 เมื่อใดก็ตามแต่ที่น้ำนั้นอยู่ในสถานะของเหลว(ไม่สนใจอุณหภูมิ)
วิธีการใช้งานพิโคโนมิเตอร์ที่ปรับค่าปริมาตรที่แน่นอนแล้วพร้อมด้วย
เทอร์โมมิเตอร์
สิ่งแรกที่ต้องทำคือให้ใช้พิโคโนมิเตอร์นี้ทั้งชุดลงตาชั่ง 3 ตำแหน่ง
(หรือมากกว่านี้ก็ได้) หน่วยเป็นกรัม แล้วจดบันทึกค่าที่ชั่งได้ไว้ก่อน
จากนั้นก็นำพิโคโนมิเตอร์ทั้งชุดนี้ลงจากตาชั่งแล้ว
นำเทอร์โมมิเตอร์ออกและนำฝาปิดตรงจงอยปาก(Spout) ออกด้วย
จากนั้นก็ให้เติมสารที่ต้องการวัดความหนาแน่นลงไปขวดพิโคโนมิเตอร์นี้
ให้เต็มจนถึงปากขวด
จากนั้นก็ให้ใส่เทอร์โมมิเตอร์ลงไปเหมือนเดิม
ซึ่งเมื่อท่านใส่เทอร์โมมิเตอร์ลงไป
เทอร์โมมิเตอร์นี้ก็จะไปแทนที่สารในขวด เพราะฉะนั้นแล้ว
สารในขวดก็จะล้นออกมาทั้งทางปากขวดเองและตรงจงอย(Spout)
ให้ท่านเช็ดสารนี้ด้วยกระดาษซับน้ำ ให้แห้งสนิทก่อน
จึงค่อยปิดฝาตรงจงอย(Spout)
แต่ทั้งนี้แล้วท่านต้องระวังด้วยครับ
ว่าต้องใส่เทอร์โมมิเตอร์ลงไปก่อนที่จะปิดฝาตรงจงอย(Spout)
ห้ามปิดฝาจงอยก่อนแล้วมาใส่เทอร์โมมิเตอร์ทีหลัง
เพราะว่าจะเป็นการทำที่ผิดวิธี และการวัดค่าจะไม่ตรงกับความเป็นจริง
จากนั้นก็นำทั้งชุดนี้ขึ้นชั่งบนตาชั่ง 3 ตำแหน่งอีกครั้งครับ
แล้วจดค่าที่ตาชั่งอ่านได้
จากนั้นก็แปรค่า
โดยให้จดบันทึกอุณหภูมิของสารในขวดพิโคโนมิเตอร์ที่อ่านได้ก่อนว่า
เป็นกี่องศาเซลเซียส
สำหรับเทอร์โมมิเตอร์ของขวดพิโคโนมิเตอร์นี้จะสามารถอ่านค่าอุณหภูมิ
ได้ในช่วง 10 ถึง 35 องศาเซลเซียส แต่ทั้งนี้แล้วขวดพิโคโนมิเตอร์ขวดนี้
Adjusted หรือปรับค่าอุณหภูมิมาตรฐานที่ 20 องศาเซลเซียสครับ
เพราะฉะนั้นแล้วสารที่นำมาหาค่าความหนาแน่นนี้
ถ้าวัดอุณหภูมิแล้วได้โดยประมาณ 20
องศาเซลเซียสก็จะทำให้การหาความหนาแน่นครั้งนี้แม่นยำมากขึ้น
นำค่าของกรัมที่ตาชั่ง ชั่งชุดของขวดพิโคโนมิเตอร์ที่มีสารบรรจุเต็ม
เป็นตัวตั้ง แล้ว
ลบด้วยชุดของขวดพิโคโนมิเตอร์นี้ที่ชั่งตอนที่ยังไม่ได้เติมสารลงไป
นำค่าที่อ่านได้มาเป็นตัวตั้งแล้วหารด้วยปริมาตรที่แน่นอนของ
ขวดพิโคโนมิเตอร์ขวดนี้
ซึ่งปริมาตรข้างขวดของขวดพิโคโนมิเตอร์นี้จะมีตัวเลขกำกับไว้แล้ว คือ
24.835 ml. ท่านก็จะได้ค่า
ความหนาแน่นของสารเคมีของสารที่ท่านทำการหาความหนาแน่นนี้
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ
เครื่องแก้วอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการตวง
หากเป็นเครื่องแก้วที่ได้มาตรฐานแล้ว ที่ภายนอกภาชนะนั้น
มันจะไม่เพียงระบุแค่ปริมาตรของเครื่องแก้วนั้น ๆ เพียงอย่างเดียว
แต่กลับจะระบุตัวเลขอุณหภูมิกำกับไปด้วย
อย่างเช่นพิโคโนมิเตอร์ในภาพข้างบนระบุปริมาตรที่ 25.294 ml.
