มิเตอร์วัดความสมบูรณ์ของดิน
A Successful Garden Starts with The right Conditions
All plants have preferred growing conditions. This multi-purpose meter allows you to monitor the conditions of soil pH, soil moisture. light intensity and total combined nitrogen, phosphorus and potash levels.
The Soil's pH level will effect how well plants utilize the total nutrients available in the soil. These nutrients are the building blocks the plant requires for successful growth. Successful growth can not be achieved with inadequate or improper light amounts. And even if these three key growing conditions are ideal, a garden will not thrive if over or under watered.
Easy to Use...
1. Slide selector switch to the test being performed.
2. For pH or fertility tests, prepare a soil sample and insert the probes into the sample. Within seconds the tester will indicate the pH or fertility conditions of your soil.
3. For moisture tests, just probe the soil deep at the roots.
4. Light is measured by placing the photocell located on the top of the meter at leaf level and pointing it directly at the light source.
ที่เห็นด้านล่างเป็นเซลรับแสงของเครื่องซึ่งอยู่ด้านบนของเครื่อง
1,700.- Tel.0868910596 ผมอนันต์ครับ
ต้นไม้มีสี่สิ่งสำคัญในการเจริญเติบโต
* ความสว่างของแสงในบริเวณที่พืชเจริญอยู่นั้น
* ระดับความชื้นในดิน
* ความสมบูรณ์ของดิน (Combined nitrogen, phosphorus & potash levels)
* ความเป็นกรด - ด่างของดิน (PH) Levels
ต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ มีสภาพการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน มิเตอร์ 4in1 จะ
ช่วยให้การคำนวณระดับสภาพดินของคุณเป็นเรื่องง่าย และรวดเร็ว
4in1 มีคู่มือ (ภาษาอังกฤษ) แนะนำการใช้ เพื่อให้คุณสามารถปรับปรุงสภาพ
ดิน เพื่อดูแลการเติบโต และสภาพของต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ผล ในสวนของคุณ
4 in 1 ช่วยให้คุณทราบค่า PH, ความชื้น, ค่าความสว่าง และระดับค่าโดยรวม
ของไนโตรเจน ฟอสเฟต และโปรแตสในดิน ทำให้คุณทราบสภาพความสมบูรณ์
ของดิน จึงดูแลต้นไม้ได้อย่างตรงจุดทั้งก่อน และหลังการปลูก
- electrode ยาว 7.5 นิ้ว
- สะดวกในการพกพา เก็บรักษา ใช้ได้ในทุกที่ทันทีที่ต้องการ
- สามารถใช้ได้ทั้งในร่ม และกลางแจ้ง
- ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ใช้ง่าย และสะดวก เพียงปรับปุ่มที่อยู่ด้านหน้าไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
ต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ มีสภาพการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน เครื่องวัดความสมบูรณ์ของดินรุ่น
นี้ จะช่วยให้
การคำนวณระดับสภาพดินของคุณเป็นเรื่องง่าย และรวดเร็ว เมื่อปรับปุ่มมิเตอร์ไปที่ Fertilizer
Analysis จะเป็น
การวัดความสมบูรณ์ของดิน ซึ่งแบ่งเป็นช่วง 3 ช่วง คือ
- Too Little หมายถึง มีปริมาณไนโตรเจน (N) น้อยกว่า 50 PPM, ฟอสฟอรัส (P) น้อยกว่า 4 PPM, โป
แตส (K) น้อยกว่า 50 PPM
