ชุดแก้วหมักน้ำตาลในปัสสาวะ, Einhorn fermentation saccharometer
DESCRIPTION (BRIEF)Fermentation saccharometers were
used to estimate the amount of sugar in urine and diagnose
diabetes. A small amount of yeast was mixed with 10cc of urine
and then poured into the bulb of the saccharometer. The
apparatus was then tilted slightly to allow the liquid to flow
into the graduated tube and force the air out. If sugar was
present in the urine, alcoholic fermentation would begin. The
carbon dioxide gas created in the fermenting process would
rise to the top of the closed tube and force the level of liquid
down. The changed level of the liquid corresponded to the
approximate quantity of sugar present. The percentage of
sugar could be read off the graduated scale on the closed tube
side of the apparatus.This device was developed by Dr. Max
Einhorn, a gastroenterologist.
ขนาด 15 ml. ชนิดถอดประกอบ
ขนาด 15 ml. ชนิดเชื่อมติด
ขนาด 10 ml.
อีกรุ่นของขนาด 10 ml.
ชุดแก้วหมักน้ำตาลในปัสสาวะขนาด 25 ml. ชนิดเชื่อมติด, Einhorn fermentation
saccharometer size 25 ml. Connected
สนใจสินค้า(งานสั่งผลิตตามคำสั่ง) ผมอนันต์ครับ
Tel.0868910596 มีสองขนาดให้เลือกคือขนาด 10 ml.
และขนาด 15 ml.
คลิปวีดีโอวิธีการใช้งาน
อธิบาย
ชุดแก้วหมักลักษณะนี้ออกแบบมาเป็นอุปกรณ์เพื่อใช้ตรวจวัดปริมาณ
ของสารที่เราต้องการตรวจวััดที่อยู่ในของเหลวที่เป็นสารตั้งต้น
ก็คือสิ่งที่จะใส่เข้าไปในอุปกรณ์ชุดหมักนี้จะต้องเป็นของเหลวเท่านั้น
โดยมีอีกเงื่อนไขก็คือจะมีสารบางอย่างที่สามารถทำปฎิกิริยากับสารที่เรา
ต้องการตรวจวัดที่อยู่ในสารตั้งต้น
คลิปที่สาธิตในวีดีโอนี้ เจตนาจะทำให้เกิดข้อผิดพลาด
ทั้งนี้เจตนาเพื่อให้ผู้ดูวีดีโอนี้เข้าใจกระบวนการได้ดีขึ้น
หรือมองเห็นภาพได้ชัดขึ้น ในคลิปวีดีโอนี้ ผู้สาธิตใช้ชุดแก้วหมักขนาด
15 ml. ซึ่งเป็นลักษณะชุดหมักที่ผมลงภาพไว้ข้างบน
ผู้สาธิตเตรียมของเหลวสารตั้งต้นที่ประกอบไปด้วยสาร A, B, C, D
อยู่ในสารตั้งต้นนี้ เจตนาของผู้สาธิตต้องการจะตรวจวัดสาร A
ว่ามีปริมาณเท่าไรที่อยู่ในสารตั้งต้นที่นำมาสาธิตในชุดแก้วหมักนี้
ทั้งนี้มีสารเคมีอีกตัวที่จะสามารถทำปฎิกิริยากับสาร A
นี้ได้โดยที่จะไม่มีปฎิกิริยา หรือไปทำปฎิกิริยากับสารอื่น ๆ(สาร B, C, D)
เิริ่มต้นผู้สาธิตรินสารตั้งต้นลงไปในชุดแก้วหมักนี้ ทีละน้อยก่อน
จากนั้นก็ตะแคงชุดแก้วนี้ เพื่อไล่อากาศ
จากนั้นจึงรินสารตั้งต้นลงไปอีกทำลักษณะนี้อีกครั้ง
จนกระทั่งสารตั้งต้นเต็มพอดีกับหลอดแก้วด้านบน
จากนั้นแล้วผู้สาธิต ซึ่งได้เตรียมสารเคมีที่จะนำมาทำปฎิกิริยากับสาร
A ที่อยู่ในของเหลวสารตั้งต้นได้ รินเข้าไปในชุดแก้วหมักนี้
จากนั้นให้รีบนำฝ่ามือปิดรูอากาศแล้วคว่ำชุดแก้วหมักนี้ทันที
ตรงนี้สำคัญมากคือต้องปิดรูอากาศให้สนิท ห้ามให้อากาศเข้า
ไม่เช่นนั้นแล้วการทดลองจะผิดพลาดมี Error เกิดขึ้น
จากนั้นแล้ววางชุดแก้วหมักลงตามปกติ
แล้วรอให้ปฎิกิริยาในของเหลวดำเนินไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งยุติ
จะสังเกตุว่าฟองจะค่อย ๆ ลดระดับลงไปเรื่อย ๆ
ในความเป็นจริงแล้ว เราจะต้องทราบก่อนว่า จะวัดอยู่ในช่วงระดับใด
ก็คือจะวัดที่กี่ ml. นั่นเอง เช่น ชุดแก้วหมักนี้จะวัดได้ในช่วง 0 - 15 ml.
