ชุดน้ำยาทดสอบสารเมลามีนตกค้างอย่างง่าย
Screening Test For Melamine
เมลามีน
เมลามีน คือพลาสติกชนิดหนึ่ง มีสารประกอบฟอร์มาลดีไฮต์เป็นส่วนประกอบ
ลักษณะเป็นผงสีขาวมีสูตรโครงสร้าง C3H6N6
มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงถึง 66%
เมลามีนจึงถือว่าเป็นโปรตีนเทียมชนิดหนึ่ง
ความเป็นพิษ
- เกิดการระคายเคืองเมื่อสูดดม ทำให้ตาและผิวหนังอักเสบ
- เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ ระบบสืบพันธุ์ถูกทำลาย
- เกิดนิ่วที่ท่อปัสสาวะและไต เกิดมะเร็งที่ท่อปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก
- ในปลาไร้เกล็ดจะเกิดผิวสีดำ ตับไตขยายใหญ่และตาย
- ในกุ้งจะหัวโต ท้องบวม ท่อลำไส้และท่อสืบพันธุ์โป่งพอง
- ในไก่ เนื้ออุ้งเท้าอักเสบเป็นแผลและเน่า ไต และม้ามบวมขยายใหญ่
- ในสุกรจะกินน้ำมาก อาเจียน ผอมซูบเฉียบพลัน ปอดบวม มีน้ำที่ปอด ขาเจ็บ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นรุนแรง และมีเกล็ดสีขาวที่พื้นคอก
ปัญหา
การเจือปนสารเมลามีนในอาหารและผลิตภัณฑ์นม
อาจเป็นความตั้งใจเพื่อให้อาหารและผลิตภัณฑ์นมนั้นมีปริมาณโปรตีนสูงขึ้น
เนื่องจากวิธีวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนในอาหารเป็นการวัดหาปริมาณไนโตรเจนแล้ว
คำนวณกลับเป็นปริมาณโปรตีน
ฉะนั้นเมลามีนซึ่งมีไนโตรเจนมากจึงให้ผลบวกเทียม
และเชื่อว่าเมลามีนที่นำมาผสมในอาหารและผลิตภัณฑ์นมนั้นน่าจะเป็นเกรดต่ำ
ราคาถูก มีการปนเปื้อน อนุพันธุ์อื่นของเมลามีน เช่น กรดไซยานูริกมาด้วย
ซึ่งหากร่างกายของคนและสัตว์ได้รับสารทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน
จะทำให้เกิดผลึกของสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำและเป็นพิษต่อเซลล์ท่อไตเป็น
สาเหตุทำให้คนและสัตว์ตาย
ในชุดน้ำยาทดสอบจะประกอบไปด้วยน้ำยามาตรฐาน 3 ขวดด้วยกัน
และคู่มือวิธีการใช้งานสินค้า
อ่านวิธีใช้งานประกอบก่อนสักรอบครับ
จะเข้าใจและใช้งานสินค้าได้ง่ายขึ้น
น้ำยามาตรฐานที่ให้มาจะมีสามขวดด้วยกันคือ
สารละลายเมลามีนมาตรฐาน 0.1 % (ขวดซ้ายมือ) น้ำกลั่นธรรมดา
(ขวดขวามือ) และสารละลายทดสอบเมลามีนหรือสารละลายซี
(ขวดขวามือ)
แต่สิ่งที่ท่านจำเป็นต้องมีเพิ่มเติมก็คือ จานสี 1 จาน
และหลอดหยดประมาณ 3 อัน หรือถ้าจะให้ดีขึ้นเตรียมน้ำกลั่นบริสุทธิ์อีก
1 ขวด(หาซื้อได้ที่ร้านขายแบตเตอรี่) และอาจจะต้องมีไปเปตอีก 1 อัน
วิธีทำก็คือให้ท่านทำตามขั้นตอนในคู่มือ
สองหลุมในจานสีนี้คือผลที่ได้จากการทำตามในข้อ 1, 2, 4, 5
ก็คือจะเป็นสีมาตรฐานของสารละลายที่ต้องได้
ถ้าไม่ได้สีตามนี้ต้องทำใหม่ เช่น ซื้อน้ำกลั่นขวดใหม่ยี่ห้อใหม่มา
หรือเปลี่ยนน้ำยาทดสอบขวดใหม่
คือในจานที่เป็นสีเหลืองคือน้ำกลั่นที่นำมาหยดสารละลายซีซึ่งสีที่ำได้
จำเป็นต้องเป็นสีเหลืองตามรูป
เพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องของน้ำกลั่นว่าเป็นน้ำที่บริสุทธิ์จริง
ไม่มีเมลามีนเจือปนอยู่