ทั้งนี้ยังมีตัวเลข 20 องศาเซลเซียสกำกับด้วย
ซึ่งตรงจุดนี้ผู้ผลิตเครื่องแก้วจะหมายความถึงว่า
ผู้ผลิตเขาคาลิเบรตเครื่องแก้วใบนี้มาตอนอุณหภูมิของ
น้ำอยู่ที่ 20 องศาเซลเซียสเพื่อใช้หาปริมาตรขวดที่แน่นอน
ซึ่งตอนที่น้ำมีอุณหภูมิ 20
องศาเซลเซียสนี้จะหาปริมาตรที่แน่นอนของขวดใบนี้ที่ 25.294 ml. ครับ
เพราะผู้ผลิตเครื่องแก้วเขาทราบแล้วว่าที่อุณหภูมิไม่เท่ากัน
ความหนาแน่นของน้ำจะไม่เท่ากัน
ฉะนั้นแล้วถ้าผู้ใช้ต้องการตัวเลขที่ตรงมาก ๆ
แล้วเวลานำขวดพิโคโนมิเตอร์นี้ไปใช้งาน
ถ้าหากเป็นไปได้ก็ควรให้สารที่จะวัดนั้นมีอุณหภูมิขณะวัดอยู่ที่ 20
องศาเซลเซียสไปด้วยครับ ค่าที่วัดได้จึงจะตรงและถูกต้องที่สุด
ตัวอย่างเครื่องแก้ววิทยาศาสตร์อื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับการตวงสารซึ่งต้องการความแม่นยำและมักจะมีอุณหภูมิกำกับ
อยู่ด้วย ก็อาทิเช่น ไปเปต, บิวเรต, วอรูมเมติคฟลาส, กระบอกตวง ฯลฯ
แล้วอุณหภูมิของน้ำที่เปลี่ยนไป มีผลต่อสิ่งใด
สำหรับการใช้งานขวดพิโคโนมิเตอร์ เพื่อหาความหนาแน่นของสาร
อันนี้ตอบว่ามีผลในกรณีที่ผู้วัดต้องการตัวเลขที่มีความแม่นยำมาก ๆ
เช่นต้องการบันทึกอุณหภูมิในขณะหาความหนาแน่นของสารไปด้วย
เพื่อใช้อ้างอิงในรายงานบันทึก
หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจตนาต้องการวัดค่าความถ่วงจำเพาะของของสาร
(หา Specific Gravity ของสาร)
โดยปกติแล้ว ค่าความหนาแน่น(Density)
และค่าความถ่วงจำเพาะ(Specific Gravity) ของสารนั้น
จะใกล้เคียงกันมาก ๆ ครับ จนแทบจะถือได้ว่าใช้แทนกันได้
แต่ถึงอย่างไรตัวเลขของค่าความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะก็ไม่เท่า
กันพอดีเป๊ะครับ คือจะผิดไปสักเล็กน้อย(ตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป)
ค่าความถ่วงจำเพาะนี้ไม่มีหน่วยครับ
เพราะว่าสูตรของการหาค่าความถ่วงจำเพาะคือ
ความหนาแน่นของของเหลวชนิดนั้น/ความหนาแน่นของน้ำ
ส่วนสูตรการหาความหนาแน่นของของเหลวคือ
มวลของของเหลวนั้น/ปริมาตรของของเหลวนั้นที่ถูกน้ำแทนที่
เพราะฉะนั้นแล้วตามสมการข้างบน
เมื่อแทนค่าลงไปในสูตรหาค่าความถ่วงจำเพาะของสารแล้ว
หน่วยของค่าความถ่วงจำเพาะของสารก็จะหมดไป(คือไม่มีหน่วย)
เพราะว่าถูกตัดหน่วยทั้งตัวตั้งและตัวหารออกไปแล้ว
แต่โดยปกติแล้วความหนาแน่นของน้ำบริสุทธิ์มักจะคิดที่ค่า 1.000 เสมอ
(โดยเงื่อนไขผู้วัดไม่สนใจเรื่องอุณหภูิมิ)
เมื่อนำค่านี้ไปเป็นตัวหารจึงไม่มีผลอะไร
เพราะฉะนั้นจึงทำให้ค่า Density ไปเท่ากับค่า Specific Gravity
แต่ในความเป็นจริงถ้าเราสนใจในเรื่องของอุณหภูมิน้ำแล้ว
ถ้าหากว่าอุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนไปแล้วค่าความหนาแน่นของน้ำจะ
เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ(ตามตารางข้างบน) ซึ่งเมื่อนำมาหารตอนหา่ค่า
Specific Gravity แล้ว จึงควรจะทำให้ค่า Specific Gravity
เริ่มผิดไปจากค่า Density แต่อย่างไรก็ตามแต่จะผิดไปไม่มากนักครับ
ท่านลองสมมติค่าความหนาแน่นขึ้นมาัสักค่าแล้วลองหารด้วยความหนา
แน่นของน้ำที่อุณหภูมิต่าง ๆ (ท่านทดลองแทนค่าในกระดาษได้ครับ)
ด้วยเหตุนี้ขวดพิโคโนมิเตอร์ที่ออกแบบมามีเทอร์โมมิเตอร์เพื่อให้วัด
อุณหภูมิของสารในขวดได้ด้วย
