Pycnometer, ขวดพิโคโนมิเตอร์, ขวดพิโคโนมิเตอร์แบบยังไม่ได้ปรับแต่งปริมาตรที่แน่นอน, non adjusted pycnometer
ท่านครับสำหรับวิธีการตรวจหาความหนาแน่น(Density)
ของสารละลายแล้ว
มีอีกวิธีหนึ่งที่ง่าย ๆ เลยก็ว่าได้ที่จะใช้หาความหนาแน่น
นั่นคือใช้อุปกรณ์เครื่องแก้ว หรือขวดที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า
Pycnometer(พิโคโนมิเตอร์ หรือฝรั่งออกเสียงว่า พิคอนอมิเตอร์)
หรือถ้าจะเรียกชื่อเต็ม ๆ ต้องเรียกว่า เกย์รุสแซค
พิโคโนมิเตอร์(GAY LUSSAC Pycnometer)
ส่วนวิธีการใช้งานก็ง่่ายดาย
ดูคลิปจากอาจารย์ยูแล้วท่านก็เข้าใจได้เลยครับ ชมครับ
แล้วผมจะอธิบายตาม
หน้าตาของพิโคโนมิเตอร์เป็นเช่นนี้ครับ คือเป็นขวดแก้วเปล่า ๆ
พร้อมที่เสียบซึ่งก็เป็นแก้วเช่นเดียวกันโดยที่เสียบนี้สามารถดึงออก
มาได้
วิธีการใช้งานแรกเริ่มคือให้ชั่งน้ำหนักขวดพิโคโนมิเตอร์ก่อน
ทั้งนี้ขวดต้องอยู่ในสภาพที่แห้งสนิททุกจุดด้วยนะครับในที่นี้ชั่งได้
เท่ากับ 18.0 กรัม จดน้ำหนักตรงนี้ไว้
ขวดพิโคมิเตอร์ใบนี้เขาใช้ขวดที่มีปริมาตร 25 ml. ครับ
ดึงที่เสียบแท่งแก้วออก
หลังจากนั้นเิติมสารที่ต้องการวัดลงไปให้เต็มขวดพิโคโนมิเตอร์
ในที่นี้เขาใช้น้ำอัดลมยี่ห้อโคคาโคลามาวัดครับ
หลังจากนั้นเสียบแท่งแก้วลงไป
ซึ่งก็แน่นอนว่าน้ำคงจะต้องล้นออกมาอยู่แล้ว
ให้เช็ดด้านนอกขวดที่น้ำล้นออกมาให้สะอาดและแห้งที่สุด
หลังจากนั้นก็นำไปชั่งและจดน้ำหนักไว้
ตรงนี้แล้ว น้ำหนักของเนื้อโคคาโคล่าอย่างเดียวจะเท่ากับ
น้ำหนักของขวดพิโคโนมิเตอร์ที่มีน้ำโคคาโคล่าเต็มขวด
ลบด้วยน้ำหนักของขวดพิโคโนมิเตอร์เปล่านั่นเอง
ซึ่งก็จะเท่ากับ 44.9 - 18 = 26.9 กรัม
แต่ว่าความหนาแน่นมีสูตรว่าคือ มวลของสารนั้น ๆ
หารด้วยปริมาตรที่สารนั้นบรรจุอยู่
(ในที่นี้ขวดพิโคโนมิเตอร์ที่นำมาใส่มีปริมาตร 25 ml.)
ซึ่งเมื่อแทนค่าสูตรออกมาืคือ 26.9/25 ซึ่งก็จะได้ค่าเท่ากับ 1.076
กรัมต่อลูกบาศก์เซ็นติเมตร
** หมายเหตุ : หน่วยที่ใช้ชั่งจะ้ต้องเป็นหน่วยกรัมเท่านั้นครับ
จะใช้หน่วยอื่นชั่งไม่ได้เด็ดขาดครับ
หากว่าท่านใช้ปริมาตรของขวดพิโคโนมิเตอร์เป็น ml.
ตรงนี้ผู้ใช้ต้องควรระวังเช่นกันเพราะว่าเครื่องชั่งดิจิตอลนี้
สามารถเปลี่ยนหน่วยไ้ด้หลายหน่วย เช่น ชั่งเป็น กิโลกรัม, ออนซ์,
มิลลิกรัม, กะรัต ฯลฯ หากไม่ระวังเรื่องการอ่านค่าแล้ว
จะทำให้ค่าความหนาแน่นของของเหลวที่วัดได้ ผิดไปครับ(ค่าอื่น ๆ
ใช้ไม่ได้เลย)
ประโยชน์ของพิโคโนมิเตอร์คือ
ท่านใช้ว้ัดสารละลายที่ท่านไม่เคยทราบความหนาแน่นของสารละ
ลายนั้นมาก่อนได้เลยทันที ซึ่งถ้าหากท่านไปเลือกใช้ Hydrometer
แล้ว ท่านต้องสุ่มเลือก(เดา)
เอาว่าค่าของสารละลายของท่านตอนนี้ควรจะอยู่ในช่วงใด
แต่ถ้าหากท่านใช้ขวดพิโคโนมิเตอร์มาวัดแล้ว
ท่านก็จะวัดความหนาแน่นของสารละลายของท่านได้
โดยที่ท่านไม่ต้องไปคาดเดาเอาว่าจำเป็นจะต้องเลือกใช้
Hydrometer ในช่วงใด
ขวดพิโคโนมิเตอร์ที่ผมมีจำหน่ายคือมีขนาดปริมาตรให้ท่านเลือก
ได้ 3 ขนาดครับ คือ
10 ml.
25 ml.
50 ml.