เพราะฉะนั้นเวลาหยดสารละลายทดสอบเมลามีนลงไปผลที่ได้จึงต้องเป็น
ลบ(Negative) เสมอ
เวลาที่ท่านจะทำจริง ๆ ต้องซื้อน้ำกลั่นมา 1 ขวด แล้วดูดขึ้นมา 10
หยดแล้วหยดด้วยสารละลายซี ซึ่งจะต้องได้สีเหลือง
แปลว่าถูกต้องน้ำกลั่นขวดนี้บริสุทธิ์ไม่มีเมลามีนเจือปนใช้งานได้
สามารถนำไปเจือจางกับสารตัวอย่างที่ท่านจะทดสอบได้
แต่ถ้าหากหยดสารละลายน้ำยาซีแล้วไม่ได้สีเหลืองตามที่ปรากฎในภาพ
แบบนี้แปลว่าใช้ไม่ได้มีสารอื่นเจือปน เช่นขึ้นสีแดงหรือสีอื่น
ท่านต้องหาน้ำกลั่นขวดใหม่หรือยี่ห้อใหม่มา
แล้วหยดทดสอบจนได้สีเหลืองก่อน
ส่วนสารละลายสีแดงที่อยู่ในอีกหลุมจะเป็นสีที่เกิดจากการหยด
สารละลายน้ำยาซี ลงไปในสารละลายเมลามีนมาตรฐานที่เตรียมไว้
0.1 %(หรือ 1 ppm)
ซึ่งสารละลายเมลามีนมาตรฐานที่เตรียมไว้เฉพาะนี้หากท่าน
หยดลงไปด้วยสารละลายน้ำยาซี
จะเกิดเป็นสีแดงลักษณะนี้ ก็คือสีนี้มีไว้เพื่อเปรียบเทียบนั่นเอง
ถ้าไม่ได้สีแดงลักษณะนี้แปลว่าน้ำยาที่ทดสอบใช้ไม่ได้
เช่นสารละลายเมลามีนมาตรฐานเสื่อม
หรือน้ำยาทดสอบสารละลายซีเสื่อมคุณภาพ
ตรงนี้ต้องเปลี่ยนน้ำยาขวดใหม่
เวลาที่ท่านจะทดสอบกับสารละลายที่สงสัยและทำจริง
ท่านก็จะต้องดำเนินการตามหัวข้อที่ 3 แล้วหยดสารละลายซีลงไป
(ตามหัวข้อที่ 4) จากนั้นดูว่าสีที่ได้เป็นสีอะไร
ถ้าสีที่ได้เป็นไปตามจานหลุมสีมาตรฐานสีเหลืองก็จบสารที่ทดสอบนี้ไม่มี
เมลามีนปนเปื้อน
แต่ถ้าหากสีที่ได้เป็นสีแดงหรือแดงกว่าจานหลุมสีมาตรฐาน(จานสีแดง)
ก็แปลว่าสารที่ท่านนำมาทดสอบมีเมลามีนปนเปื้อน
ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นท่านจะต้องทำการทดสอบต่อตามหัวข้อที่ 7
คือหยดสารละลายที่ท่านต้องการทดสอบลงไปในจานหลุม 1 หยด
แล้วหยดน้ำกลั่นลงไป 9 หยดผสมคนให้เข้ากัน
(ทำ Serial Dilution 1 ครั้ง)
จากนั้นหยดสารละลายซีลงไป 1-2 หยดแล้วดูสี
ถ้าสีที่ได้ยังเป็นสีแดงอยู่อันนี้ต้องส่งวิเคราะห์แลปใหญ่ครับ
เพราะว่าสารที่ท่านนำมาทดสอบมีเมลามีนปนเปื้อนอยู่มากกว่า 0.1 ppm
เพราะว่าเราทำการ Dilute 10 เท่าแล้ว มันยังปรากฎสีอยู่
ถ้าตัวอย่างที่ท่านต้องการตรวจสอบเป็นผงที่ละลายน้ำได้
ก็ให้ดำเนินการทำตามหัวข้อ "หมายเหตุ" ได้ครับ
ข้อควรระวังการแปลผลสีที่อ่านได้
ถ้าหากมีผ้าปูโต๊ะอยู่ผืนหนึ่งซึ่งมีลวดลายดอกไม้อยู่บนผ้าดังรูปนี้
สารที่มีเมลามีนตกค้างหากทดสอบด้วยน้ำยาซีแล้วจะต้องได้สีที่เรียกว่า
สีแดงลูกเชอรี่ หรือก็คือดอกไม้ดอกนี้
แต่ถ้าหากว่าท่านทดสอบสารที่ท่านนำมาทดสอบด้วยสารละลายน้ำยาซี
แล้วได้สีของสารที่ท่านนำมาทดสอบเป็นสีดอกไม้ดังรูปด้านล่าง
อันนี้ผ่านครับ เรียกว่ามีแคลเซียม(ส่วนใหญ่เป็นสารละลายน้ำนม)
แต่ถ้าหากว่าท่านทดสอบสารละลาย(น้ำนม)
ด้วยสารละลายซีแล้วได้สีเป็นดอกไม้ดอกนี้
อันนี้จะเป็นแคลเซียมที่ผสมกับเมลามีนครับ ต้องวิเคราะห์ต่อ
สนใจผลิตภัณฑ์ชุดน้ำยาทดสอบเมลามีนปนเปื้อนอย่างง่าย
ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
ทบทวน วิธีการทำ Serial Dilution ชมคลิปได้ที่นี่ครับ