ไมโครมิเตอร์วัดความหนา 0 - 25 มม., ไมโครมิเตอร์, Micrometer,
Micrometer Caliper
1,550.- สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ ครับ Tel.0868910596
สำหรับมิเตอร์วัดความหนาสิ่งของที่เป็นสากล และมักเป็นที่นิยมใช้กันทั่ว
โลกชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า ไมโครมิเตอร์, Micrometer Caliper จะมีหน้าตาเป็น
เช่นนี้ครับ ไมโครมิเตอร์รุ่นนี้ของผมวัดความหนาได้ในช่วง 0 - 25 มิลลิเมตร
ความละเอียด 0.01 มิลลิเมตร
ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์ และการเรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง
วิธีการใช้งานไม่ยากเลยครับ เพียงแค่หมุนในส่วนของ Spindle ให้กว้างออก
แล้วใส่วัตถุที่ต้องการวัดเข้าไป หลังจากนั้นก็หมุน Spindle ปิด แล้วอ่านค่าที่ได้
ในส่วนของตัวล็อกไม่ให้ปาก Spindle ขยับก็คือในส่วนของ
ที่นิ้วโป้งในภาพจับอยู่ จะขยับล็อกหรือไม่ให้ล็อกได้
ในส่วนของการจะเปิดหรือปิดปากของ Spindle นั้น ที่ถูกต้องที่ฝรั่งสอน ๆ กัน
มาคือ ท่านควรจะหมุนที่บริเวณปลายสุดครับ หากไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรจะไป
หมุนที่ thimble ครับ นอกจากปากของ Spindle เปิดห่างจากวัตถุที่จะวัดค่อน
ข้างมาก
ก็คือ หลังจากที่ท่านหมุนจนปาก Spindle ปิดสุดแล้ว ให้ท่านหมุนที่ปลายจับ
หมุนไปอีกสักรอบหรือสองรอบ เพื่อให้แน่ใจว่าปาก Spindle ปิดสนิทจริง
(เสียงจะดังแกร็ก ๆ ) แล้วล็อกไว้
ภาพด้านล่างนี้ผมของใส่กระดาษเข้าไปสักแผ่นเพื่อวัดครับ ไมโครมิเตอร์รุ่นนี้
ผมจะจำหน่ายได้มากตามโรงพิมพ์กระดาษครับ เพราะว่าเขานิยมใช้แบบนี้กัน
ค่อนข้างมาก แต่ว่ามันก็สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่จำเป็น
ต้องเป็นกระดาษเสมอไป
หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการวิธีการอ่านค่า Micrometer
ที่ถูกต้องถูกวิธีครับ
ไมโครมิเตอร์วัดความหนา 25 - 50 มม., ไมโครมิเตอร์,
Micrometer, Micrometer Caliper
ถ่ายเทียบทั้งสองรุ่น
มาชมคลิปการใช้งาน Micrometer และการอ่านค่าที่ถูกต้องครับ
ก็คือว่าตัวเลขที่จะอ่านค่าจะมีอยู่สองส่วนครับ คือในส่วนของแกนนอนและ
แกนตั้งตามรูป ในส่วนของแกนนอนแล้วจะมีสเกลบนและล่าง สเกลบนและล่างนี้
สามารถสลับอยู่บนล่างได้ครับ(พบเห็นในไมโครมิเตอร์ยี่ห้ออื่น) หน่วยที่จะอ่าน
ค่าจะเป็นหน่วยมิลลิเมตร ความละเอียด 0.5 มิลลิเมตร ยกตัวอย่างเช่นในสเกล
แกนนอนแถวบน แต่ละขีดจะหมายถึง 1 มิลลิเมตร คือหากท่านอ่านแถวบนของ
สเกลแกนนอนท่านก็ต้องอ่านเริ่มต้นที่ 0, 1, 2, 3, 4, 5......... ส่วนแถวล่างของ
สเกลบนก็จะเป็นครึ่งหนึ่งของสเกลบนนั่นเอง คือหากท่านอ่านแถวล่างของสเกล
นอนมันก็คือครึ่งหนึ่งของสเกลแถวบน เช่น 0.5, 1.5, 2.5, 3.5...........
