รีแฟคโตมิเตอร์วัดความหวานช่วงของการวัด 0 - 20 เปอร์เซ็นต์,
รีแฟคโตมิเตอร์วัดความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นเครื่องจักร CNC
ถ่ายภาพหน้าจอจากของจริง
ท่านครับ รีแฟคโตมิเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้วัดความหวานนั้น มีหลายช่วง
ซึ่งแต่ละช่วงของการตรวจวัดก็มีความเหมาะสมในการตรวจวัดเฉพาะไป
แต่มีรีแฟคโตมิเตอร์วัดความหวานอยู่ช่วงหนึ่งที่สามารถวัดความหวานได้ในช่วง
0 - 20 เปอร์เซ็นต์ความหวาน(0 - 20 % Brix)
รีแฟคโตมิเตอร์รุ่นนี้นอกจากจะใช้วัดเปอร์เซ็นต์ความหวานตามปกติแล้ว
ยังสามารถใช้เป็นตัววัดความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นในเครื่องจักร CNC
ได้ด้วย ซึ่งฝรั่งเขานิยมใช้กัน
เพราะว่าจะอยู่ในช่วงความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นเครื่อง CNC ที่เขาต้องการ
คือให้อยู่ในช่วง 6 - 10
เปอร์เซ็นต์สำหรับความเข้มข้นในน้ำยาหล่อเย็นไหลเวียนในระบบ
ความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นนั้นมีผลต่อเครื่องจักรกระบวนการผลิต
และต้นทุนครับ ความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นที่มากเกินไป
หมายถึงการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หรือก็คือต้นทุนที่สูงขึ้น
หัวเชื้อน้ำยาหล่อเย็นเครื่องจักร CNC
ที่มีคุณภาพมีราคาจำหน่ายในต่างประเทศที่แำกลลอนละประมาณ 25 - 50
เหรียญ ใช้แล้วก็หมดไป
ในขณะที่รีแฟคโตมิเตอร์วัดน้ำยาหล่อเย็นมีมูลค่าที่เครื่องละประมาณ 100
เหรียญซึ่งใช้ได้อย่างไม่จำกัด
ฉะนั้นการตรวจวัดหรือหมั่นตรวจวัดความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นจะเป็นวิถีทาง
ที่ดีที่สุดในการลดต้นทุนได้ หากว่าเครื่องจักร CNC ในองค์กรมีจำนวนมาก
อีกประการหนึ่งหัวเชื้อน้ำยาแต่ละยี่ห้อ
ฝรั่งบอกว่าหากนำมาผสมน้ำในปริมาณที่เท่า ๆ กัน
ก็เป็นไปได้ว่าจะได้ความเข้มข้นหลังจากวัดแล้วไม่เท่ากันได้ เพราะฉะนั้นแล้ว
"ต้องวัดความเข้มข้นเสมอ"
ความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นที่น้อยจนเกินไป จะหมายถึง
คุณภาพของชิ้นงานที่ออกมาเช่น หน้าผิวงานไม่เรียบเป็นรอย
และความสึกหรอของเครื่องจักรและอะไหล่ เป็นต้น
- Measuring Range: 0-20% Brix
- Minimum Division: 0.1% Brix
- Accuracy: ±0.10%
- ATCCompensationRange: 10°C~30°C (50°F~86°F)
- Manual calibration with mini-screw driver provided
