ORP Range: -999 to +1000 mV
Temperature Range: 0-80 °C; 32-176 °F
Resolution: 1 mV; Temperature resolution is 0.1 °C/F
Accuracy: 0.5% (+/- 2mV)
Calibration: Digital calibration by push button.
Electrode: Replaceable glass sensor and reference tube electrodes
Housing: IP-67 Waterproof (submersible; floats)
Power source: 3 x 1.5V button cell batteries (included)
Dimensions: 18.5 x 3.4 x 3.4 cm (7.3 x 1.3 x 1.3 inches)
Weight: 96.4 g (3.4 oz)
Applications:
- Cooling Tower Disinfection
- Fruit & Vegetable Washing
ORP นั้นเป็นค่าที่ละเอียดอ่อนมาก ๆ การเปลี่ยนแปลงเพียงแค่
อุณหภูมิหรือสภาพอากาศก็มีผลต่อค่า ORP แล้ว ถึงแม้จะวัดในสารละลายเดียวกันก็ตาม
แต่ ฉะนั้นORP meter ที่ดีต้องค่อนข้างได้มาตรฐาน หรือมียี่ห้อที่พอเพียงแ่ก่การเชื่อถือ
เนื่องจากศักย์ออกซิเดชั่นรีดักชั่นนั้น มีความเปลี่ยนแปลงมาจากอ็อกซิเจนที่เปลี่ยนไป
ด้วย(หรืออาจจะมาจากอุณหภูมิด้วย) กระผมลองวัดค่า ORP ของน้ำประปาที่เปิดจากน้ำ
ก๊อกในบ้านในเวลาเที่ยงคืนแล้วจดบันทึกค่าไว้ ผมเก็บน้ำประปาถ้วยนี้ไว้แล้วลองนำไปวัด
เวลาเที่ยงวัน พบว่าค่าเปลี่ยนไปเช่นกันครับ(มิเตอร์ใช้งานได้ปกติครับ)
ถ้าจะถามว่าอะไรทำให้ค่าเปลี่ยนไปทั้งที่วัดด้วยน้ำถ้วยเดียวกัน ผมเข้าใจว่ามาจาก
อุณหภูมิและสภาพอากาศครับ
ฉะนั้นการวัดค่า ORP ที่ถูกต้องต้องวัดในระบบปิด(คุณต้องควบคุมความดัน ความชื้น
อุณหภูมิ ความเร็วลมให้ดีครับ) หรือในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ
ความชื้น ความดัน ความเร็วลมที่เหมาะสม จึงจะได้ค่าที่ค่อนข้างแม่นยำครับ
มิเตอร์ของผมรุ่นนี้วัดอุณหภูมิของสารละลายได้ด้วย ซึ่งท่านควรมาก ๆ ที่จะจดไว้ด้วย
ครับ เพื่อเปรียบเทียบค่า ORP ที่เปลี่ยนไป
ค่า ORP ของสารละลายที่ต่ำติดลบมาก ๆ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะบริโภคครับ
ORP ที่ส่วนใหญ่จะพบเห็นในกิจกรรมชีวิตประจำวัน
ของมนุษย์ครับ ถ้าจะสังเกตุแล้วจะพบว่าเป็นค่าบวกทั้งสิ้น
ORP Level (mV)
|
Application
|
0-150
|
No practical use
|
150-250
|
Aquaculture
|
250-350
|
Cooling Towers
|
400-475
|
Swimming pools
|
450-600
|
Hot Tubs
|
600
|
Water Disinfection *
|
800
|
Water Sterilization **
|
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมขอเรียนว่าถ้าหากว่าท่านพอจะ afford ได้แล้วผมแนะนำ
