แท่งแก้ววัดความถ่วงจำเพาะในหน่วยของ Baume,
Baume scale Hydrometer
ท่านครับ สำหรับไฮโดรมิเตอร์บางรุ่นจะมีหน่วยวัดเป็นหน่วยเฉพาะ
อย่างเช่นไฮโดรมิเตอร์รุ่นนี้วัดความถ่วงจำเพาะในหน่วยของ Baumé (Baumé,
B°, Bé°) โดยที่ Hydrometer
ชนิดนี้ถูกพัฒนาโดยนักเภสัชวิทยาชาวฝรั่งเศษชื่อ Antoine Baumé ในปี
1768
ท่านผู้นี้คิดค้นไฮโดรมิเตอร์รุ่นนี้ขึ้นมาเพื่อวัดค่าความถ่วงจำเพาะของของเหลว
หลาย ๆ ชนิด
โดยอาศัยการอ้างอิงของไฮโดรมิเตอร์ชนิดนี้ว่าถ้าหากนำน้ำกลั่นบริสุทธิ์แล้วถ้า
หากนำไฮโดรมิเตอร์ในสเกลบัวเมไปวัดแล้วจะอ่านค่าได้ค่าเท่ากับ 0
ฉะนั้นแล้วสารละลายใด ๆ
ก็ตามที่มีความถ่วงจำเพาะที่มากกว่าน้ำแล้วจะมีค่าในสเกลของบัวเมที่มากกว่า
0
แต่ว่าถ้าหากท่านต้องการจะแปลงค่าสเกลของบัวเมไปเป็นค่าความถ่วงจำเพาะ
มาตรฐานที่วัดกันทั่ว ๆ ไปก็สามารถทำได้ครับ โดยใช้สูตร
degree Baumé = 145 - [ 145 / ( SG 60/60°F ) ]
หรือจะเขียนให้ง่ายขึ้นก็คือ
For liquids more dense than water:
แต่ถ้าหากว่าเป็นสารละลายที่มีความถ่วงจำเพาะที่น้อยกว่าน้ำกลั่นบริสุทธิ์ต้อง
ใช้อีกสูตรนะครับ ไปใช้สูตรบนไม่ได้ คือต้องใช้สูตร
For liquids less dense than water:
สำหรับ Hydrometer ในสเกลบัวเมที่ผมมีจำหน่ายมีประมาณ 7
รุ่นครับส่วนช่วงและความละเอียดก็เป็นดังนี้ครับ
ฺBaume Scale Hydrometer
ช่วงการวัด 0 - 10 B° ความละเอียด 0.1
ช่วงการวัด 10 - 20 B° ความละเอียด 0.1
ช่วงการวัด 20 - 30 B° ความละเอียด 0.1
ช่วงการวัด 30 - 40 B° ความละเอียด 0.1
Model 10/200/0 ช่วงการวัด 0 - 30 B° ความละเอียด 0.5
Model Bett5521 ช่วงการวัด 0 - 30 B° ความละเอียด 1.0 Baume
Model Bett5522 ช่วงการวัด 0 - 38 B° ความละเอียด 1.0 มีสองสเกลคือจะมี
สเกล Specific Gravity อีกฝั่งด้วย
Model 10/201/0 ช่วงการวัด 0 - 50 B° ความละเอียด 1.0
Model Chi001 ช่วงการวัด 0 - 20 ความละเอียด 0.2 Baume
Model Precision 1019 ช่วงการวัด 0 - 20 ความละเอียด 1 Baume
Model Precision 1020 ช่วงการวัด 10 - 20 ความละเอียด 0.1 Baume
Model Precision 2030 ช่วงการวัด 20 - 30 ความละเอียด 0.1
Model Precision 2040 ช่วงการวัด 30 - 40 ความละเอียด 0.1
Model 10/238/0 ช่วงการวัด 0 - 10 B° ความละเอียด 0.1
Model 10/239/0 ช่วงการวัด 10 - 20 B° ความละเอียด 0.1
Model 10/240/0 ช่วงการวัด 20 - 30 B° ความละเอียด 0.1
Model 10/241/0 ช่วงการวัด 30 - 40 B° ความละเอียด 0.1
Model 10/221/0 ช่วงการวัด 40 - 50 B° ความละเอียด 0.1
Model 10/231/0 ช่วงการวัด 50 - 60 B° ความละเอียด 0.1
Model 10/232/0 ช่วงการวัด 60 - 70 B° ความละเอียด 0.1
Model 10/202/0 ช่วงการวัด 0 - 70 B° ความละเอียด 1.0