เพราะฉะนั้นแล้ว ปฎิกิริยาหลังสิ้นสุดแล้วจึงไม่ควรจะเกินไปจากขีด 15
ml. จึงจะสามารถแปรความหมายได้ แต่ตามที่ผมกล่าวว่า
คลิปนี้มีเจตนาเพื่อให้การทดลองเกิดข้อผิดพลาด
ก็คือผมใส่สารสาร A ไว้มากจนเกินระดัับปกติที่ทุกครั้งจะวัด การที่ใส่สาร
A ลงไปมากกว่าปกติ เมื่อเวลาที่สาร A
ทำปฎิกิริยากับสารเคมีที่ใส่เข้าไปแล้ว ปฎิกิริยาจึงเกิดรุนแรง
เกิดนานและเกิดมากกว่าปกติที่ทุก ๆ ครั้งวัด
จึงทำให้ระดับของเหลวลดระดับต่ำลงเกินกว่าขีดเลข 15 ml.
เจตนาเพื่อให้ผู้ดูคลิปนี้เข้าใจได้ดีขึ้นครับ
ว่าในกรณีเช่นนี้หากต้องการจะวััดปฎิกิิริยานี้ให้ได้
ก็คงจำเป็นจะต้องไปใช้ชุดแก้วหมักที่ใหญ่ขึ้น
คือมีขีดมากขึ้นและขนาดใหญ่ขึ้น เช่นขนาด 25, 30, 50 ml. เป็นต้น
นััยที่สองหากว่าเรานำชุดการทดลองนี้ไปใช้กับชุดแก้วหมักขนาด
10 ml. แล้ว อะไรจะเกิดขึ้น คำตอบคือจะตรวจวัดไม่ได้
และสารจะพุ่งออกมาจากทางรูใส่สารเคมีตั้งแต่แรกที่ใส่สารที่ทำปฎิกิริยา
ไปแล้ว
นัยสุดท้าย หากว่าปฎิกิริยาเกิดจนสิ้นสุดแล้ว
ระดับของเหลวที่อยู่ในหลอดแก้วนิ่งแล้วไม่เกิดฟองแล้ว
ระดับของของเหลวไปสิ้นสุดที่ระดับ 0 - 15 ml.
อันนี้สามารถแปลความหมายได้ครับ เช่นว่าระดับของเหลวไปสิ้นสุดที่ขีด
12 ml. อันนี้แปลความหมายได้ว่า มีสาร A อยู่ในสารตั้งต้นนี้ปริมาณ
12 ml. จากสารตั้งต้นที่ใส่เข้าไปในชุดแก้วหมักนี้นั่นเอง
(ก่อนเติมสารที่จะทำปฎิกิริยา)
เช่นหากเติมสารตั้งต้นลงไปในชุดแก้วหมักนี้ 50 ml.