- Length: 200mm
- Weight: 165g
- Durable and built to last long**
- Uses ambient light only which means battery or power source is not required
- Heavy-duty and lightweight with its aluminum construction
- Easy to focus and calibrate
- Accurate testing results guaranteed
- Made with the highest and finest quality of aluminum & rubber that makes it lightweight
- Cushioned with soft & comfortable non-slip rubber
- Extremely easy-to-use and calibrate
ผมมีคลิปที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับการใช้รีแฟคโตมิเตอร์เพื่อใช้วัดความ
เข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นในเครื่องจักร CNC อยู่ 3
คลิปที่อยากจะให้ท่านชมครับ ผมดูแล้วเป็นคลิปที่มีประโยชน์มาก
และสามารถจะนำไปใช้ได้จริง หรือว่าหากท่านสงสัยว่ามันจะเป็นจริง
หรือวัดได้จริงอย่างในคลิปบอกหรือไม่ อันนี้พิสูจน์ได้ง่าย ๆ
โดยให้หาภาชนะที่เล็กกว่ามาทดลองก่อนได้ แทนที่จะไปใช้ภาชนะใหญ่ ๆ
ที่เห็นในคลิปเช่น ถังบรรจุน้ำยาหล่อเย็นเลย ซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ภาชนะเล็กที่ว่านี้ก็อาทิเช่น บีกเกอร์ หรือ กระบอกตวง
ที่มีขีดบอกปริมาตรที่แน่นอน
เพื่อทดสอบและพิสูจน์อีกครั้ง่โดยใช้วิธีที่ระบุในคลิป
ก่อนตัดสินใจนำวิธีนี้ไปใช้งานจริง ชมครับ
ผมสรุป ๆ เรื่องราวที่อยู่ในคลิปแรกครับ
ก็คือว่าฝรั่งเขาบอกว่า ระดับของความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นในเครื่องจักร
CNC ที่เหมาะสมที่อยู่ในระบบหมุนเวียน(และอยู่ในถังเก็บด้วย)
หากนำมาวัดด้วยรีแฟคโตมิเตอร์วัดความหวานรุ่นนี้(ช่วงของการวัด 0 - 20
เปอร์เซ็นต์)ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะวัดความเข้มข้นได้อยู่ในช่วง 6 - 10 เปอร์เซ็นต์
จึงจะเหมาะสมที่สุด
หากวัดได้ต่ำกว่านี้จะไม่เหมาะสมเพราะว่าความเข้มข้นจางเกินไป
การระบายความร้อนอาจจะทำได้ไม่ดีนัก
หรือหากท่านวัดได้แล้วได้ค่าสูงกว่านี้ก็อาจจะไม่เหมาะสมอีกเช่นกันเพราะว่า
จะเป็นการสิ้นเปลืองหัวเชื้อน้ำยาหล่อเย็น
คือในคลิปแรกเขาจะเริ่มต้นจากการผสมน้ำยาหล่อเย็นเครื่องจักร CNC
โดยที่เริ่มต้นจากที่ถังสะอาดและไม่มีอะไรเลย เขาใช้สัดส่วน 4 : 1
โดยให้ผสมไว้ 4 ถัง
สำหรับน้ำก็อกกับหัวเชื้อน้ำยาหล่อเย็น สำหรับแรกเริ่มถังใหม่
ในคลิปแนะนำให้เริ่มต้นโดยใช้น้ำก็อกธรรมดาครับ ยังไม่ควรใช้น้ำ
