มิเตอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิขนาดย่อมแบบเข็ม Analog
1,980., 2,200.-, 2,200.- ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
เครื่องวัดอุณหภูมิดังที่ท่านเห็นเรียกง่าย ๆ ว่า Comfort meter มีประโยชน์
สำหรับการวัดความชื้นและอุณหภูมิ ความใหญ่ของหน้าปัทม์มีให้เลือกหลาย
ขนาดครับ คือขนาดหน้าปัทม์เส้นผ่านศูนย์กลาง 85, 100, 70 mm.
มีหลาย ๆ ท่านที่สงสัยว่า อุณหภูมิและความชื้นเท่าไร จึงจะเหมาะแก่การอยู่
อาศัย, พ่นสีรถยนต์, เลี้ยงสัตว์, ห้องนอน ฯลฯ Comfort meter ช่วยท่านให้
ทราบข้อมูลเหล่านี้ได้ เพราะในหน้าปัทม์เดียวกันมีสองเข็ม สองเสกล ซึ่งจะวัด
แบบไขว้กัน แต่ในหน้าปัทม์นั้นจะมีจุดตัดในช่วง ๆ หนึ่งซึ่งจะบอกถึงความสบาย
ของมนุษย์ที่จะอยู่อาศัยได้ ซึ่งถ้าจะให้ดีที่สุดท่านควรจะจัดสถานที่บ้านพักของ
ท่านโดยควบคุมให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิและความชื้นตามสเกลของเครื่องวัด เช่น
เปิดแอร์เครื่องปรับอากาศให้ได้อุณหภูมิที่เหมาะสม เป็นต้น
รุ่นนี้เป็นกรอบทองเหลือง ราคา 2,500 บาทครับ
รุ่นนี้กรอบเงินธรรมดาครับราคาย่อมเยากว่ากรอบทองเหลือง 2,200 บาท หน้าปัทม์เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 เซ็นติเมตร
เปรียบเทียบรุ่นกรอบทองเหลือง กับรุ่นใหญ่กว่า(ไม่ใช่รุ่นกรอบเงินด้านบนนะครับ)
รุ่นด้านล่างนี้เป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มม.
หน้าปัทม์สีขาว ขอบสีเงิน
วัดขนาดให้ดูครับ
ความน่าสนใจของมิเตอร์ชนิดนี้ก็คือ
มิเตอร์นี้จะออกแบบมาเพื่อวัดอากาศ
ทั้งความชื้นและอุณหภูมิที่จะเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์
เพราะฉะนั้น แล้วอุณหภูมิที่วัดได้จะอยู่ในช่วงที่จำกััดกว่า
รวมทั้งความชื้นด้วย คืออุณหภูมิที่วัดได้จะเริ่มต้นตั้งแต่
0 องศาเซลเซียส ฉะนั้นแล้วพื้นที่ในเขตหนาวจะไม่สามารถวัดได้
วัดได้ตั้งแต่ 0 - 40 องศาเซลเซียส โดยที่วัดความชื้นได้ระหว่าง
20 - 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงความชื้นที่คนอยู่อาศัย
โดยที่บนหน้าปัทม์แล้วจะมีกรอบสามเหลี่ยมสองกรอบที่ตัดกันอยู่
กรอบสามเหลี่ยมทางซ้ายมือจะเป็นกรอบที่ฝรั่งบอกว่าเป็นช่วงของ
อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการอยู่อาศัยมนุษย์
คือเข็มวัดควรจะอยู่ในช่วงนี้(ประมาณ 18 - 25 องศาเซลเซียส)
ส่วนกรอบสามเหลี่ยมทางด้านขวามือจะฝรั่งบอกว่าจะเป็นช่วงของ
ความชื้นที่เหมาะสมที่สุดในการอยู่อาศัยของมนุษย์
(ประมาณ 44 - 70 เปอร์เซ็นต์)
ซึ่งเมือกรอบสามเหลี่ยมทั้งสองกรอบนี้มาตัดกันแล้ว พื้นที่ที่ตัดกัน
(ในรูปเขียนคำว่า Comfort)
จะเป็นอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการอยู่อาศัย
ของมนุษย์ ซึ่งหากเข็มทั้งสองนั้นอยู่ในช่วงของคำว่า Comfort
นี้จะเรียกได้ว่าท่านอยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิความชื้นที่เหมาะสม
สบายตัวที่สุดครับ
ด้วยสาเหตุนี้มิเตอร์เครื่องนี้จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า
"Comfort Meter"
มนุษย์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมภายนอกได้
เนื่องจากสิ่งแวดล้อมภายนอกนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้เช่น
พื้นที่ ความสูง ลักษณะอากาศของท้องถิ่นนั้น ๆ โซนหรือเขต ฯลฯ
แต่มนุษย์สามารถปรับหรือพอที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมภาย
ในอาคารได้ โดยใช้ Comfort Meter นี้เป็นตัววัด
หรือเป็นตัวควบคุมครับ
คือท่านสามารถจะตั้งเครื่องปรับอากาศแบบร้อน
หรือเครื่องปรับอากาศแบบเย็น
รวมทั้งระบบระบายอากาศให้เหมาะสมที่สุดต่อการอยู่อาศัย
ให้อยู่ในช่วงของคำว่า "Comfort"ก็จะทำให้พื้นที่ที่ท่านอยู่อาศัย
หรือทำงานนั้นเหมาะสมที่สุดได้
อันนี้เป็นอีกรุ่นครับ หน้าปัทม์สีเทา ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 85 มม.
