ชุดทดสอบความกระด้างของเหลว
ช่วง 0 - 300 mg/L.
ความหมายคำจัดความของน้ำกระด้าง
ในอดีตน้ำดื่มน้ำกินหรือน้ำใช้ หากน้ำนี้ไม่สามารถทำให้สบู่
เกิดฟองขึ้นมาได้ เราจะเรียกน้ำเหล่านี้ว่า "น้ำกระด้าง" การที่น้ำ
เหล่านี้ไม่สามารถทำสบู่ให้เกิดฟองขึ้นมาได้ก็เนื่องจากในน้ำเหล่านี้
มีสารละลายบางอย่างที่ทำให้สบู่ตกตะกอน ซึ่งสารละลายที่ว่านี้ส่วน
ใหญ่โดยหลักจะเป็นสารประกอบของ แคลเซียม และ แมกนีเซียม
ดังนั้นความกระด้างของน้ำจึงมักจะถูกกำหนดหน่วยเป็น
มิลลิกรัม(mg) ของแคลเซียมคาร์บอเนต CaCO3 ต่อหนึ่งลิตรของ
น้ำ
ความกระด้างเป็นสาเหตุในเกิดตะกรันในภาชนะที่บรรจุหรือ
น้ำนั้นไหลผ่านได้ เช่นท่อในเครื่องจักร เครื่องยนต์ ดังนั้น ที่ถูกต้อง
แล้วสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้
น้ำเป็นวัตถุดิบในการผลิตหรือมีส่วนสำคัญกับเครื่องจักร มีความ
จำเป็นที่จะต้องทดสอบหาความกระด้างในระบบเครื่องจักร เช่น
ระบบหม้อต้มไอน้ำ(Boiler) ระบบหล่อเย็น รวมถึงระบบน้ำที่ใช้ใน
กระบวนการผลิตระบบอื่น ๆ
การวัดระดับความกระด้างจะคำนวนออกมาเป็นหน่วย mg/L
หรือค่านี้พูดง่าย ๆ ก็คือค่า ppm.นั่นเอง(part per million ส่วนใน
ล้านส่วน)ของแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งหาได้จากการไต
เตรท(Titrate) ตัวอย่างน้ำกับสารละลาย EDTA(Ethylene
diamine tetraacetic acid) โดยก่อนอื่นจำเป็นต้องปรับความ
เป็นกรด - ด่าง หรือค่า pH ให้พอเหมาะกับการทำปฎิกิริยา โดยใช้
Reagent 1 Buffer ต่อจากนั้นให้หยด Reagent 2 indicator
ลงไป metal ion(ไอออนโลหะหนัก) ที่ทำให้เกิดความกระด้างจะมา
จับตัว(Form complex) ทำให้เห็นเป็นสีแดง และเมื่อนำมาไตเตร
ทกับ EDTA ไอออนโลหะหนักเหล่านั้นจะมาทำปฎิกิริยา คือมา
Form Complex กับ EDTA แทนจนหมด แล้ว Indicator จะเปลี่ยน
เป็นสีน้ำเงิน ดังนั้นจุดที่สีเปลี่ยนจากม่วงแดงเป็นสีน้ำเงินก็จะเป็นจุด
ยุติของปฎิกิริยา
ในบรรจุภัณฑ์จะประกอบไปด้วย
1. สารละลาย Reagent 1 บรรจุในขวดหยดขนาด 30 ml. มี
คุณสมบัติเป็น Buffer ทำหน้าที่ปรับสภาพตัวอย่างให้มีความเป็น
กรดเป็นด่างเหมาะสมต่อการทำปฎิกิริยาในการวิเคราะห์หาค่าความ
กระด้าง
2. สารละลาย Reagent 2 บรรจุในขวดหยด 15 ml. เป็นสารละลาย
Indicator ทำหน้าที่บ่งชี้ว่า ปฎิกิริยาถึงจุด end point แล้ว
3. สารละลาย Reagent 3L ขนาดบรรจุ 225 ml. เป็นสารละลาย
EDTA ซึ่งเป็นตัวทำปฎิกิริยาตรวจวัดความกระด้างของน้ำที่อยู่ใน
ช่วง 0 - 30 mg/L(ppm.)
4. สารละลาย Reagent 3H ขนาดบรรจุ 225 ml. เป็นสารละลาย
EDTA ซึ่งเป็นตัวทำปฎิกิริยาตรวจวัดความกระด้างของน้ำที่อยู่ใน
ช่วง 0 - 300 mg/L(ppm.)
5. กระบอกตวงที่มีขีด 5 ml. สำหรับตวงตัวอย่างของเหลว 2 ใบ
6. ไซริ้งขนาด 3 ml. ความละเอียด 0.1 ml. จำนวน 2 อัน
7. ไซริ้งขนาด 1 ml. ความละเอียด 0.01 ml. จำนวน 2 อัน
8. ขวดพลาสติกขนาด 25 ml. สำหรับแบ่งบรรจุ Reagent 3L
และ Reagent 3H อย่างละ 1 ใบ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
9. คู่มือตารางสำหรับอ่านเทียบค่าความกระด้าง
วิธีการใช้งานสินค้า
1. ให้ล้างถ้วยตวงด้วยตัวอย่างน้ำที่จะนำมาตรวจวัด
สักสองถึงสามครั้ง
2. ให้นำน้ำตัวอย่างมาตวงให้พอดีถึงขีด 5 ml.
3. ให้หยดสารละลาย Reagent 1 ลงไป 6 หยดแล้วเขย่าให้ทั่ว
4. ให้หยดสารละลาย Reagent 2 ลงไป 3 หยด จากนั้นเขย่าให้ทั่ว จะเห็นเป็นสีม่วงแดง
5. ให้เทแบ่งสารละลาย Reagent 3L(กรณีนี้ใช้เมื่อน้ำตัวอย่างมี
ความกระด้างต่ำ) หรือให้ใช้ Reagent 3H(กรณีนี้ใช้เมื่อน้ำ
ตัวอย่างมีความกระด้างสูง) ออกมาใส่ขวดแบ่ง แล้วให้ใช้ไซริ้งดูด
สารละลายขึ้นมาโดยให้ได้สารละลาย 3 ml.
6. ค่อย ๆ หยดสารละลายจากไซริ้งลงไปในน้ำตัวอย่างข้อ 4. โดย
ให้เขย่าเบา ๆ ให้เข้ากันจนกระทั่งสังเกตุเห็นสี ของตัวอย่างเปลี่ยน
จากสีม่วงแดงเป็นสีน้ำเงิน อ่านค่าจำนวน ml. ในไซริ้งที่ถูกหยด
ออกไป และนำมาอ่านเทียบค่าจากตาราง
สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596