DI(Dionizedwater) หรือ RO(Reverse Osmosis water)
น้ำ DI จะเหมาะสมสำหรับที่จะเป็นการเติมส่วนที่ขาด(Top Up) เขาถึงจะใช้น้ำ
DI หรือ น้ำ RO
เิริ่มจากการตวงน้ำก็อกใส่ลงไปในถังก่อน
จากนั้นให้เทสารละลายที่ผสมลงไปในถังเก็บบรรจุ
ก็คือว่าหลังจากเทไปแล้วมันจะยังไม่เต็มถังบรรจุ
ก็ให้ท่านผสมสารละลายอีกความเข้มข้นหนึ่งเพื่อใช้ Top Off
หรือเทลงไปในถังบรรจุให้เต็ม
ปกติแล้วเขาจะไม่ใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำก็อกเติมเพื่อให้เต็มถัง
แต่จะนิยมใช้สารละลายหล่อเย็นความเข้มข้นต่ำเติมลงไปแทน ก็คือใช้น้ำ 1
ถัง(5 แกลลอน) แล้วเติมหัวเชื้อน้ำยาหล่อเย็นลงไป 7 ออนซ์ คนให้เข้ากัน
แล้วเทลงไปในถังบรรจุ
หลังจากนั้นให้ใช้รีแฟคโตมิเตอร์วัดเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็น
ในถังบรรจุดูว่าได้เท่าไร ในที่นี้เขาวัดได้ที่ประมาณเกือบ ๆ 8 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่เราคาดหวังไว้ ใช้งานได้
เปิดเดินเครื่อง CNC(เทส) ระบบหล่อเย็นไว้ประมาณ 30 นาที
เพื่อเป็นการเดินเครื่องและเป็นการผสมน้ำยาทั้งหมดในระบบให้เข้ากัน
ในคลิปแรกนี้มีคำถามที่น่าสนใจอีกเช่นกันว่า
ถ้าหากว่าถังบรรจุน้ำยาหล่อเย็น มีขนาดที่ผิดไปจากเดิม
หรือว่าหากว่าท่านต้องการเข้มข้นที่จำเพาะแล้ว
โดยที่ถังบรรจุน้ำยาหล่อเย็นของท่านก็มีขนาดเฉพาะไปด้วย
จะต้องเตรียมสารละลายหล่อเย็นกันอย่างไร ใส่หัวเชื้อน้ำยาเท่าไร
และใส่น้ำเท่าไร ในคลิปเขาเริ่มจากถังบรรจุถังหนึ่งที่มีขนาด 95 แกลลอน
ซึ่งต้องการจะเตรียมให้ถังบรรจุนี้มีความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นสุดท้ายที่
6 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งจะเป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดสำหรับชิ้นงานชนิดนี้ ที่ผลิตในเครื่องจักร
CNC นี้และทั้งนี้ก็จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุดด้วย
คำนวนในกระดาษคร่าว ๆ ก่อน ก็คือว่า 6 เปอร์เซ็นต์ถ้าเขียนเป็นเศษส่วน
ก็คือ 6/100 หรือ 0.06
ให้ท่่านบวกด้วยเลข 1 เข้าไป ก็จะได้ตัวเลข 1.06
จากนั้นก็นำขนาดของถังบรรจุ(95 แกลลอน) มาหารด้วย 1.06
95 / 1.06 ท่านก็จะได้ตัวเลข 89.62
ตัวเลขนี้ก็คือปริมาตรน้ำที่ต้องเติมลงไปในถังบรรจุใบนี้
นำขนาดของถังบรรจุ - ปริมาตรน้ำที่ต้องเติมลงไป 95 - 89.62 = 5.38
ซึ่งตัวเลขนี้คือตัวเลขปริมาตรของหัวเชื้อน้ำยาหล่อเย็นที่ต้องเติมลงไป