Model 10/212/0 ช่วงของการวัด 0 - 70 B° ความละเอียด 1.0
ทั้งนี้ยังมีสเกลของ Specific Gravity ให้ด้วย วัดได้ในช่วง 1.000 - 2.000
ความละเอียด 0.025
ภาพด้านล่างนี้นำไปใช้วัดกรดซัลฟูริก
และจากประสบการณ์ในการจำหน่ายของผมแล้ว ไฮโดรมิเตอร์รุ่น
0 - 70 Baume รุ่นนี้ ซึ่งสามารถวัด Specific Gravity ได้ด้วย ผู้ใช้
งานมักจะนำไปใช้วัดความเค็มโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมผลิตน้ำ
แข็ง ซึ่งหน่วยที่วัดจะจดบันทึกในหน่วยของ Baume
ซึ่งทั้งนี้แล้ว หากบางท่านต้องการจะวัดความเค็มเป็นหน่วยของ
เปอร์เซ็นต์ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยใช้ไฮโดรมิเตอร์ที่วัด
ความเค็มโดยเฉพาะ ตรงนี้ผมมี่ภาพการใช้งานของไฮโดรมิเตอร์ทั้ง
สองชนิดเมื่อนำมาวัดความเค็มชนิดเดียวกันให้ดูครับ ซ้ายมือเป็น
Baume Hydrometer ช่วงวัด 0 - 70 Baume ส่วนขวามือเป็น
ไฮโดรมิเตอร์วัดความเค็มเป็นเปอร์เซ็นต์
ค่าที่อ่านได้จะไม่เท่ากัน คือไฮโดรมิเตอร์ที่วัดความเค็มก็จะอ่านค่า
เป็นหน่วยความเค็มโดยตรงคือวัดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ แต่ว่า
Baume Hydrometer จะวัดออกมาในหน่วย Baume ครับ
โรงน้ำแข็งบางแห่งนิยมมาก ๆ ที่จะวัดออกมาในหน่วย Baume ครับ
เพราะว่าเขาตั้งค่าการวัดในหน่วย Baume ไว้ ซึ่งมันจะสะดวกใน
การอ่านค่ากว่า แต่อย่างไรก็ตามก็ขึ้นกับดุลพินิจของผู้ใช้งานครับ
ด้านล่างนี้วัดความเค็มของของเหลวชนิดเดียวกัน ซึ่งวัดได้ค่า
20 ในหน่วย Baume หรือประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ในหน่วยความ
เค็มที่เป็นเปอร์เซ็นต์
Model 10/212/0 ช่วงของการวัด 0 - 70 B° ความละเอียด 2.0
พร้อมสเกลของ Specific Gravity ให้ด้วย วัดได้ในช่วง 1.000 - 2.000
ความละเอียด 0.010
Model 10/203/0 ช่วงการวัด 0 - 10 B° ความละเอียด 0.1
Model 10/204/0 ช่วงการวัด 10 - 20 B° ความละเอียด 0.1
Model 10/205/0 ช่วงการวัด 20 - 30 B° ความละเอียด 0.1
Model 10/206/0 ช่วงการวัด 30 - 40 B° ความละเอียด 0.1
สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
ผมพยายามหาข้อความและวิธีการใช้งานไฮโดรมิเตอร์ที่ถูกต้องถูกวิธี
รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาที่ถูกต้องและถูกวิธีจากบริษัทฝรั่งผู้ผลิตรายใหญ่
ว่าเขาเหล่านั้นมีข้อแนะนำกันเป็นอย่างไรบ้าง
อยากให้ท่านศึกษาวิธีการใช้งาน การเลือกอุปกรณ์
และการเก็บรักษาไฮโดรมิเตอร์ที่ถูกต้องครับ
Using a Hydrometer วิธีใช้งานไฮโดรมิเตอร์
The size cylinder needed depends on the size of the
hydrometer. The cylinder should be at least 1″ taller than the
hydrometer,and should have a minimum diameter of 50 mm.
