ชุดวัดค่า API และ
ความหนาแน่นของน้ำมันเบนซินและดีเซลแบบกระเป๋าหิ้ว
จะเป็นชุดภาคสนามของไฮโดรมิเตอร์และอุปกรณ์เสริม
ที่ใช้สำหรับการตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันเบนซินและดีเซล
อุปกรณ์ทุกชิ้น บรรจุอยู่ในกระเป๋าหิ้วอย่างดี
ในชุดจะประกอบไปด้วย
- เทอร์โมมิเตอร์ 0 - 180 องศาฟาเรนไฮน์ 1 อัน
*** ไฮโดรมิเตอร์วัดคุณภาพน้ำมัน อย่างละ 1 อัน
- API Hydrometer ช่วงของการวัด 29 - 41(สำหรับน้ำมันดีเซล)
- API Hydrometer ช่วงของการวัด 39 - 51(สำหรับน้ำมันดีเซล)
- API Hydrometer ช่วงของการวัด 49 - 61(สำหรับน้ำมันเบนซิน)
- API Hydrometer ช่วงของการวัด 59 - 71(สำหรับน้ำมันเบนซิน)
- กระบอกตวงแก้วขนาด 500 ซีซี จำนวน 1 อัน
- กระเป๋าหนังใส่ 1 ใบ
- ตารางคู่มือ เทียบค่า
อธิบายครับ ในกระเป๋าใส่ จะเป็นกระเป๋าหนังใบใหญ่ลักษณะ
นี้(กระเป๋านักบิน) ซึ่งภายในกระเป๋าจะบรรจุด้วยถาดโฟมที่เจาะไว้
เป็นช่องสำหรับใส่ไฮโดรมิเตอร์ 4 อัน, ใส่กระบอกตวงแก้วขนาด
500 ซีซี 1 อัน และช่องสำหรับใส่เทอร์โมมิเตอร์ ASTM 1 ช่อง
ถ้าจะถามว่าแล้วถาดโฟมนี้สำคัญอย่างไร คำตอบคือมันปลอดภัย
กว่าที่จะใส่ไฮโดรมิเตอร์ กระบอกตวง หรือเทอร์โมมิเตอร์ลงไปใน
ถาดโฟมนี้ เพราะว่าถาดโฟมนี้ถูกเจาะและออกแบบมาเฉพาะสำหรับ
ใส่อุปกรณ์เหล่านี้แล้ว ขนาดช่องที่ใส่จะพอดีไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป
ซึ่งไม่เพียงเท่านั้นเวลาที่นำอุปกรณ์เหล่านี้ออกมาจากถาดโฟมก็
สามารถทำได้อย่างง่าย ๆ อีกด้วย
ตรงนี้เป็นกระเป๋าหนังเปล่า ๆ ที่ยังไม่ได้ใส่ถาดโฟมลงไป
อันนี้เป็นถาดโฟมเปล่า ๆ ที่ยังไม่ได้ใส่อุปกรณ์ใด ๆ ลงไป
ตรงนี้เป็นวิธีการแพ็คกิ้งสินค้า คือแพ็คสินค้าทั้งกระเป๋าที่ข้างใน
กระเป๋ามีอุปกรณ์ครบทุกชิ้นเพื่อส่งทางขนส่งไปยังปลายทาง ก็จะมี
วิธีการแพ็คกิ้งที่เป็นแบบฉบับ ถูกต้องและปลอดภัยครับ
ช่องแต่ละช่องที่เจาะขึ้นมา จะจำเพาะกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจ
วัดชุดนี้อยู่แล้ว ซึ่งก็จะมีทั้งหมด 6 ช่องด้วยกัน
ตรงนี้เป็นช่องสำหรับใส่เทอร์โมมิเตอร์
จะสังเหตุเห็นว่า ที่ถาดโฟมมีการเจาะที่ว่างข้าง ๆ เผื่อไว้เพื่อ
สำหรับการสอดนิ้วเข้าไปหยิบหรือดึงไฮโดรมิเตอร์ออกมาได้
ซึ่งหลังจากที่ท่านใส่อุปกรณ์ทั้งหมดลงไปแล้ว ก็ให้นำถาดโฟมที่มี
อุปกรณ์พร้อมใส่ลงไปในกระเป๋าหนัง จากนั้นทำการปิดด้วยฝาใน
ของกระเป๋า(จะมีให้ 1 แผ่น) แล้วล็อกด้วยสายรัดให้เรียบร้อย
ตัวอย่างภาพไฮโดรมิเตอร์ในชุด ช่วงการวัด 29 - 41 API
(ยี่ห้อ Kessler)
วัดขนาดให้ดูครับ
ตัวอย่างภาพไฮโดรมิเตอร์ในชุด ช่วงการวัด 39 - 51 API
(ยี่ห้อ Kessler)
ตัวอย่างภาพไฮโดรมิเตอร์ในชุด ช่วงการวัด 49 - 61 API
(ยี่ห้อ Kessler)
ตัวอย่างภาพไฮโดรมิเตอร์ในชุด ช่วงการวัด 59 - 71 API
(ยี่ห้อ Kessler)
ชุดวัดชุดนี้จะเป็นผลิตภัณฑ์ของเยอรมันนี ไฮโดรมิเตอร์ทั้งสี่ช่วง
และเทอร์โมมิเตอร์องศาฟาเรนไฮน์จะเป็นเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอท
ไม่ใช่เทอร์โมมิเตอร์แอลกอฮอล์ กระผมพยายามจัดชุดให้ได้มาก
ที่สุดครับ
ภาพกระบอกตวงในชุด จะเป็นกระบอกตวงเปล่าไม่มีสเกล
ขนาด 500 ml.
