เทอร์โมมิเตอร์แบบเข็มวัดแสตนเลสก้านวัดยาว 12 นิ้ว
หน่วยวัดองศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮน์ Stainless Steel
Thermometer Max 300 Both Celsius and fahrenheit unit.
"ฟาเรนไฮน์" เป็นชื่อของอีกหน่วยหนึ่งในการวัดอุณหภูมิ
ชื่อนี้มาจากนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันคนหนึ่งที่ชื่อ ว่า
Daniel Gabriel Fahrenheit
"เซลเซียส" ก็เป็นชื่อของอีกหน่วยหนึ่งในการวัดอุณหภูมิเช่นกัน
ชื่อนี้มาจากนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนคนหนึ่งที่ชื่อ ว่า
Anders Celsius
บนโลกใบนี้ไม่ได้หมายความว่าประเทศทุปประเทศบนโลกใช้หน่วย
วัดอุณหภูมิเพียงหน่วยเดียว หน่วยวัดอุณหภูมิ เซลเซียส จะใช้มากกว่า
ส่วนบางประเทศเช่นกันนิยมวัดอุณหภูมิความร้อนใน
หน่วยองศาฟาเรนไฮน์ เช่นสหรัฐอเมริกา, หมู่เกาะเคย์แมน, บาฮามัส,
เบอริส ใช้องศาฟาเรนไฮน์ในการวัดอุณหภูมิ
เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อมิให้เกิดข้อผิดพลาดจึงจำเป็นต้องมีสมการ
เพื่อการแปลงค่าจากหน่วยองศาเซลเซียสไปเป็นหน่วยองศาฟาเรนไฮน์
ซึ่งก็จะเป็นไปตามสมการด้านล่างนี้
หรือ
โดยที่ในสมการนี้ C คือหน่วยองศาเซลเซียส ส่วน F
ในสมการนี้คือหน่วยองศาฟาเรนไฮน์
Temperature กับ Heat ต่างกันครับ มีความหมายและคำนิยามที่ต่างกัน
Temperature(อุณหภูมิ) นิยามเป็นภาษาอังกฤษว่า
"Average Kinetic energy of atoms/molecules" หรือ
เป็นพลังงานจลน์เฉลี่ยของอะตอมหรือโมเลกุล
Heat(ความร้อน) นิยามเป็นภาษาอังกฤษว่า "Thermal energy
transfer or Direction determined by temperature" หรือ
เป็นการเปลี่ยนแปลงของพลังงานความร้อน
หรือทิศทางของอุณหภูมิ
สิ่งที่พึงสังเกตุ
ให้ท่านลองกลับมาดูที่หน้าปัทม์ของเทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้ที่มีทั้งหน่วย
องศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮน์ทั้งสองสเกลในหน้าปัทม์
เดียวกัน
บนหน้าปัทม์นี้ทางผู้ผลิตให้ข้อมูลมาว่า
เทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้สามารถวัดอุณหภูมิได้ในช่วง 0 - 300
องศาเซลเซียส โดยมีความละเอียดที่ 5 องศาเซลเซียส
และสามารถวัดอุณหภูมิได้ในช่วง 50 - 550 องศาฟาเรนไฮน์
โดยมีความละเอียดที่ 5 องศาฟาเรนไฮน์
ถ้าจะถามว่าคำกล่าวนี้ถูกต้องไหม
คำตอบคือถ้ามองไปตามหน้าปัทม์ก็ย่อมจะถูกต้อง
แต่ว่าในทางหลักวิทยาศาสตร์แล้ว
ข้อมูลที่ทางผู้ผลิตให้มานี้อาจจะยังไม่ถูกต้องทั้งหมดเสียทีเดียว
อันนี้เป็นเพราะด้วยเหตุผลว่า
หน่วยของอุณหภูมิทั้งสองนั้นสามารถเทียบหรือคำนวนเปลี่ยนกลับ
ไปกลับมาได้ ฉะนั้นแล้ว ความละเอียดของอุณหภูมิ 5
องศาเซลเซียส และความละเอียดของอุณหภูมิ 5
องศาฟาเรนไฮน์นั้น
หากนำมาตรวจสอบกลับด้วยสูตรการคำนวนแล้วจะพบว่า อุณหภูมิ
5 องศาฟาเรนไฮน์ จะมีความละเอียดมากกว่า 5 องศาเซลเซียส
ยกตัวอย่างเช่น ที่อุณหภูมิ 32 องศาฟาเรนไฮน์
จากการคำนวนแล้วจะพบว่าหากแปลงเป็นองศาเซลเซียสแล้ว
จะได้เท่ากับ 0 องศาเซลเซียส แต่หากจะถามว่า
ที่อุณหภูมิ 33 องศาฟาเรนไฮน์แล้วจะวัดได้เท่าไรในหน่วยเซลเซียส
คำตอบคือ 0.55555555556 ก็คือยังไม่ถึง 1 องศาเซลเซียสด้วยซ้ำ
ฉะนั้นแล้วอุณหภูมิ 5
องศาฟาเรนไฮน์หากแปลงเป็นหน่วยเซลเซียสก็ได้ไม่ถึง 5
องศาเซลเซียส คือ 5 องศาฟาเรนไฮน์ จะได้เท่ากับ
2.7777777778 องศาเซลเซียส
หน้าปัทม์นี้หากอ่านอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสจะอ่านได้
ประมาณ 20 กว่า ๆ องศาเซลเซียส
แต่หากว่าไปดูในสเกลขององศาฟาเรนไฮน์แล้วจะอ่านได้ประมาณ
80 องศาฟาเรนไฮน์
หรือหากแปลงเป็นองศาเซลเซียสแล้วจะได้ประมาณ
27 องศาเซลเซียส
สรุปแล้วเทอร์โมมิเตอร์ที่มีสเกลองศาฟาเรนไฮน์ด้วย
จะละเอียดกว่าเทอร์โมมิเตอร์ที่มีเฉพาะหน่วยองศาเซลเซียสอย่าง
เดียว หรือหากท่านมีเทอร์โมมิเตอร์ที่มีทั้งสองสเกลในอันเดียวกัน
หากต้องการวัดให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดกว่า
ให้ดูให้วัดในหน่วยขององศาฟาเรนไฮน์ก่อน
จดบันทึกแล้วจึงนำมาแปลงเป็นหน่วยองศาเซลเซียสอีกครั้งได้ครับ
ท่านก็จะได้ข้อมูลที่ละเอียดขึ้น
สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596