ก็คือว่า ให้ท่านผสมเหมือนเดิมทุกอย่างคือ ใน 1 ถังมี 5 แกลลอน(แบ่งเป็น 5
ขีด) ให้เติมน้ำ 4 แกลลอน แล้วเติมหัวเชื้อน้ำยาหล่อเย็นลงไป 1 แกลลอน
ทั้งนี้แล้วให้ท่านทำทั้งหมด 6 ถัง(เพราะว่าการผสมจะต้องผสมตามสูตรแบบนี้
ดูตามคลิปอีกทีหากไม่เข้าใจ) ยกเว้นถังสุดท้ายหรือถังที่หกให้ใช้น้ำ 4
แกลลอนแล้วเติมหัวเชื้อน้ำยาหล่อเย็นลงไป 0.38 แกลลอน
ผสมสารละลายทุกถังคนให้เข้ากัน
เทสารละลายทั้ง 6 ถัง ลงไปในถังบรรจุ แล้วคนให้เข้ากัน หลังจากนั้นก็ให้ท่าน
Top Off อีกครั้ง ก็ืคือนำน้ำมา 1 ถัง(5 แกลลอน) แล้วเติมหัวเชื้อน้ำยาลงไป 7
ออนซ์ คนให้เข้ากัน แล้วนำมาเทใส่ลงไปในถังบรรจุ
จากนั้นให้ท่านวัดความเข้มข้นสุดท้ายที่ได้ครับ
จะพบว่าอ่านด้วยรีแฟคโตมิเตอร์นี้แล้วจะอ่านได้ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์เศษ
สำหรับในคลิปที่สองและคลิปที่สามนั้น
เป็นการสอนให้แก้ไขความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นเครื่อง CNC
ที่อยู่ในถังบรรจุ
หากว่าความเข้มข้นของสารละลายน้ำยาหล่อเย็นที่อยู่ในถังบรรจุ
เข้มข้นมากเกินไป
อันเป็นเหตุมาจากการระเหยของน้ำออกไป(คลิปที่ 2)
หรือว่าเข้มข้นของสารละลายน้ำยาหล่อเย็นที่อยู่ในถังบรรจุน้อยเกิน
ตรงนี้ต้องทำการแก้ไขให้ความเข้มข้นของน้ำยาในถังบรรจุกลับมาอยู่ที่ระดับ
เดิมที่ยอมรับได้คือ 6 - 10 เปอร์เซ็นต์ ก็ให้ทำตามคลิปครับ
ทำไม่ยากแก้ไขไม่ยากครับ อาศัยความรู้ตามที่ผมได้อธิบายไปแล้ว
ดูตามคลิปก็ทำได้ครับ
ผมอธิบายแบบย่อ ๆ ครับสำหรับในคลิปที่สอง
หากว่าน้ำยาหล่อเย็นในถังของท่านอ่านค่าความเข้มข้นได้มากเกินกว่าที่ควรจะ
เป็น เช่นในคลิปอ่านได้ 16 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้จำเป็นต้องแก้ไขให้กลับมาอยู่ที่
6 - 10 เปอร์เซ็นต์
ตรงนี้แบ่งได้เป็นสองกรณีด้วยกันคือ
กรณีแรกหากความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นอ่านค่าได้ระหว่าง 11 - 20 %
วิธีแก้คือให้วิดน้ำออกจากถังน้ำยาหล่อเย็นครึ่งหนึ่ง
จากนั้นให้ทำสารละลายน้ำยาหล่อเย็นความเข้มข้น 1 %(ใช้หัวเชื้อน้ำยา 7
ออนซ์ ต่อ ปริมาณน้ำ DI 5 แกลลอน)
ขึ้นมาแล้วให้เติมลงไปในถังน้ำยาหล่อเย็นที่วิดออกมาจนเต็ม
หรือหากว่าน้ำยาหล่อเย็นในถัง CNC มีอยู่น้อยกว่าึครึ่งถังอยู่แล้ว
ตรงนี้ไม่ต้องวิดน้ำออกแต่อย่างใด ให้เติมน้ำยาหล่อเย็นความเข้มข้น 1 %
ลงไปให้เต็ํมได้เลย ฝรั่งเขาอธิบายว่าสาเหตุที่ไม่เติมน้ำเปล่า DI ลงไปในถังเลย