ให้ซื้อน้ำยาคาลิเบรตค่า ORP สักชุดก็จะเป็นการดีเหมือนกันครับ เพราะอะไร
เพราะอย่างที่ได้เรียนแ้ล้วว่าค่า ORP ส่วนใหญ่จะแกว่งตัวค่อนข้างมาก ขนาดว่า
ยังไม่ได้วัดอะไร แต่เปิดเครื่องทิ้งไว้แล้วทิ้งไว้ในอากาศ ค่าที่อ่านได้จากมิเตอร์จะ
แกว่งเสียจนอ่านค่าไม่ได้ การได้คาลิเบรตมิเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วมิเตอร์ที่
ออกแบบมาเพื่อให้สามารถคาลิเบรตค่าได้จากสารละลายค่ามาตรฐานจะถือได้ว่า
เป็นผลดีอย่างยิ่งครับ
ยกตัวอย่างเช่นสารละลายที่ผมนำมาคาลิเบรตมิเตอร์ เป็นสารละลายสี
เหลืองมาตรฐานซึ่งมีค่าที่ควรจะอ่านได้เท่ากับ +240 mv ที่อุณหภูมิ 25 องศา
เซลเซียส(หรือใกล้เคียง) วิธีใช้คาลิเบรตคือให้ท่านเทสารละลายลงไปในบีกเกอร์
สักพอประมาณ(ตามรูป)
หลังจากนั้นให้นำมิเตอร์จุ่มลงไปในสารละลายนี้ ค่าที่อ่านได้ควรจะได้
ประมาณ 240 mv แต่ถ้าหากว่าไม่ได้เช่นเครื่องที่ผมนำมาแสดงอ่านค่าได้
เท่ากับ 222 mv ก็ให้ท่านคาลิเบรตตัวเครื่อง โดยทำการกดปุ่มกลางค้าง
ไว้(ปุ่ม Cal) ค่าตัวเลขหน้าจอจะกระพริบ ๆ หลังจากนั้นให้ท่านกดปุ่ม
เลื่อนลงหรือขึ้น สังเกตุที่ลูกศร ในกรณีนี้ผมต้องกดปุ่มขึ้นโดยจะกดขึ้นไป
เรื่อย ๆ ทีละ 1 จนได้ค่า 240 mv หลังจากนี้ให้กดปุ่ม On เป็นอันเสร็จ
เรียบร้อย เพียงเท่านี้มิเตอร์ของท่านก็จะมีความเที่ยงตรงแม่นยำมากขึ้น
สำหรับการตรวจวัดค่า ORP ครับ
ถ้าหากจะถามว่าหลังจากใช้แล้วสารละลายนี้ต้องนำไปทิ้งหรือนำ
มาใช้ต่อได้หรือไม่ คำตอบคือ ใช้ต่อได้ครับ โดยให้ท่านเทสารละลายดัง
กล่าวลงไปในภาชนะที่ล้างสะอาดมาก ๆ และเช็ดให้แห้งมาก ๆ เช่นกัน
แล้วปิดฝาให้สนิทครับ อย่าเทสารละลายที่ทำการคาลิเบรตเครื่องแล้วใส่
กลับลงไปในขวดเดิมที่ท่านเทออกมานะครับ เพราะจะได้เป็นการประหยัด
สารละลาย เพราะว่าสารละลายเมื่อใดก็ตามที่ำทำการตรวจวัดแล้วจะมี
มลทินลงไปโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว เช่น น้ำที่ค้างจากปลายมิเตอร์ ความ
สกปรกฝุ่นละอองของภาชนะที่ใส่สารละลาย ฯลฯ สารละลายที่ใช้นี้
สามารถนำมาใช้วัดได้อีกสัก7 - 10 ครั้งครับแล้วท่านค่อยทิ้งแล้ว เท
สารละลายจากขวดออกมาใช้และให้ทำตามขั้นตอนเดิมนี้ครับจะประหยัด
ได้มาก ๆ เลยครับ
สารละลายดังกล่าวเป็นสารละลายที่ได้มาตรฐานจริง ๆ ครับ ผม
จำหน่ายเป็นขวด ราคาอยู่ที่ขวดละ 800 บาท(สำหรับขนาด 250 ml) และ
250 บาท(สำหรับขนาด 50 ml)