หลังจากเกิดปฎิกิริยาสิ้นสุดแล้ว วัดได้ 12 ml.
อันนี้ก็สรุปได้ว่าในสารตั้งต้น 50 ml. นี้มีสาร A อยู่ 12 ml. ครับ
เพราะว่าสารที่ทำปฎิกิริยานี้ทำปฎิกิริยากับสาร A อย่างเดียว
ไม่ทำปฎิกิริยากับสารอื่น
การที่มีสารหายไปจากหลอดทดลองก็จึงเป็นสาร A
ที่ถูกทำปฎิกิริยาจนหมดไป
ชุดแก้วหมักลักษณะนี้ ถูกคิดค้นมาร้อยกว่าปีแล้ว ประมาณปี
ค.ศ.1900 โดยนายแพทย์ชาวอเมริกัน
(เป็นแพทย์ระบบทางเดินอาหารและลำไส้)
ชื่อนายแพทย์ Max Einhorn
เจตนาที่คิดค้นชุดแก้วหมักลัักษณะนี้ก็คือ
จุดประสงค์เพื่อวัดน้ำตาลในปัสสาวะ(โดยประมาณ)
เพื่อวิเคราะห์ภาวะโรคเบาหวาน
แต่ว่าชุดแก้วหมักที่จะใช้หมักน้ำตาลในปัสสาวะจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก
ตามภาพโดยประมาณขนาด 5 ml.
ก็จะใช้ขั้นตอนตามที่กล่าวมาแล้ว
แ่ต่จะใส่ยีสต์ลงไปเล็กน้อยเพื่อให้ทำปฎิกิริยากับน้ำตาลในปัสสาวะแทน
ซึ่งถ้าหากว่าในปัสสาวะมีปริมาณน้ำตาลอยู่แล้ว ปฎิกิริยาการหมัก
(การเกิดแอลกอฮอล์) ก็จะดำเนินไป
ก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ก็จะเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดอากาศในส่วนของแท่ง
แก้วปลายปิดและดันให้น้ำปัสสาวะลดต่ำลงในแท่งแก้วปลายปิด
การลดลงของระดับน้ำปัสสาวะในแท่งแก้วปลายปิด
จะไปสัมพันธ์กับเปอร์เซ็นต์ของน้ำตาลที่อยู่ในปัสสาวะ
ตรงนี้ก็จะทำให้สามารถวัดระดับน้ำตาลหรือประมาณค่าน้ำตาลในปัสสาวะ
และสามารถบ่งบอกถึงระดับเบาหวานว่าเป็นหรือไม่
หรือความรุนแรงอยู่ในระดับใดนั่นเอง
ปัจจุบันการตรวจน้ำตาลในปัสสาวะไม่ได้ใช้วิีธีนี้แล้ว
มีวิธีที่ทันสมัยกว่านี้มากมายและได้ผลที่เร็วกว่าไม่ต้องรอ
แต่ถึงกระนั้นก็ตามแต่อุปกรณ์ชิ้นนี้ที่ถูกคิดขึ้นมากว่าร้อยปี
ยังคงมีประโยชน์ เป็นประโยชน์ ไม่ล้าสมัยแต่อย่างใด
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้
ซึ่งจากประสบการณ์แล้วก็ยังคงมีการสั่งซื้อ สั่งผลิตอยู่เสมอ
เช่นเดียวกันกัับโทรเลขซึ่งปัจจุบันหยุดให้บริการแล้ว
เนื่องจากการเข้ามาแทนที่ของโทรศัพท์มือถือ แต่ว่ารหัสมอส
ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารในการใช้โทรเลขยังคงมีประโยชน์
ยังคงต้องศึกษา
และก็คงจะหายไปไหนไม่ได้เพราะว่ารหัสมอสเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง
ของการสื่อสารของมนุษย์นั่นเอง
สนใจสินค้า(งานสั่งผลิตตามคำสั่ง) ผมอนันต์ครับ
Tel.0868910596 มีสองขนาดให้เลือกคือขนาด 10 ml.
และขนาด 15 ml.