เทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทสำหรับวัดอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในระหว่างวัน
สเกลเซลเซียส, Mercury Maximum Minimum Thermometer
Celcius Scale
เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด
ที่ความคิดแล้วน่าจะเหมาะสมที่สุดสำหรับคนไทย
ลักษณะการใช้งานในประเทศไทย และหน่วยวัดที่คนไทยคุ้นเคยกันดี
น่าจะเป็นรุ่นนี้ครับ
ก็คือหน่วยวัดมีแค่หน่วยเดียวคือ วัดในหน่วยองศาเซลเซียส
ซึ่งเป็นหน่วยวัดอุณหภูมิที่คนไทยทั่ว ๆ ไปคุ้นเคย
และใช้กันในทุกภาคส่วน ซึ่งหน่วยวัดอุณหภูมินี้
ในบางประเทศจะอ้างอิงในหน่วยอื่น เช่น หน่วยองศาฟาเรนไฮน์
ซึ่งใช้กันมากและเป็นปกติสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา
การมีหน่วยวัดเดียวหรือสเกลเดียวบนตัวเรือน
ทำให้การอ่านค่านั้นถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ซึ่งจะไม่ไปสับสนกับตัวเรือนในรูปแบบอื่นที่อาจจะมีหน่วยวัดในองศา
การวัดอื่นอยู่ด้วย
แต่ถ้าหากนำเทอร์โมมิเตอร์แบบเดียวกันนี้ แต่มีสเกลการวัดสองสเกล
เทียบกับสเกลการวัดสเกลเดียว ตามรูปด้านล่าง
ท่านจะเห็นได้ชัดว่า
เทอร์โมมิเตอร์ในภาพซ้ายมือจะสามารถอ่านค่าได้ง่ายกว่า
และมีความสับสนที่น้อยกว่า
เพราะว่ามีเพียงแค่สเกลเดียวหรือหน่วยเดียวคือหน่วยองศาเซลเซียส
ในขณะที่เทอร์โมมิเตอร์ในภาพขวามือแล้ว
จะมีทั้งสองหน่วยในตัวเรือนเดียวกัน
คือมีทั้งสเกลในหน่วยองศาฟาเรนไฮน์อยู่ข้าง ๆ
หน่วยองศาเซลเซียสด้วย ฉะนั้นแล้ว
หากผู้ใช้ยังไม่มีประสบการณ์ในการใช้งานเทอร์โมมิเตอร์แบบนี้มามาก
นัก หรือเป็นมือใหม่ หรือแม้กระทั่งผู้ใช้ที่ใช้งานจนชินแล้ว
แต่อยู่ในสภาวะที่ต้องรีบสรุปงาน จะอ่านผิดไปได้
เพราะว่าตัวเลขนั้นจะมีอยู่ทั้งทางด้านซ้ายมือและขวามือของปรอท
ก็คือว่าในภาพเทอร์โมมิเตอร์เรือนขวามือแล้ว
สเกลที่อยู่ทางด้านซ้ายมือของปรอทจะเป็นสเกลในหน่วยเซลเซียส
ในขณะที่สเกลที่อยู่ทางด้านขวามือของปรอทจะเป็นสเกลในหน่วย
องศาฟาเรนไฮน์ ฉะนั้น ถ้าคนไม่มีประสบการณ์
หรือแม้กระทั่งคนที่ใช้งานเป็นแล้วในสถานการณ์ที่รีบเร่ง เป็นไปได้มาก ๆ
ว่าจะบันทึกค่าผิดไปได้ เพราะสับสนในตัวเลข
การจัดบันทึกค่าที่อ่านได้ของเทอร์โมมิเตอร์แบบ Maximum
Minimum นี่สำคัญมากครับ
เพราะว่าหากจดบันทึกค่าอุณหภูมิที่อ่านได้ผิดไป
จะทำให้การสรุปรายงานผิดไปหมดได้
เช่นจดบันทึกค่าอุณหภูมิที่อ่านได้สลับกัน
ระหว่างอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสและอุณหภูมิในหน่วย
องศาฟาเรนไฮน์
ภาพด้านล่างเป็นการติดตั้งในสถานที่จริง เป็นโรงงานเก็บ
ผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นเนื้อหมู เนื้อวัว เพื่อการจำหน่ายขายส่ง สถานที่ติดเป็น
ห้องเก็บผลิตภัณฑ์ภายนอก เทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้มีข้อดีคือสามารถวัดค่าที่
เย็นจัดได้ถึงติดลบ 40 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว จึงทำให้สามารถติดตั้ง
ได้อย่างปกติไร้ปัญหา ทั้งนี้ยังสามารถอ่านค่าได้ดี การจดบันทึกทำทุก
ชั่วโมงเพื่อให้ทราบค่าความคงที่ของอุณหภูมิภายนอกก่อนเข้าไปในห้อง
เก็บว่ามีความผันผวนมากจนเกินไปจากการเปิดเข้า เปิดออกของพนักงาน
หรือผู้ปฎิบัติงานที่จำเป็นต้องเปิดเข้า - ออก ห้องค่อนข้างบ่อย
สนใจผลิตภัณฑ์ เทอร์โมมิเตอร์แบบปรอท Maximum Minimum
ในหน่วยองศาเซลเซียส ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596