ในส่วนสเกลแกนตั้งจะเป็นการอ่านค่าความละเอียดในทศนิยม 2 ตำแหน่ง
สรุปก็คือท่านจะต้องอ่านค่าในสเกลแกนนอนก่อนแล้วจึงมาอ่านค่าในสเกลแกน
ตั้งเพื่อสรุปความละเอียดในภายหลัง
มาชมวิธีการอ่านค่าสัก 1 - 2 ตัวอย่างครับ
ยกตัวอย่างก็เช่น หากท่านนำวัตถุชนิดหนึ่งมาวัดค่าความหนา แล้วท่านอ่าน
ความหนาได้ในรูปด้านล่างท่านควรจะสรุปว่าวัตถุที่วัดได้นี้ มีความหนากี่
มิลลิเมตร
วิธีการก็คือให้ท่านอ่านแกนนอนของสเกลก่อน คืออ่านสเกลของแกนนอน
ทั้งด้านบนและด้านล่าง ่ตรงนี้ท่านจะอ่านได้ประมาณ 10.5 เศษ ๆ
หลังจากนั้นแล้วให้ท่านไปมองที่สเกลของแกนตั้งตามรูปจะพบว่ามันอ่านได้
ประมาณ 33 เศษ ๆ(หน่วยเป็นหลังจุดทศนิยมสองตำแหน่งนะครับ) วิธีอ่านก็คือ
ให้มองไปที่เส้นแกนนอนมาตรฐาน(เส้นกลาง) ว่าไปชนกับเส้นแกนนอนของ
สเกลตั้งที่จุดไหน ซึ่งมันก็จะเป็นเลข 33 เศษ ๆ นั่นเอง
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำก็คือการคาดคะเน (Guess)ค่าสุดท้ายว่ามันควรจะเป็น
เท่าไร
ด้วยครับ สรุปความหนาของวัตถุชิ้นนี้ก็คือ 10.5 + 0.33 และเดาว่าค่าสุดท้าย
มันจะไม่เท่ากับเลข 33 พอดีเป๊ะ ๆ คือเดาว่ามันจะประมาณเลยเลข 33 มาอีกสัก
หน่อย เกือบ ๆ ครึ่ง
สรุปสุดท้ายก็คือมันอ่านค่าความหนาวัตถุนี้ได้เท่ากับ
10.5+0.33+0.004 = 10.834 มิลลิเมตร
อีกสักตัวอย่างครับ วัตถุุด้านล่างนี้ควรอย่างยิ่งที่จะอ่านค่าความหนาได้เท่ากับ
12.0 + 0.26 + 0.000 = 12.26 มิลลิเมตร ตรงนี้อยากให้ท่านสังเกตุว่าสเกล
แกนนอนด้านบนมันอ่านค่าได้ประมาณเลข 12 เศษ ๆ เพียงแต่ว่าสเกลแกนนอน
ด้านล่างมันยังไม่ถึง 12.5 คือมันเลยเลข 12 มาแต่ยังไม่ถึงครึ่ง ตรงนี้ท่านก็ต้อง
ข้ามสเกลแถวล่างแล้วไปอ่านสเกลแกนตั้งได้เลยครับ ซึ่ง
สเกลแกนตั้งนั้นขีดมันชนกับเลข 26 พอดีเป๊ะ จึงอ่านค่าได้เท่านี้ครับ
เพราะเหตุใดจึงเรียกมิเตอร์วัดความหนาแบบนี้ว่า Micrometer
คำตอบน่าจะอยู่ที่เหตุนี้ครับ คือตามที่กล่าวมาแล้วว่าทศนิยมตำแหน่งสุดท้าย
มันเกิดจากการคาดคะเน(หรือเดาเอานั่นเอง) ฉะนั้นแล้วความผิดพลาดหากอยู่
ในหน่วย มิลลิเมตร ก็จะอยู่ที่ 0.005 มม.
หรือความผิดพลาดในหน่วยเซ็นติเมตรก็คือ 0.0005 ซม.
หรือความผิดพลาดในหน่วยของเมตรก็คือ 0.000005 เมตร
0.000005 เมตร หากท่านทบทวนวิชาคณิตศาสาตร์ที่เคยเรียนกันมา มัน
สามารถจะเขียนตัวเลขนี้ให้อยู่ในภาษาคณิตศาสตร์ได้ว่า 5x10-6 เมตร
10-6 เมตร ซึ่งก็คือม้ันอยู่ในหน่วย ไมโครเมตร นั่นเองครับ
ฉะนั้นแล้ว คนจึงเรียกมิเตอร์วัดความหนาแบบนี้ว่า
ผมเจอคลิปอยู่คลิปหนึ่งเขาอธิบายความหมายของคำว่า Grammage
ฃหรือแำกรมของกระดาษได้ดีทีเดียวครับ
แกรมของกระดาษไม่ใช่ความหนาของกระดาษครับ
แต่มันคือความหนาแน่นของกระดาษ
ซึ่งมีท่านสอบถามผมมาพอสมควรเลยที่ซื้อมิเตอร์วัดความหนาของกระดาษไป
ว่ามันวัดได้กี่แกรม
ตรงนี้ผมอยากให้ท่านชมคำอธิบายของคำว่าแกรมของกระดาษครับ
ว่ามันนิยามถึงอะไร