มิเตอร์ปากกาวัดค่าความเค็มแบบดิจิตอลช่วงของ
การวัด 0-80 ppt, Digital Salinity Meter tester
เป็นมิเตอร์แบบปากกาที่วัดได้ทั้งค่าความเค็มและอุณหภูมิ
วัดความเค็มได้ในหน่วยของ ppt(Part Per Thousand)
ช่วงของความเค็มที่สามารถวัดได้ อยู่ระหว่าง 0 - 80 ppt
SPECIFICATION คุณสมบัติของมิเตอร์รุ่นนี้
1. Measuring Range: 0.0 ~ 80.0ppt
(Suggest Range: 0.0 ~ 50.0PPT)
2. Temperature Measuring Range สามารถวัดอุณหภูมิได้ในช่วง :
0 ~ 50
3. Salinity Resolution ความละเอียดของช่วงความเค็มที่วัดได้ :
0.1 ppt
4. Temperature Resolution ความละเอียดของอุณหภูิมิที่วัดได้ : 0.1
5. Ambient Temperature ช่วงอุณหภมิการใช้งานมิเตอร์: 5 ~ 35
6. Battery แบตเตอรี่ใช้ถ่านกระดุม : 4 x 1.5V batteries
7. Weight น้ำหนักของมิเตอร์: 90 กรัม
8. Dimension ขนาดของมิเตอร์: 170 x 37 x 37 มิลลิเมตร
9. Waterproof Class: IP67
สนใจผลิตภัณฑ์ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
ท่านครับ มีคลิปอยู่คลิปหนึ่งที่มีความน่าสนใจมาก ๆ ครับ
เป็นคลิปที่เกี่ยวกับอุณหภูิมิของสารละลายความเค็มที่ไม่เท่ากัน
โดยที่เป็นสารละลายความเค็มเดีียวกันหากมีอุณหภูมิที่ไม่เท่ากันเมื่อนำ
มาผสมเข้าด้วยกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
้
และผลของความเข้มข้นของสารละลายความเค็มที่ไม่
เท่ากันแต่ว่ามีอุณหภูมิเดียวกันหากนำมาผสมกันอะไรจะเกิดขึ้น
ตรงนี้น่าสนใจมาก ๆ ครับ ว่าทุกครั้งที่มีการตรวจวัดระดับความเค็มแล้ว
ที่ถูกต้องแล้วท่านควรจะต้องบันทึกอุณหภูมิของสารละลายขณะที่ท่าน
ตรวจวัดด้วย ลองชมคลิปดูครับ แล้วผมจะขยาย
การทดลองที่หนึ่ง
การทดลองชุดแรกเขาสมมติให้น้ำในตู้ปลาเสมือนหนึ่งเป็นมหาสมุทรแห่ง
หนึ่งตรงนี้เขาเตรียมน้ำในตู้ปลาให้เท่ากับระดับความเค็มของน้ำทะเล
ปกติคือมีระดับความเค็มโดยประมาณ 35 กรัมต่อลิตร
หรือก็ืคือ 35 ppt ทั้งนี้แล้ว
เขาก็ลองสมมติโดยเตรียมสารละลายน้ำเค็มขึ้นมาอีก 2 ชุด ชุดละเท่า ๆ
กันคือชุดแรกเตรียมสารละลายความเค็มที่มีความเค็มต่ำกว่าสารละลาย
ความเค็มในตู้ปลา คือให้มีความเค็มอยู่ที่ 9 กรัมต่อลิตร หรือก็คือ 9 ppt
ผสมสีแดงเอาไว้
ในส่วนชุดที่สองเขาเตรียมสารละลายความเค็มที่เค็มกว่าสารละลาย
ความเค็มในตู้ปลาคือให้มีความเค็มอยู่ที่ 140 กรัมต่อลิตร
หรือก็คือ 140 ppt แล้วผสมสีเขียวเอาไว้
ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิในสามสารละลายเพื่อให้แน่ใจว่าสารละลาย
ความเค็มทั้งหมดนี้มีอุณหภูมิเดียวกันซึ่งในที่นี้วัดอุณหภูมิสารละลายทั้ง
หมดได้เท่ากับ 24.3 องศาเซลเซียส
เทสารละลายทั้งสีแดง(ความเข้มข้นความเค็มต่ำ)
และเทสารละลายสีเขียว(ความเข้มข้นความเค็มสูง) อย่างช้า ๆ
ลงไปในตู้ปลา ซึ่งสมมติว่าเป็นน้ำในมหาสมุทร แล้วดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ น้ำเค็มจะไม่รวมกันเป็นเนื้อเดียวกันในทันทีครับ