- Ideal หมายถึง มีปริมาณไนโตรเจน (N) 50 - 200 PPM, ฟอสฟอรัส (P) 4 - 14 PPM, โปแตส (K) 50 -
200 PPM ซึ่งเป็นช่วงค่าที่เหมาะสมที่สุด
- Too much หมายถึง มีปริมาณไนโตรเจน (N) มากกว่า 200 PPM, ฟอสฟอรัส (P) มากกว่า 14 PPM,
โปแตส (K) มากกว่า 200 PPM
ถ้าท่านประสงค์จะอ่านคู่มือการใช้งานภาษาไทยก่อนครับ
คู่มือการใช้งาน Rapitest 4 in 1
คำเตือน : มิเตอร์ชนิดนี้ คาลิเบรต เป็นพิเศษสำหรับการใช้ในดิน ห้ามใช้ในน้ำ
สารละลายของเหลว หรือสารละลายอื่น ๆ
: ห้ามปักมิเตอร์ลงไปในดินที่แข็ง แห้ง หรือที่มีเศษอิฐ เศษหิน เพราะ
อาจจะทำให้มิเตอร์ได้รับความเสียหายได้ ให้ปฎิบัติตามวิธีการเตรียมดินจากคู่มือ
นี้เท่านั้น
การใช้มิเตอร์ใช้วัดค่าความสมบูรณ์ของดิน
1.ขุดหน้าดินออกประมาณ 2 นิ้ว หลังจากนั้นขุดดินในชั้นต่อไปให้ลึกประมาณ 5
นิ้วแล้วตีดินให้แตก ขยี้ให้เป็นชิ้นละเอียด
2. รดน้ำลงในดินให้ทั่วจนเป็นโคลนข้น(mud) ควรใช้น้ำฝนหรือน้ำกลั่นในการรด
3. ทำความสะอาดขามิเตอร์ให้สะอาดด้วยทิชชู หรือกระดาษชำระ
4. ปรับปุ่มไปยังตำแหน่งซ้ายสุด(Fertility)
5. เสียบขามิเตอร์ลงในในดินจนดินห่างจากขอบมิเตอร์ประมาณ 1 นิ้ว ทิ้งไว้
ประมาณ 10 วินาที เพื่อให้ค่าการอ่านนิ่งเสียก่อน
6. จดบันทึกค่าที่อ่านได้ ดึงมิเตอร์ออกแล้วทำความสะอาดให้ทั่ว
ค่ามาตรฐานที่มิเตอร์ได้ทำการคาลิเบรต เป็นดังตารางข้างล่าง
Too little(น้อยเกินไป) Ideal Range(เหมาะสม) Too Much(มากเกินไป)
ไนโตรเจน 50 ppm 50 - 200 ppm 200 ppm ขึ้นไป
ฟอสฟอรัส 4 ppm 4 - 14 ppm 14 ppm ขึ้นไป
โปแตสเซียม 50 ppm 50 - 200 ppm 200 ppm ขึ้นไป
หมายเหตุ ppm หมายถึง ส่วนในล้านส่วน
ถ้าการทดสอบอ่านค่าได้ "Too little" ให้ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชผักที่ปลูกอยู่ทันที เพื่อปรับปรุงสภาพดิน
ถ้าการทดสอบอ่านค่าได้ "Ideal" ให้ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชผักที่ท่านอยู่เดือนละครั้ง
ถ้าการทดสอบอ่านค่าได้ "Too much" สิ่งที่ควรทำคือ
1. รดน้ำให้ทั่วดิน เพื่อล้างปุ๋ยที่มากเกินไปออก
2. ถ้าเป็นไม้กระถางให้เปลี่ยนดินใหม่
3. อย่าใส่ปุ๋ยใด ๆ เพิ่มลงไป คุณสามารถใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้หมัก เศษพืชผัก ใบไม้แห้ง หรือวัสดุ
ธรรมชาติในดินได้
การใช้มิเตอร์วัดค่าแสงสว่าง
1. เลื่อนปุ่มไปยังตำแหน่งที่ 2 (Light)
2. หันตัว Photocell(พลาสติกกลม ๆ สีม่วงที่อยู่ด้านบนมิเตอร์) ไปยังทิศทางของแหล่งกำเนิดแสงโดยถือ
มิเตอร์ให้อยู่ในระดับเดียวกับใบไม้ พยายามอย่าให้มือ หรือร่างกายอยู่คั่นระหว่างแหล่งกำเนิดแสง และต้นไม้
หรือตำแหน่งที่ต้องการวัดค่าแสง
3. อ่านค่า และจดบันทึกค่าที่อ่านได้( X 1000) และเวลาที่จดบันทึก
4. ควรอ่านค่าในช่วงครึ่งวันเช้า ครึ่งวันบ่าย และเวลาใกล้เย็น เพื่อหาค่าเฉลี่ยความแรงของแสง
ตัวอย่าง
อ่านค่าเวลา 09.00 น.ได้เท่าไร ให้นำมาคูณ 4 แล้วจดบันทึกค่าที่อ่านได้
อ่านค่าเวลา 13.00 น. ได้เท่าไร ให้นำมาคุณ 4 แล้วจดบันทึกค่าที่อ่านได้
อ่านค่าเวลา 17.00 น. ได้เท่าไร ให้นำมาคุณ 4 แล้วจดบันทึกค่าที่อ่านได้
ให้นำค่าทั้งสามมาบวกกันและหาร 3 (เพราะวัดสามช่วงค่าเวลา) แล้วคูณด้วย 1,000 จะเป็นค่าเฉลี่ยแสง
สว่าง
ตารางความต้องการแสงสว่างของพืช
ไม้ร่ม ไม้กึ่งร่ม ไม้กึ่งแดด ไม้แดด