ถ่่ายวัดเทียบขนาดให้ดูทั้งสองรุ่น
ด้านหลังของเครื่อง
เกร็ดความรู้
อรรถกถาจารย์กล่าวว่าการได้พำนักอาศัยในสถานที่ที่มีอุณหภูมิความชื้นอันเหมาะสมแล้ว จะทำให้ท่าน
หลับสบาย ทำงานได้ผลิตผลที่เต็มที่ หรือแม้แต่ทำให้ท่านมีอายุอันยืนนาน ฉะนั้นถ้าหากว่าสถานที่ที่ท่านอยู่
อาศัยมีสภาพความชื้นและอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ท่านควรจะปรับเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมถ้าท่านพอ
จะทำได้ เช่น ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ติดตั้งเครื่องดูดอากาศ เปิดหน้าต่าง ปิดหน้าต่าง หรือ ปรับตั้งอุณหภูมิ
ของเครื่องปรับอากาศทั้งร้อนหรือเย็นให้เหมาะสม
ท่านจะสังเกตุว่าคนในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอบอุ่นหรือ เขตที่ค่อนข้างเย็น เช่น
ญี่ปุ่น ,ยุโรป, ทวีปอเมริกาเหนือ ฯลฯ หรือท่านเคยสงสัยบ้างไหมครับว่าทำไมผู้สูงอายุที่มีจำนวนมากที่สุดใน
โลก หรือมีอายุยืนที่สุดในโลกอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เชื่อผมเถอะไม่ใช่แค่อาหารและสภาพแวดล้อมอย่างเดียว
แต่สภาพอากาศก็มีผลเช่นกัน
Comfort meter จะบอกถึงการซ้อนทับของอุณหภูมิและความชื้นว่าควรจะ
อยู่ในกรอบหรือจุดที่อุณหภูมิและความชื้นนั้นintersection กัน(สังเกตุในรูป
ด้านบนครับ)
ท่านเคยเข้าไปในเวบนี้บ้างไหมครับ http://www.tmd.go.th/index.php เป็นเวบไซด์ของคนไทยครับ
เวบไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยาไทยครับ หรือถ้าจะเป็นเวบของต่างประเทศที่เกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศก็
ต้องเวบนี้ครับ http://www.timeanddate.com/weather/
ทั้งสองเวบนี้มีประโยชน์มาก ๆ เลยครับ ซึ่งผมยังเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยทราบมาก่อนว่าใช้
งานอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ซึ่งผมจะขอลองใช้งานให้ท่านดูครับว่ามันมีประโยชน์หรือบอกอะไรเราได้
บ้าง
วันนี้เป็นวันที่ 15 พ.ค.55 เวลาประมาณ 23.00 น. ผมอยากจะทราบว่าอากาศโดยทั่วไปของกรุงเทพเป็น
อย่างไร ถ้าผมตอนนี้อยู่เชียงใหม่และกำลังจะเดินทางไปกรุงเทพฯ(ผมสมมติครับ) จากข้อมูลนี้ทำให้ผม
ทราบว่าตอนนี้กรุงเทพฯ อากาศค่อนข้างร้อน และร้อนแบบอบอ้าว อากาศน้อยหายใจค่อนข้างลำบาก ถ้ามี
โรคประจำตัวควรระวังหรือพกพายาไปด้วย เสื้อผ้าควรสวมใส่แบบสบาย ๆ ไม่หนาหรืออุ้มน้ำ
เหตุใดผมจึงทราบว่าผมควรจะดำเนินการตามนี้ เหตุที่ทราบได้ก็เพราะว่าผมดูตารางที่กรมอุตุให้มาครับ
ก่อนอื่นผมทราบโดยทันทีว่าขณะนี้เป็นเวลาค่อนข้างดึกแล้วแต่อุณหภูมิที่วัดได้ กลับวัดได้ถึง 28.8 องศา
เซลเซียส ซึ่งถ้าเป็นกลางวันแล้วอุณหภูมิจะเป็นได้ถึงขนาดไหน ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่าต้องร้อนมาก ๆ ด้วย
คาดกันว่าต้องมากกว่า 35 องศาแน่ ๆ ซึ่งก็จะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ถ้าท่านมองไปที่คำว่าอุณหภูมิสูงสุดเมื่อวานนี้
ซึ่งวัดได้ถึง 38.7 องศา มาดูที่ความชื้นสัมพัทธ์จะพบว่าอยู่ที่ 73 เปอร์เซ็นต์(ในตอนกลางคืน Oh my God)