ซึ่งกระบอกตวงขนาดนี้จะมีขนาดความยาวของหลอดเหมาะสำหรับ
ใช้กับไฮโดรมิเตอร์ชุดนี้นั่นเอง
ตัวอย่างคู่มือการใช้งานและตารางเทียบ(จำเป็นมากครับ ควรจะต้อง
มีติดสถานีบริการเสมอ) ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างบางส่วน ส่วนราย
ละเอียดทั้งหมดจะอยู่ในเล่ม
ยกตัวอย่างการใช้คู่มือเพื่อปรับเทียบค่า API เพื่อให้ได้ค่า API ที่
ถูกต้องที่สุด
สาเหตุหลักที่จำเป็นต้องมีคู่มือเพื่อปรับเทียบค่า API เพื่อให้ได้ค่า
API ที่ถูกต้องที่สุดก็เพราะว่าไฮโดรมิเตอร์วัดค่า API ที่ทำการปรับ
เทียบค่าที่ถูกต้องตอนออกมาจากโรงงานได้ปรับค่า API ที่อุณหภูมิ
60 องศาฟาเรนไฮน์(ตามภาพ)
ค่า API ของน้ำมันจะขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของน้ำมันนั้น ๆ ว่ามาจาก
แหล่งใด มีผสมมากน้อยเพียงใด มาจากบริษัทหรือปั๊มน้ำมันใด
กระผมจึงขอยกตัวอย่างสักสองตัวอย่าง ซึ่งเป็นการวัดค่า API ของ
น้ำมันดีเซลที่มาจากคนละแหล่งกันคนละบริษัทกัน
เริ่มแรกให้ทำการตวงน้ำมันดีเซลที่ต้องการวัดลงไปในกระบอก
ตวงให้เกือบ ๆ เต็ม(ตามภาพ) จากนั้นทำการหย่อนไฮโดรมิเตอร์ลง
ไปอย่างช้า ๆ และเบา ๆ ซึ่งหากว่าไฮโดรมิเตอร์นี้อยู่ในช่วงที่
สามารถวัดค่า API ของน้ำมันดีเซลนี้ได้ ไฮโดรมิเตอร์นี้ก็จะลอยขึ้น
และอยู่ในช่วงตัวเลขที่ก้าน(ตามภาพ)
ตัวอย่างแรกเป็นการวัดค่า API ของน้ำมันดีเซลบริษัทแรก ซึ่ง
กระผมได้วัดอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮน์ไว้ด้วย ซึ่งก็จะได้ค่า
ตามนี้
API ของน้ำมันวัดได้เท่ากับ 40.5 ในขณะที่วัดอุณหภูมิของน้ำมัน
ขณะนั้นได้เท่ากับ 90 องศาฟาเรนไฮน์(ตามภาพด้านล่าง)
หากว่านำค่าทั้งสองมาเทียบค่าจากตารางในคู่มือ ก็จะได้ค่า API ที่
ปรับแล้วได้เท่ากับ 38.1 วิธีการอ่านค่าในตารางก็คือดูที่ตัวเลขแถว
บนสุดที่เลข 40.0 และเลื่อนมาทางขวามือที่เลข 0.5 จากนั้นลาก
เส้นตรงลงไปที่ช่องซ้ายมือสุดก็คือค่าอุณหภูมิ 90 องศาฟาเรนไฮน์
ตัวอย่างที่สองเป็นการวัดค่า API ของน้ำมันดีเซลบริษัทอีกบริษัท
หนึ่ง ซึ่งกระผมได้วัดอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮน์ไว้ด้วย ซึ่งก็
จะได้ค่าตามนี้API ของน้ำมันวัดได้เท่ากับ 39.0 ในขณะที่วัด
อุณหภูมิของน้ำมันขณะนั้นได้เท่ากับ 85 องศาฟาเรนไฮน์(ตามภาพ
ด้านล่าง)
หากว่านำค่าทั้งสองมาเทียบค่าจากตารางในคู่มือ ก็จะได้ค่า API ที่
ปรับแล้วได้เท่ากับ 37.0 วิธีการอ่านค่าในตารางก็คือดูที่ตัวเลขแถว
บนสุดที่เลข 39.0 จากนั้นลากเส้นตรงลงไปที่ช่องซ้ายมือสุดก็คือ
ค่าอุณหภูมิ 85 องศาฟาเรนไฮน์
ทดสอบวัดน้ำมันเบนซิน 91 โดยนักศึกษาวิทยาลัยทางภาคใต้แห่ง
หนึ่ง อาจารย์ท่านกรุณาให้ภาพการทดลองมาเพื่อเป็นวิทยาทาน ที่
