ชุดน้ำยาทดสอบเปอร์อะซิติกแอซิด
Peracetic acid Test kit(PAA Test kit)
เปอร์อะซิติกแอซิด เป็นสารฆ่าเชื้อชนิดหนึ่ง เรียกง่าย ๆ ว่าเป็น
น้ำยาฆ่าเชื้อโรคมีฤทธิ์ทำลายจุลินทรีย์ สามารถใช้แทนคลอรีนฆ่า
เชื้อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้ในปริมาณที่น้อย แต่ได้ประสิทธิ์
ภาพในการฆ่าเชื้อโรคที่มากกว่า เป็นสารใช้ฆ่าเชื้อเช่นเดียวกันกับ
คลอรีน ปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ดีเท่าในระดับนาโน
ไมโคร
ชุดน้ำยาตรวจสอบเปอร์อะซิกติกแอซิดที่ใช้ตรวจสอบความ
เข้มข้นของกรดเปอร์อะซิกติก มักเจอในกลุ่มลูกค้าที่มีการใช้สารฆ่า
เชื้อ ในการฆ่าเชื้อต่าง ๆ เช่น การล้างพื้น การล้างภาชนะที่สัมผัส
กับอาหาร ใช้ในการกำจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ในคอกปศุสัตว์ ฯลฯ
ก็ยกตัวอย่างกิจการที่มักจะใช้หรือเกี่ยวข้องกับการใช้กรดเปอร์อะ
ซิกติก ดังนี้ครับ
- โรงนม
- โรงผลิตไวน์, ไร่องุ่น หรือโรงผลิตเบียร์
- โรงงานผลิตเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก หรือจำพวกอาหารทะเล
- กิจการการผลิตที่เกี่ยวข้องกับผลไม้และพืชผัก
- โรงงานทำเยื่อกระดาษ
- การรักษาและทำความสะอาดในระดับสูงในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มเพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในวัตถุดิบก่อนผลิต
- ใช้เพื่อล้างทำความสะอาดขวดบรรจุภัณฑ์
- ใช้เพื่อฆ่าเชื้อ กำจัดสาหร่ายในระบบ Cooling Tower
- ใช้เพื่อฆ่าเชื้อในระบบ Close Loop System
- ใช้เพื่อฆ่าเชื้อในระบบ Reverse Osmosis
ในชุดตรวจสอบจะประกอบไปด้วยสิ่งที่ให้มาดังนี้คือ
1. ถ้วยตวงขนาด 5 มล.(ตามภาพคือถ้วยใสที่อยู่ซ้ายมือสุด)
2. สาร PAA หมายเลข 1(10 มล. ตามภาพคือขวดที่สองจากขวามือ)
3. สาร PAA หมายเลข 2(10 มล. ตามภาพคือขวดที่สองจากซ้ายมือ)
4. สาร PAA หมายเลข 3(5 มล. ตามภาพคือขวดที่สามจากขวามือ)
5. สาร PAA หมายเลข 4(5 มล. ตามภาพคือขวดแรกสุดขวามือ)
6. ตารางแสดงผลการนับหยด
วิธีการใช้งานชุดน้ำยาทดสอบเปอร์อะซิติกแอซิด Peracetic acid Test kit(PAA Test kit)
1. ให้ผู้ใช้งานล้างกระบอกเก็บตัวอย่าง(กระบอกใส) ด้วยสาร
ตัวอย่างที่ต้องการนำมาตรวจสอบคือให้ล้างกระบอกเก็บตัวอย่างสัก
2 - 3 ครั้ง จากนั้นเทสารที่ต้องการตรวจสอบออกจากกระบอกเก็บ
ตัวอย่างจากนั้นจึงเติมสารตัวอย่างที่ต้องการตรวจสอบลงไปให้ถึง
ขีด 5 ml.
2. ให้เติมน้ำยา PAA หมายเลข 1(ขวดที่สองจากขวามือ) ลงไป
5 หยดในกระบอกเก็บตัวอย่างที่มีสารตัวอย่างอยู่ จากนั้นเขย่าให้
เข้ากัน
3. หลังจากจบขั้นตอนในข้อสองแล้ว ก็ให้เติมน้ำยา PAA
หมายเลข 2(ขวดที่สี่จากขวามือ) ลงไป 2 หยด จากนั้นให้เขย่าให้
เข้ากัน
4. จากนั้นให้ทการเติมน้ำยา PAA หมายเลข 3(ขวดที่สามจาก
ขวามือ) ลงไป 2 หยด ซึ่งในขั้นตอนนี้สีสารละลายในกระบอกเก็บ
ตัวอย่างจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำ ก็ให้เขย่าให้เข้ากัน
5. จากนั้นให้ทำการเติมน้ำยา PPA หมายเลข 4(ขวดแรกสุด
ขวามือ) ให้เติมทีละหยด ๆ ลงไป คือให้หยดลงไปหนึ่งหยดแล้ว
เขย่าให้เข้ากัน ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ และนับจำนวนหยดที่หยดลงไป
ตัวอย่างในกระบอกเก็บตัวอย่างที่เดิมเป็นสีน้ำเงินเข้มจะเปลี่ยนไป
เป็นไม่มีสีหากทำการหยดและเขย่าไปเรื่อย ๆ ก็ให้หยดไปจนกระทั่ง
สารในกระบอกเก็บตัวอย่างเปลี่ยนไปจนไม่มีสี ซึ่งถ้าภายใน 5
วินาทีสีไม่เปลี่ยนกลับไปเป็นสีน้ำเงินเข้มก็แสดงความสารใน
กระบอกเก็บตัวอย่างถึงจุดยุติแล้ว
6. ให้นำจำนวนหยดที่ได้จดบันทึกไว้ มาอ่านผลเทียบกันกับ
ตารางด้านล่าง แล้วท่านจะสามารถเทียบความเข้มข้นของสารใน
กระบอกเก็บตัวอย่างว่าในกระบอกเก็บตัวอย่างมีมิลลิกรัมต่อลิตร
ของ PAA ได้เท่าไร ซึ่งมิลลิกรัมต่อลิตรอีกนัยหนึ่งก็คือค่าส่วนใน
ล้านส่วนนั่นเอง(หน่วย ppm. part per million)
สนใจชุดน้ำยาทดสอบเปอร์อะซิติกแอซิด Peracetic acid
Test kit(PAA Test kit)
ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596