แบบนี้ถือได้ว่าอบอ้าวมาก ความชื้นสัมพัทธ์ที่ยิ่งมากหมายถึงความอบอ้าวที่ยิ่งมากไปด้วยสำหรับประเทศใน
เขตร้อน หรือกล่าวได้ง่าย ๆ ว่ามันจะร้อนแบบผิดปกติ หรือถ้าจะสามารถเลือกได้ว่าถ้าอุณหภูมิขนาดนี้จะอยู่
ให้สบายแล้วถ้าผมเลือกได้จะขอเลือกที่ความชื้นไม่เกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จะสบายกว่าค่อนข้างมากครับ
ลมสงบมีเมฆมากและจุดน้ำค้างอยู่สูง ทั้งนี้ยังวัดปริมาณน้ำฝนใน 3 ชม.ไม่ได้ เป็นเครื่องยืนยันได้ถึงความ
อบอ้าว เพราะอากาศร้อนแล้วยังไม่พอลมก็ยังไม่มี เมฆมาก(คล้าย ๆ ฝนจะตกแต่ก็ไม่ตก)
อีกหนึ่งค่าที่เป็นเครื่องยืนยันก็คือคำว่าความกดอากาศ ความกดอากาศถ้ายิ่งมากยิ่งดีครับ(สำหรับประเทศ
ในเขตร้อน) เพราะมันหมายถึงอากาศที่มาก จะทำให้หายใจได้สะดวก ไม่เหนื่อยมากเวลาทำงานหนักหรือ
ออกกำลังกาย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเพราะว่าความกดอากาศที่เห็นวัดได้เพียงแค่ 1006.7hPa
ถือได้ว่าค่อนข้างน้อยไปหน่อยถ้าจะให้เหมาะสมกว่านี้ควรอยู่ที่ 1010.00 hPa ขึ้นจะเหมาะกว่า ในส่วนของ
ความกดอากาศนั้นอธิบายให้ทราบได้ยาก แต่หากถ้าท่านไม่เชื่อ ผมจะแสดงให้เห็นว่าความกดอากาศของ
ประเทศไทยในฤดูหนาวจะมากกว่าฤดูร้อน ซึ่งอากาศจะมากกว่า หายใจสะดวกกว่า รู้สึกสบายเนื้อสบายตัว
กว่า
ลองเทียบความกดอากาศในช่วงฤดูหนาวของจังหวัดเชียงรายซึ่งเป็นจังหวัดเหนือสุดของประเทศไทยที่ผม
ได้ save ค่าเก็บไว้ท่านจะเข้าใจดีขึ้นครับ หรือถ้าท่านเคยไปเที่ยวในวันนั้นแล้วท่านจะยิ่งเข้าใจยิ่งขึ้นอีก เป็น
ดังนี้ครับ
ลองมาดูวันสบาย ๆ ของกรุงเทพฯ กันครับ ผมสาบานว่า ผมเข้ามาดูเวบนี้แทบทุกวันแต่ที่เห็นเวบแสดงค่า
อย่างนี้นาน ๆ จะเจอสักทีครับวันนั้นเป็นวันที่ 12 ธันวาคม 2554 เวลาประมาณสองทุ่มครับ
อากาศวัดได้แค่ 24.1 องศาเซลเซียส จุดน้ำค้างอยู่ห่างจากอากาศปัจจุบันถึง 10 องศา(วัดได้แค่ 14.5
องศา) ความชื้นสัมพัทธ์เหลือแค่ 55 เปอร์เซ็นต์(วิ่งรอบสนามบอล 3 รอบเหงื่อยังไม่ออก) ฝนไม่มี และที่
สำคัญความกดอากาศมากถึง 1013.6 hPa(โอ้โห นาน ๆ จะเจอทีครับ) อากาศที่เห็นอย่างนี้ในรอบหนึ่งปี
กรุงเทพฯ มีไม่กี่วันครับ(อาจจะไม่ถึง 12 - 15 วันก็ได้)
พูดให้เข้าใจง่าย ๆ กล่าวสรุป ๆ ค่าที่เห็นทุกค่า(อุณหภูมิที่วัดได้, จุดน้ำค้าง,
ความชื้นสัมพัทธ์)ถ้าท่านพำนักอยู่ในประเทศไทย(ซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้น) ควรจะ
ต่ำ ๆ ไว้จะสบายกว่ายกเว้นค่าเดียวที่ต้องสูงถึงจะสบายนั่นคือความกดอากาศ
ลองมาชมสภาพความกดอากาศที่ extreme สุด ๆ ที่ผม save เก็บไว้ครับ อยู่ที่กรุง Astana เมืองหลวง
ของประเทศคาซัคสถาน วันที่ 20 ธันวาคม 2554 เวลาท้องถิ่น 22.02 น. ความดันอากาศวัดได้มากถึง 1053
hPa อธิบายไม่ได้เหมือนกันครับว่าเป็นอย่างไร(ไม่สงสัยครับว่าทำไมฝรั่งจมูกโด่งทุกคน)
อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม(เป็นเพียง Outline, Guideline)
สำหรับการทำกิจกรรมชนิดต่าง ๆ
ผมเข้าใจว่าน่าศึกษาและที่สำคัญควรจะประยุกต์ให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่จะทำ
ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์และผลิตผลที่สูงสุด ท่านลองศึกษาดูครับ