คือฝรั่งท่านว่า Cylinder
หรือกระบอกตวงที่ท่านจะเลือกมาใช้กับไฮโดรมิเตอร์ที่ท่านมีนั้น
ควรจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 50 มิลลิเมตรหรือ 5 เซ็นติเมตร
ทั้งนี้แล้วกระบอกตวงของท่านนั้นก็ควรอย่างยิ่งที่จะมีความสูงเมื่อเทียบ
กับไฮโดรมิเตอร์ของท่านแล้วสูงกว่าไม่น้อยไปกว่า 1 นิ้ว
ส่วนประกอบของไฮโดรมิเตอร์เป็นภาษาอังกฤษที่ควรทราบ คือ
ส่วนของสเกลที่มีตัวเลขให้อ่านค่าได้นี้จะเรียกกันว่า Graduated Stem
หรือก้านวัดที่มีตัวเลขบ่งบอก
ส่วนของกระเปาะจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Float
ส่วนของตุ้มถ่วงเรียกว่า Ballast
ทั้งนี้แล้ววิธีการอ่านค่าจะต้องอ่านในระดับเดียวกับสายตาของท่าน
ท่านไม่ควรอ่านค่าโดยมองจากด้านบนลงมา หรือมองมาจากด้านล่างขึ้นไป
คือให้มองในระดับเดียวกันกับสายตาของท่าน
ตามภาพด้านบนก็คือเมื่อใดก็ตามที่ท่านหย่อนไฮโดรมิเตอร์ลงไป ซึ่งถ้าหาก
ท่านมองไฮโดรมิเตอร์อันนี้ให้อยู่ในระดับสายตาของท่าน ท่านก็จะเห็นภาพที่เห็น
นี้ จุดที่ท่านจะอ่านค่าไฮโดรมิเตอร์ที่ถูกต้อง จะเป็นจุดที่เส้นประ ซึ่งจุดที่เส้นประนี้
ในภาษาไทยยังไม่มีการบัญญัติไว้ แต่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า meniscus
(A meniscus is a curvature in liquid, and usually happens in vessels
like test tubes. )
ซึ่งตรงจุด menicus ก็คือจุดที่ระดับน้ำที่ไฮโดรมิเตอร์ชิ้นนี้ลง
ไปแทนที่อยู่ในระดับต่ำสุดนั่นเอง
What is the proper way to store hydrometers ?
วิธีการเก็บรักษาไฮโดรมิเตอร์ที่ถูกต้อง
Hydrometers should be stored in clean, dry, safe places.
They also should not be subjected to extreme temperatures.
ที่ถูกต้องแล้วไฮโดรมิเตอร์นั้นควรอย่างยิ่งที่จะเก็บรักษา
ในบริเวณที่แห้ง สะอาดและปลอดภัย
และไม่ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะเก็บไว้ในอุณหภูมิที่สุดขั้ว(Extreme)
คือร้อนจัด หรือเย็นจัด
ข้อความด้านบนนี้ก็มีอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจมากเช่นกันครับ
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนใช้มักจะมองข้ามไป
ก็คือฝรั่งท่านว่าที่ถูกต้องแล้วไฮโดรมิเตอร์นั้นควรจะถูกทำความสะอาดด้วยน้ำ
กลั่นหรือน้ำ DI ทุกครั้งหลังการใช้งาน
เพื่อให้เกิดความสะอาดและไม่มีสิ่งสารตกค้างใด ๆ หลงเหลือบนไฮโดรมิเตอร์นี้
ซึ่งอาจจะมีผลต่อการวัดในครั้งต่อไปได้
หรือหากนำไปใช้วัดกับสารอื่นในครั้งต่อไปก็จะทำให้ค่าที่วัดได้
คลาดเคลื่อนไปได้ อันนี้จะรวมไปถึง Cylinder หรือกระบอกตวงที่ใช้ด้วยครับ
อีกประการหนึ่งแล้ว หลังจากที่ท่านได้ชำระล้างไฮโดรมิเตอร์แล้ว
หากจะจับอีกครั้ง ท่านควรจะจับที่ด้านบนและตัวกระเปาะ
โดยจับทั้งสองมือเพื่อกันตก
และสำคัญยิ่งที่จะต้องหลีกเลี่ยงการจับบริเวณสเกลที่อ่านค่า
ก็คือว่าบริเวณสเกลตัวเลขที่อ่านค่านั้นจำเป็นยิ่งที่จะต้องใสสะอาดเสมอ
เพื่อให้การมองหรืออ่านค่าที่ได้ถูกต้องและชัดเจนที่สุด
B° ความละเอียด 1.0