ในส่วนของขวดพิโคโนมิเตอร์แบบที่คาลิเบรตมาให้เรียบร้อยแล้ว
หรือเรียกว่า Adjust Pycnometer นั้น
ก็มีให้เลือกด้วยกันสี่ขนาดเช่นกันครับ คือขนาด
10 ml.
25 ml.
50 ml.
100 ml.
Adjust Pycnometer คืออะไร มีความสำคัญมาก ๆ นะครับ ศึกษาได้ตรงนี้ครับ
ข้อควรระวังในการใช้ขวดพิโคโนมิเตอร์
ขวดพิโคโนมิเตอร์และฝาจุกของขวดจะถูกสับกับขวดอื่นไม่ได้เด็ด
ขาด โดยเฉพาะถ้าเป็นขวดต่างขนาดปริมาตรบรรจุ
หรือแม้แต่จะเป็นขวดปริมาตรเดียวกันก็ยังไม่ควรสับ
เพราะว่าขวดและฝาจุกแต่ละชุดถูกคาลิเบรตกันมาแล้ว
ยกตัวอย่่างตามรูปที่เห็นด้านบน
ถ้าเป็นขวดพิโคโนมิเตอร์ที่ค่อนข้างมียี่ห้อมีราคาสักหน่อย
เช่นขวดที่มาจากบริษัทผู้ผลิตแถบยุโรปแล้ว
ขวดกับฝาจุกปิดขวดจะมีตัวเลขกำกับมาเลย เช่นขวดหมายเลข 56
ฝาจุกก็ต้องเป็นหมายเลข 56 ไปด้วย
เขียนติดไว้ชัดเจนเพื่อป้องกันการสับสน
ตรงนี้ถ้าหากส่วนฝาหรือส่วนขวดส่วนใดส่วนหนึ่งแตก
ต้องซื้อชุดใหม่ใช้เลยครับ ไม่มีอะไหล่ให้
(เพราะคาลิเบรตกันมาเป็นชุดแล้ว)
หรือมิเช่นนั้นหากต้องการนำขวดพิโคโนมิเตอร์ขวดเดิม
มาใช้กับฝาจุกอันใหม่
ท่านก็ต้องนำขวดพิโคโนมิเตอร์ขวดเิดิมกับฝาจุกอันใหม่
มาทำการคาลิเบรตหาค่าปริมาตรขวดที่แน่นอนอีกครั้ง
(ก็คือทำตามวิธีข้างต้นที่ผมได้อธิบายไปแล้วครับ)
** วิธีทำให้ภายในของขวดพิโคโนมิเตอร์แห้งสนิทแล้ว
แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ผ้าพันลงไปเช็ด
ซึ่งถ้าหากท่านดูลักษณะของขวดแล้วจะพบว่าปากขวดแคบมาก
แต่ก้นขวดกลับเป็นรูปทรงกลม(เรียกว่าเป็น pear - shaped
หรือขวดทรงลูกแพร์)
ซึ่งคงจะยากมากในการเช็ดให้ภายในขวดแห้งสนิท
วิธีการที่ดีที่สุดในการทำให้แห้งคือใช้สารละลาย อะซิโตน แกว่ง
สนใจผลิตภัณฑ์ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
ท่านครับ เพื่อป้องกันการสับสนของการใช้หรือระบุหน่วยแล้ว
กระผมอธิบายก่อนดังนี้ครับ
ถ้าเป็นของแข็งแล้วหน่วยน้ำหนักที่วัดส่วนใหญ่วัดกันเป็นกรัมครับ
แต่ถ้าหากเป็นของเหลวแล้วจะวัดเป็นปริมาตรจะนำของเหลวมาชั่ง
ตรง ๆ บนตาชั่งไม่ได้
คือท่านต้องตวงใส่ภาชนะก่อนแล้วอ่านขีดว่าถึงระดับใด
หน่วยของของเหลวที่ใช้วัดกันหลัก ๆ มีด้วยกันสองหน่วยครับ
คือหน่วย ml.(มิลลิลิตร) และหน่วยเป็น cc.(ลูกบาศก์เซ็นติเมตร)
แต่ถึงที่สุดแล้วทั้งสามหน่วยนี้เท่ากันหมดนะครับ หรือ 1
กรัมจะเท่ากับ 1 ml. และเท่ากับ 1 cc ด้วย
หน่วย ml. (มิลลิลิตร)
ม้กเรียกหรือใช้กันในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือพูดง่าย ๆ
ก็ืคือนักวิทยาศาสตร์จะใช้เรียกเป็นส่วนใหญ่ เช่น
ให้ท่านตวงสารมาเท่านั้นเท่านี้ ml.
มักจะไม่นิยมบอกกันว่าให้ตวงมากี่กรัมหรือกี่ซีซี
หน่วย cc.(ลูกบาศ์กเซ็นติเมตร)
มักนิยมเรียกหรือใช้กันในหมู่แพทย์หรือไปทางด้านงานทางแพทย์
การให้ยากิน ยาฉีด ให้วัคซีน ช้อนชา ช้อนโต๊ะ อาหารเหลว
เรียกหรือระบุเป็น cc. หมดเป็นส่วนใหญ่
เพราะฉะนั้นแล้วถ้าหากท่านระบุเป็น ml.
แล้วก็ให้เข้าใจได้เลยว่านั่นก็จะเป็นหน่วย cc. ไปด้วยครับ
สำหรับเครื่องชั่งดิจิตอล ซึ่งมีความละเอียดหลังจุดทศนิยม
3 ตำแหน่งจำเป็น
อย่างยิ่งสำหรับการใช้งานควบคู่กับขวดพิโคโนมิเตอร์ คลิกที่ภาพ
เพื่อตรวจสอบรายละเอียดได้ครับ