0 - 10,000 10,001 - 20,000 20,001 - 35,000 35,000 ขึ้นไป
ไม้ร่ม หมายถึง ต้นไม้ในกลุ่มที่ไม่ควรโดนแสงแดดโดยตรง แสงที่ได้รับควรเป็นแสงที่กรองจากแสลน หรือใต้
ต้นไม้
ไม้กึ่งร่ม หมายถึง ต้นไม้ในกลุ่มที่โดนแสงแดดโดยตรงได้บ้าง แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในที่ได้แสงสว่างจากแสง
อาทิตย์ทางอ้อมและโดนแสงแดดตรง ๆ
ให้น้อยที่สุด
ไม้กึ่งแดด หมายถึง ต้นไม้ในกลุ่มที่โดนแสงแดดโดยตรงได้ แต่ไม่สามารถโดนแสงแดดโดยตรงได้ทั้งวัน ต้อง
มีร่มบ้างสักครึ่งวัน เช่นโดนแสงแดดโดย
ตรงในตอนเช้า แต่ตอนบ่ายควรมีอาคารหรือไม้ใหญ่ช่วยบังแดด เป็นต้น
ไม้แดด หมายถึง ต้นไม้ในกลุ่มที่สามารถโดนแสงแดดได้โตยตรงตลอดทั้งวัน
การใช้มิเตอร์วัดความชื้นของดิน
1. ปรับปุ่มไปยังตำแหน่งที่ 3 (Moisture)
2. เสียบขามิเตอร์ลงไปในดินจนสุด บริเวณที่เสียบมิเตอร์ควรอยู่ระหว่างขอบกระถาง และ
ลำต้นของต้นไม้ ไม่ควรเสียบขามิเตอร์ใกล้ลำต้นมากเกินไป
3. จดบันทึกค่าที่อ่านได้
4. ดึงมิเตอร์ออกจากดิน ทำความสะอาดให้ทั่วด้วยผ้านิ่ม ๆ หรือทิชชูก่อนที่จะนำไปวัดค่า
อื่น ๆ ต่อไป หรือนำไปเก็บอย่างเดิม
5. อย่าเสียบมิเตอร์ทิ้งไว้ในดินเป็นระยะเวลานาน
ข้อแนะนำการให้น้ำทั่วไป
ต้นไม้ที่ชอบความชุ่มชื้นควรให้ค่าความชื้นที่อ่านได้อยู่ระหว่าง 3 หรือ 4 ส่วนต้นไม้ที่ไม่
ชอบความชื้นมากควรให้ค่าความชื้นอยู่ระหว่าง 1 ถึง 2 ส่วนต้นไม้ที่ไม่ชอบน้ำให้อยู่ต่ำ
กว่าระดับเลข 1 กระถางที่มีขนาดเล็กควรตรวจค่าความชื้นบ่อยกว่ากระถางใบใหญ่ เพราะ
กระถางเล็กจะแห้งเร็วกว่างกระถางใบใหญ่ การรดน้ำมากเกินไปก็ทำให้รากต้นไม้เน่าได้จึง
ควรระวังการให้น้ำให้พอดี
ข้อแนะนำการให้น้ำโดยทั่วไป(สำหรับการปลูกพืชในกระถาง)
พืชผัก 2 - 3
พืชฤดูเดียว 1 - 2
ไม้ยืนต้น 2 - 3
ไม้พุ่ม(ไม้ดอก) 2 - 3
ไม้พุ่ม(ไม้ใบ) 1 - 2
การใช้มิเตอร์วัดความเป็น กรด - ด่าง (PH) ของดิน
1. ขุดหน้าดินออกประมาณ 2 นิ้ว หลังจากนั้นขุดดินในชั้นต่อไปให้ลึกประมาณ 5 นิ้วแล้วตีดินให้แตก
ขยี้ให้เป็นชิ้นละเอียด นำเศษหิน ซากพืช เช่นใบไม้ กิ่งไม้ ออกไปให้หมด เพราะจะมีผลต่อค่าที่อ่าน
ได้
2. รดน้ำลงในดินให้ทั่วจนเป็นโคลนข้น(Mud) ควรใช้น้ำฝนหรือน้ำกลั่นในการรด
3. เลื่อนปุ่มมิเตอร์ไปยังตำแหน่งขวาสุด
4. ทำความสะอาดขามิเตอร์ด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดถูขามิเตอร์ด้วยผ้าสะอาด
5. เสียบขามิเตอร์ลงไปในดินจนสุดถึงขอบมิเตอร์
6. รอประมาณ 1 นาที แล้วจึงอ่านค่า
7. หลังจากใช้งานให้ทำความสะอาดมิเตอร์และเช็ดให้แห้ง
การปรับค่าความเป็น กรด - ด่างของดิน
ให้เติมปูนขาวในดินที่มีความเป็นกรดสูง และเติมซัลเฟอร์ หรือซัลเฟต ในดินที่มีความเป็นด่าง
ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ และชนิดของดิน ให้ใช้ตามคำแนะนำข้างถุง วิธีการเพิ่ม หรือ
ลดค่ากรดด่างเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน และต้นไม้มีความอดทนต่อค่ากรดด่างที่กว้าง อย่างน้อยประมาณ
1 ค่า(PH) การปรับค่า PH ต้องใช้เวลา ดังนั้นอย่าคาดหวังการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องคอย
ดูแลอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สภาพดินกลับมาดีดังเดิม
คู่มือการใช้งานภาษาอังกฤษ