คือสารละลายที่มีความเข้มข้นความเค็มน้อยกว่าจะลอยอยู่ด้านบน
และไปกดสารละลายความเค็มที่มีความเข้มข้นสูงกว่าไปอยู่ที่ด้านล่าง
แทนตรงนี้หากเราไม่มีการผสมสีลงไปในสารละลายความเค็มทั้งสองแล้ว
ไม่มีทางจะดูออกอย่างแน่นอนครับ เพราะเราจะเห็นเป็นน้ำเปล่า ๆ
ธรรมดา ๆ ที่อยู่ในตู้เลี้ยงปลา
หากจะให้น้ำทั้งหมดรวมเป็นเนื้อเดียวกันอาจจะต้องทิ้งเวลาให้นานกว่านี้
เพื่อให้สารละลายทั้งหมดแลกเปลี่ยนระดับความเค็มกัน
การทดลองที่สอง
ในคลิปเขาต้องการจะพิสูจน์ว่า สำหรับน้ำที่มีความเค็มเท่ากันแล้ว
หากทำให้มีอุณหภูมิที่ไม่เท่าักันแล้วนำมาผสมเข้าด้วยกัน จะเกิดอะไรขึ้น
ตรงนี้เขาลองเตรียมน้ำในตู้ปลาขึ้นมา
(สมมติว่าน้ำในตู้ปลาคือมหาสมุทรแห่งหนึ่ง)
โดยให้น้ำในตู้ปลามีระดับความเค็มอยู่ที่ 35 กรัมต่อลิตร หรือ 35 ppt
หลังจากนั้นก็แบ่งสารละลายที่อยู่ในตู้ปลามา 2 บีกเกอร์
บีกเกอร์ละเท่า ๆ กัน
โดยบีกเกอร์แรกเทสีแดงลงไปสมมติว่าเป็นสารละลายที่อุ่นกว่าสาร
ละลายในตู้ปลา นำไปเข้าไมโครเวฟ วัดอุณหภูมิได้ประมาณ
45 องศาเซลเซียส
ส่วนบีกเกอร์ที่สองเทสีเขียวลงไปสมมติว่าเป็นสารละลายที่เย็นกว่า
สารละลายในตู้ปลา บีกเกอร์ที่สองนี้นำไปแช่เย็นในตู้เย็นสัก 1 ชั่วโมง
วัดอุณหภูมิได้ประมาณ 5 องศาเซลเซียส
ส่วนอุณหภูมิของสารละลายในตู้ปลาอยู่ที่ 24 องศาเซลเซียส
คราวนี้ก็ลองเทสารละลายทั้งสามเข้าด้วยกันอย่างช้า ๆ
แล้วดูผลที่เกิดขึ้น
สรุปก็คือ หากไม่มีการผสมสีลงไปก็จะดูไม่ออกเช่นกันครับ
เพราะว่าถึงแม้จะเป็นสารละลายความเค็มที่มีความเข้มข้นเท่ากัน
แต่หากว่ามีอุณหภูมิไม่เท่ากัน มันก็ยังไม่ผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน
อยู่ดี โดยที่สารละลายความเค็มที่อุ่นกว่าจะอยู่ที่้ด้านบน
และไปกดให้สารละลายความเค็มที่เย็นกว่าไปกระจายตัวอยู่ที่ด้านล่าง
แต่ให้ท่านสังเกตุว่าสีจะจางลง โดยสีแดงจะจางลงเป็นสีส้ม
และสีเขียวก็จะจางลงเช่นกัน
ตรงนี้อธิบายว่ามันผสมกันไม่ได้โดยทันทีแต่อย่างไรก็ตามก็ยังผสมกันได
้บ้าง เพราะว่าความเข้มข้นของมันเท่า ๆ กัน
ตรงนี้หากปล่อยไปตามปกติให้นานกว่านี้แล้ว
อุณหภูมิในตู้ปลาจะเท่ากันหมดครับ
เพราะเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนกัน สารทั้งหมดจะผสมกันได้เอง
ซึ่งในจุดนี้ในคลิปเขาให้ใช้กรณีนี้เปรียบเทียบกับ
การที่แม่น้ำอเมซอนซึ่งมีอุณภูมิที่อุ่น และเป็นน้ำจืดสนิทเทน้ำ 300,000
คิวบิกเมตรต่อนาทีลงไปที่ปลายทางแม่น้ำคือมหาสมุทรแอตแลนติก
ซึ่งเย็นกว่าและเค็มกว่าด้วยแล้ว ท่านว่าอะไรจะเกิดขึ้น
คำตอบที่ดีที่สุด อาจจะเป็นว่า เหตุใดน้ำจืดถึงไล่น้ำเค็มได้
ในกรณีที่มีน้ำเค็มจำนวนมากรุกล้ำเข้าพื้นที่
หากยังมีน้ำจืดปริมาณที่มากเกินพอ
น้ำจืดจากผืนดินซึ่งอุ่นกว่าและมีความเข้มข้นของความเค็มน้อยกว่า
ก็สามารถจะจัดการกับน้ำเค็มที่รุกเข้าพื้นที่ได้ในช่วงฤดูแล้งได้