จึงมีประโยชน์ในกรณีผู้ใช้เจตนาจะหาค่าความถ่วงจำเพาะของสารหรือ
ต้องการบันทึกค่าอุณหภูมิขณะัวัดไปด้วยในกรณีที่วัดค่าความหนา
แน่นอย่างเดียว
ขวดพิโคโนมิเตอร์ในลักษณนี้จะสามารถถอดเทอร์โมมิเตอร์ออกมาได้
ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดเติมสารลงไปในขวดได้ด้วย ส่วนขาด้านขวามือนั้น
จะมีจุกปิดอยู่ เวลาท่านเติมสารลงไปต้องถอดจุกปิดออกก่อน
เวลาที่เติมสารลงไปและเสียบเทอร์โมมิเตอร์ลงไปแล้ว
สารในขวดก็จะล้นออกมาทั้งทางจุดเติมสาร(จุดที่ปิดด้วยเทอร์โมมิเตอร์)
และที่ขาด้านขวานี้
ให้ท่านปิดฝาจุกที่ขานี้ให้เรียบร้อยก่อนเช็ดขวดพิโคโนมิเตอร์ให้แห้ง
สนิท แล้วนำไปชั่งตามวิธีการหาค่าความหนาแน่นด้วยขวดพิโคโนมิเตอร์
คุณสมบัติของพิโคโนมิเตอร์ที่ปรับค่าปริมาตรที่
แน่นอนแล้วพร้อมด้วยเทอร์โมมิเตอร์
- made of borosilicate glass 3.3 ทำด้วยแก้วโบโรซิริเคท 3.3 ซึ่งเป็นแก้วที่ทนต่อการขยายตัวของความร้อนและสารเคมีได้เป็น
- อย่างดี
- very good chemical resistance ทั้งนี้เป็นแก้วที่ทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้ด้วย
- minimal thermal expansion แก้วชนิดนี้แม้ว่าจะสัมผัสกับอุณหภูมิสูง ๆ แต่ก็มีการขยายตัวที่น้อยมาก ๆ
- high resistance to thermal shocks เป็นแก้วที่แตกได้แยก ถ้าสัมผัสกับอุณหภูิมิสูง ๆ เช่นอยู่ในอ่างน้ำความร้อน(water baht) หรือเข้าไปใน ตู้อบ(Oven) แต่ทั้งนี้แล้วจะต้องห้ามให้แก้วสัมผัสกับเปลวไฟโดยตรงครับ เช่นนำไปเผาตรง ๆ กับเปลวไฟ มิเช่นนั้นจะแตกได้
- lateral capillary tube with glass cap on ground joint ด้านข้างของขวดมีขา
- measuring range of thermometer: 10 to 35 °C สำหรับเทอร์โมมิเตอร์ที่อยู่ในขวดนั้นสามารถวัดอุณหภูมิได้ในช่วง 10 ถึง 35 องศาเซลเซียส
- mercury filling เป็นเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอท
- calibrated at 20 °C (”In”) showing the actual capacity ± 0.001 ml. The exact capacity is durably engraved into the glass ขวดพิโคโนมิเตอร์นี้คาลิเบรตปริมาตรที่แน่นอนที่ 20 องศาเซลเซียส ทั้งนี้แล้วปริมาตรของขวดที่แน่นอน(exact capacity) จะถูกจารไว้ที่ภายนอกขวด
ขวดพิโคโนมิเตอร์ที่ปรับค่าปริมาตรที่แน่นอนแล้วพร้อมด้วย
เทอร์โมมิเตอร์
จะมีตัวเลขปริมาตรที่แน่นอนของขวดจารไว้ที่ด้านนอกของขวดครับ
อย่างเช่นขวดที่เห็นด้านบนนี้จะมีปริมาตรในขวดที่แน่นอนเมื่อคาลิเบรต
ด้วยน้ำกลั่นบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส อยู่ที่ 25.294 ml. ครับ
ซึ่งตัวเลขนี้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ได้ทุกครั้งที่ใช้งานขวดเลยครับ
ในส่วนของภายในขวดนั้นเทอร์โมมิเตอร์ก็จะจุ่มอยู่ในของเหลวเพื่อทำ
การวัดอุณหภูมิได้(ตามรูปบน)
ผมมีคลิปด้านล่างเรื่องนิยามของค่า Density และ Specific Gravity
ท่านสามารถทบทวนได้ครับ ดูแล้วเข้าใจง่ายมาก ๆ
สนใจผลิตภัณฑ์ขวดพิโคโนมิเตอร์ที่ปรับค่าปริมาตรที่แน่นอนแล้วพร้อม
ด้วยเทอร์โมมิเตอร์ Adjusted pycnometer with thermometer
ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
สำหรับเครื่องชั่งซึ่งมีความละเอียดหลังจุดทศนิยม 3 ตำแหน่งจำเป็น
อย่างยิ่งสำหรับการใช้งานควบคู่กับขวดพิโคโนมิเตอร์ คลิกที่ภาพเพื่อ
ตรวจสอบรายละเอียดได้ครับ