แต่กลับจะใช้สารละลายหล่อเย็นความเข้มข้นต่ำ ๆ
เติมลงไปแทนสาเหตุก็คือเพื่อให้โมเลกุลของสารละลายนั้นจับกันเข้ากันได้ดี
เพราะว่าสารละลายที่ถูกใช้ไปอย่างต่อเนื่องแล้ว Emulsifer
จะเริ่มเสื่อมคุณภาพลง
แต่ว่าสารที่ถูกผสมขึ้นมาใหม่แล้วจะมีคุณภาพน้ำยาที่ดีกว่า
เสมือนหนึ่งการเติมน้ำเปล่าลงไปในแก้วกาแฟที่เข้มข้น
กับการเลือกที่จะเทกาแฟที่เข้มข้นออกมาก่อนสักส่วนหนึ่งแล้วเติมกาแฟอ่อน ๆ
ลงไปผสม
อีกสาเหตุหนึ่งที่เมื่อใดที่มีการเติมส่วนที่ขาด Top Up ฝรั่งเขาแนะนำให้ใช้น้ำ
DI แทนที่จะเป็นน้ำก็อก
ก็เพราะว่าน้ำก็อกนั้นจัดเป็นน้ำกระด้างประเภทหนึ่งแต่เป็นน้ำกระด้างอย่างอ่อน
น้ำยาของเดิมที่อยู่ในถังนั้นเมื่อใช้ไปนาน ๆ
น้ำจะค่อยระเหยออกไปทิ้งไว้ซึ่งแร่ธาตุต่าง(Total Dissolve Solid)
ที่อยู่ในถังซึ่งก็จะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ เพราะว่าน้ำน้อยลงไปเรื่อย ๆ หากว่าเรา
Top Up โดยใช้น้ำก็อกแล้วก็จะเป็นการไปเพิ่มแร่ธาตุต่าง ๆ ให้เพิ่มขึ้น
ซึ่งมันจะไม่เป็นผลดีต่อน้ำยาหล่อเย็นใหม่ที่เติมลงไป
ความเข้มข้นสุดท้ายที่วัดได้นี้จะอยู่ใน 8 %(ดูตามในคลิป)
กรณีที่สอง คือว่าหากความเข้มข้นของสารละลายน้ำยาหล่อเย็นในถังเครื่อง
CNC อ่านได้ระหว่าง 20 - 30 % ตรงนี้ต้องการการแก้ไขอีกเช่นกันครับ
แต่จะต้องแก้ไขด้วยอีกวิธีหนึ่ง ก็คือว่า ให้ท่านวัดระดับที่สูงที่สุดของถังก่อน
ยกตัวอย่างเช่น หากว่าถังบรรจุน้ำยาหล่อเย็นในเครื่องจักร CNC
โดยปกติแล้วจะต้องเติมให้สูงจากก้นถัง 7 นิ้ว แต่เมื่อใช้ไปเรื่อย ๆ
แล้วปรากฎว่าสารละลายน้ำยาหล่อเย็นสูงน้อยกว่าระดับ 7 นิ้ว
โดยที่ความเข้มข้นอยู่ในระดับที่สูง ในคลิปยกตัวอย่างว่าวัดได้ 28 %
วิธีแก้ไขคือให้คูณระดับน้ำที่จุดสูงที่สุดด้วย 0.3
เช่นระดับน้ำที่ต้องเติมให้เติมถังอยู่ที่ 7 นิ้ว ก็คูณด้วย 0.3 จะได้เท่ากับ 2.1 นิ้ว
จากนั้นก็คือวิดน้ำยาหล่อเย็ฯในถังออกให้เหลือน้ำยาหล่อเย็นที่อยู่สูงขึ้นมาจาก
ก้นถัง 2.1 นิ้ว จากนั้นก็ให้ทำสาระลาย 1 %
แล้วเทสารละลายนี้ลงไปในถังให้เต็ม(ถึงขีด 7 นิ้ว) เป็นอันเสร็จสิ้น
** หมายเหตุ หากท่านไม่แน่ใจควรจะทดลองในภาชนะทดลองที่เล็ก ๆ
ดูก่อนครับ เช่น บีกเกอร์ กระบอกตวง ที่ได้มาตรฐาน(Class A)
และมีขีดบอกระดับที่แน่นอน
จะเป็นการประหยัดกว่าและเป็นการทดลองเพื่อพิสูจน์ทราบทฤษฎีนี้อีกด้วย
สนใจผลิตภัณฑ์ รีแฟคโตมิเตอร์วัดน้ำยาหล่อเย็นในเครื่องจักร CNC
ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596