อุณหภูมิ 80 องศาฟาเรนไฮน์ อ่านค่า API ได้ 60.6
(ตามภาพด้านล่าง)
เทอร์โมมิเตอร์ชนิดมาตรฐาน ASTM ที่วัดอุณหภูมิได้ในหน่วยองศา
ฟาเรนไฮน์ ช่วงของการวัด 0 - 180 องศาฟาเรนไฮน์
ความละเอียด 1 องศาฟาเรนไฮน์ ที่มีอยู่ในชุดจะเป็นดังนี้
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับคุณภาพของน้ำมันที่เติมเข้าไปในรถยนต์ ผลที่เกิดขึ้นจากการปลอมปนน้ำมันเบนซินรถยนต์
1. เกิดอาการเคาะ(Knock) ของเครื่องยนต์ เนื่องจากน้ำมันมีค่าออกเทนต่ำ
2. ก้านวาล์วกด เนื่องจากเครื่องยนต์เดินไม่เรียบ
3. หัวเทียนบอด เนื่องจากมีน้ำมันหนักเจือปนทำให้การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์
4. เขม่าจะจับที่ฝาสูบ, หัวลูกสูบและเครื่องยนต์สกปรก เนื่องจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์
5. ดับเครื่องยนต์แล้วเครื่องไม่ดับทันที เนื่องจากเขม่าไปจับที่ห้องเผาไหม้เสมือนหนึ่งเป็นหัวเทียน
6. บ่าวาล์วจะสึกหรอ เนื่องจากเขม่าที่ไปจับ
7. แหวนลูกสูบจะติดตาย เนื่องจากเขม่าที่ไปจับ
8. น้ำมันเครื่องเสื่อม(Crankcase Dilusion) เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ไหม้เผาไหม้จะไหลซึมผ่านแหวนลูกสูบเข้าไปในอ่างน้ำมันเครื่อง
9. ผนังลูกสูบสึกหรอ เนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นเสื่อมและเขม่าที่ไปจับผนังลูกสูบ
10. แบริ่งสึกหรอ เนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นเสื่อมและการกระแทก(Shock Load) ของเครื่องยนต์
ค่าความถ่วง เอ พี ไอ(API Gravity) ของน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นของผสม จึงมีคุณสมบัติอันหนึ่งที่แตกต่างกันไปก็คือความหนัก - เบา ของน้ำมันสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไฮโดรมิเตอร์(Hydrometer) ซึ่งจะวัดออกมาในรูปของค่าส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ
1. ความหนาแน่น(Density) เป็นค่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมวลของสารต่อ 1 หน่วยปริมาตรมีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อลิตร
2. ความถ่วงจำเพาะ(Specific Gravity) เป็นค่าที่แสดงอัตราส่วนของความหนาแน่นของสารนั้นกับความหนาแน่นของน้ำ ค่าที่ได้เป็นความหนาแน่นสัมพัทธ์
3. ความถ่วง เอ พี ไอ(API Gravity) เป็นค่าที่แปลงมาจากค่าความถ่วงจำเพาะโดยมีความสัมพันธ์กันดังนี้
ความถ่วง เอ พี ไอ = (141.5/ความถ่วงจำเพาะ) - 131.5
เนื่องจากปริมาตรของของเหลว จะเปลี่ยนไปเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ค่าความหนาแน่นหรือค่าความถ่วงจำเพาะ หรือค่าความถ่วง เอ พี ไอ ของของเหลวใด ๆ จะมีค่าแตกต่างกัน เมื่อวัดที่อุณหภูมิที่แตกต่างกันด้วย ในการรายงานค่าเหล่านี้จึงจำเป็นต้องระบุอุณหภูมิที่วัดได้ด้วย ซึ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแล้วค่าความหนาแน่นจะรายงานค่าที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ค่าความถ่วงจำเพาะที่อุณหภูมิ 15.6/15.6 องศาเซลเซียส และค่าความถ่วง เอ พี ไอ ที่อุณหภูมิ 15.6 องศาเซลเซียส หรือ 60 องศาฟาเรนไฮน์ เป็นอุณหภูมิมาตรฐาน สำหรับใช้ในการเปรียบเทียบ
ไฮโดรมิเตอร์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือวัดความหนาแน่น หรือความถ่วงจำเพาะ หรือค่าความถ่วง เอ พี ไอ ของน้ำมันโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. ไฮโดรมิเตอร์ชนิดมีเทอร์โมมิเตอร์อยู่ในตัว(API Hydro with Thermometer) เมื่อใช้วัดจะอ่านค่าได้ทั้งค่าความหนาแน่นหรือ ค่าความถ่วงจำเพาะ หรือค่าความถ่วง เอ พี ไอ อย่างเดียว และอุณหภูมิของน้ำมันในขณะที่วัด เช่น ตามภาพด้านล่าง(ผมมีจำหน่ายทุกช่วงเช่นกัน)
2. ไฮโดรมิเตอร์ชนิดที่ไม่มีเทอร์โมมิเตอร์(API Hydro without Thermometer) จะอ่านค่าได้เฉพาะค่าความหนาแน่น หรือค่าความถ่วงจำเพาะ หรือค่าความถ่วง เอ พี ไอ อย่างเดียวแต่สำหรับอุณหภูมิของน้ำมันในขณะที่วัด ต้องใช้เทอร์โมมิเตอร์อีกอันเป็นตัววัด ซึ่งนั่นก็คือชุดวัดค่า API ชุดที่ผมได้นำเสนอนี้นั่นเอง ตามภาพ
สำหรับในการวัดค่าความถ่วง เอ พี ไอ ของน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ นั้น โดยทั่วไปใช้ไฮโดรมิเตอร์ที่มีช่วงวัดต่าง ๆ ดังนี้คือ
** น้ำมันเบนซินธรรมดา ใช้ไฮโดรมิเตอร์ API ช่วงการวัด 59 - 71 หรือ 69 - 81
** น้ำมันเบนซินชนิดพิเศษ ใช้ไฮโดรมิเตอร์ API ช่วงการวัด 39 - 51 หรือ 49 - 61 หรือ 59 - 71
** น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ใช้ไฮโดรมิเตอร์ API ช่วงการวัด 29 - 41
อ่านรายละเอียดอื่น ๆ และตารางเทียบค่าได้ในหนังสือคู่มือการใช้งานฉบับเต็มนะครับ รายละเอียดและตารางเทียบค่ามีค่อนข้างมาก หากสนใจคู่มือการใช้งาน, การวัด, กระบวนการวัด, วิธีการวัดที่ถูกวิธี, การอ่านค่าตารางเทียบค่า ฯลฯ ติดต่อผมครับ Tel.0868910596
ไฮโดรมิเตอร์วัดความหนาแน่นของน้ำมันเบนซินและดีเซลในหน่วยความหนาแน่น(ไม่ใช่หน่วย API)
เป็นไฮโดรมิเตอร์แบบง่ายที่ออกแบบมาเพื่อวัดค่าความหนาแน่นของน้ำมัน
เบนซินและน้ำมันดีเซล โดยวัดค่าออกมาเป็นความหนาแน่น(Density) ไม่
ได้วัดค่าออกมาในหน่วย API ช่วงการวัดที่มีก็คือ
ช่วงการวัด 0.80 - 0.85(สำหรับน้ำมันดีเซล)
และช่วงการวัด 0.70 - 0.75(สำหรับน้ำมันเบนซิน)
สนใจผลิตภัณฑ์ชุดวัดค่า API
และความหนาแน่นของน้ำมันเบนซินและดีเซลแบบ
กระเป๋าหิ้ว ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596